พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสมบูรณ์แม้ยังไม่ได้ชำระราคา, คำพิพากษาขัดทรัพย์ผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีนั้น
การซื้อขายได้โอนทรัพย์ที่ขายให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระราคา ไม่เรียกว่าขาดข้อตกลงชำระราคา+ ไม่เป็นโมฆะพิจารณาความแพ่ง ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.145-148 คำพิพากษาของศาลมีผลบุคคลภายนอกได้เพียงไรศาลตัดสินในคดีที่ผู้ร้อง ๆ ขัดทรัพย์ว่า สัญญาซื้อขายระวางโจทก์จำเลยเป็นโมฆะใช้ไม่+ดังนี้ ย่อมมีผลผูกมัดของจำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์นั้น หาผูกมัดโจทก์ด้วยไม่
อุทธรณ์+คืนวินิจฉัย
อุทธรณ์+คืนวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์จำกัดเฉพาะคู่ความเดิม ผู้มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีเดิมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ผู้ที่มิได้เป็นคู่ความมาแต่ชั้นศาลเดิมและไม่เกี่ยวแก่การใช้สิทธิของจำเลยเดิมแล้ว ไม่มีสิทธิฟ้องอุทธรณ์ มฤดก พินัยกรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้พิพากษาเคยตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับคู่ความเดิม สามารถนั่งพิจารณาคดีใหม่ในประเด็นกฎหมายได้
ผู้พิพากษาที่เคยเป็นคณะตัดสินในคดีที่จำเลยเคยฟ้องโจทก์ในมูลกรณีย์เดียวกันกับที่โทก์ฟ้องจำเลยนี้หนหนึ่งแล้วมาเป็นคณะตัดสินในคดีนี้อีกได้ไม่เข้าบทต้องห้ามตามกฎหมายข้างบน พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์สัญญาทางพระราชไมตรี คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ฎีกาได้แต่ในปัญหากฎหมาย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดเฉพาะคู่ความที่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุดสำหรับผู้ไม่ได้อุทธรณ์
คดีที่ศาลเดิมตัดสิน คู่ความบางคนมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้ไขกรณีย์เกี่ยวแก่คู่ความนั้น ๆ พ.ร.บ.ฝิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์ซ้ำ: คำพิพากษาเดิมผูกพันเฉพาะคู่ความเดิม
ฟ้องซ้ำอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยเจ้าทุกข์ที่ไม่ใช่คู่ความ และสิทธิในการฎีกาของจำเลย
เจ้าทุกข์เปนคนบังคับฮอลันดา คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056-1057/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำนวนอาญาไม่ผูกพันจำเลยที่ไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่ง การพิสูจน์ความเลินเล่อ
อ้างสำนวนอาญาที่โจทก์ไม่ได้เปนคู่ความมาสืบข้อเท็จจริงยันจำเลยไม่ได้ อาญา ม.90 จะใช้ได้ในคดีแพ่งต่อเมื่อคู่ความคนเดียวกันเทียบฎีกา 1405/62 ฎีกาที่ 1418/62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นข้อพิพาทและคู่ความเดียวกัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนให้ออกจากที่ดินพิพาท คดีทั้งสามอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ทั้งสองได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องในทั้งสามคดีดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงถือว่าโจทก์ที่ 2 เป็นโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 4 ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในทั้งสามคดีตามที่จำเลยแต่ละคดีขอให้ศาลมีหมายเรียก ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 4 ในฐานะจำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 4 ถูกฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามคดีด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ได้เข้าเป็นคู่ความในทั้งสามคดีดังกล่าวแล้วเช่นกัน ดังนั้น คู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีทั้งสามจึงเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ทำนองเดียวกันกับคดีทั้งสามว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เช่าจากจำเลยที่ 4 ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้กับคดีทั้งสามจึงมีอย่างเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 4 โจทก์คดีก่อนอาจเรียกค่าเสียหายอย่างที่เรียกคดีนี้ได้จากคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ในระหว่างที่คดีทั้งสามยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันอีก ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8686/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในศาลเดียวกัน กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมรดก และการสืบสิทธิของคู่ความ
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3148/2545 กับคดีนี้มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ส. เป็นเจ้าของรวมหรือมีกรรมสิทธิ์รวมในห้องแถวเลขที่ 1383/32 และเลขที่ 1379/1 - 2 หรือไม่ คดีทั้งสองจึงเป็นประเด็นอย่างเดียวกัน แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีใจความสำคัญเพียงว่าในศาลเดียวกันห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โดยมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องมีความหมายว่าคู่ความที่ฟ้องร้องกันจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันหรือเป็นบุคคลที่สืบสิทธิในการฟ้องร้องและดำเนินคดีมาจากคู่ความเดิมด้วยแล้วแต่กรณี เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจาก ส. และ ว. ตามลำดับ คดีทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในศาลเดียวกัน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังคดีถึงที่สุด และผลของการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
แม้คดีนี้ถึงที่สุดตามคำสั่งศาลฎีกาที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่ในชั้นบังคับคดีจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย อันเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลให้คดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 และเป็นคดีกรณีที่จำต้องจัดหาบุคคลผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะเพื่อให้มีคู่ความอยู่โดยครบถ้วนก่อนที่จะส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์และดำเนินคดีต่อไป การพิจารณาและมีคำสั่งให้บุคคลใดเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ที่ว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจที่จะพิจารณาให้คืนคำร้องแก่ศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไป จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาประกอบกับจำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 โดยมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะซึ่งมิใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีและอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะสั่งได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นแม้จะเป็นการผิดระเบียบแต่ในชั้นนี้มีประเด็นเพียงเรื่องการจัดหาบุคคลผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนคู่ความมรณะเพื่อให้คดีสามารถดำเนินการไปได้โดยมีคู่ความครบถ้วน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่เป็นที่เสียหายแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียนนั้นหรือสั่งแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง