คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128-7131/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดการแทน
แม้ศาลล้มละลายกลางจะพิพากษาให้บริษัท อ. ล้มละลายแล้วก็ตาม แต่บริษัท อ. ก็สามารถเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นคดีอาญาในฐานความผิดยักยอก รับของโจร และความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 โดยขอให้ลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายมาด้วย จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อีกทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 ก็มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือล้มละลายด้วย กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ. โจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่สำนวนเอง คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง แล้วให้ศาลชั้นต้นยกคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 4 ทั้งสี่สำนวนขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิ้นผลไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ศาลใช้ดุลพินิจชอบธรรม แม้จำเลยคัดค้าน โดยคำนึงถึงสิทธิโจทก์อื่น
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง นั้น หลังจากฝ่ายจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้ ซึ่งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังฝ่ายจำเลยก่อน คดีนี้ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ศาลได้บันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่เดียวกันว่า ศาลสอบแล้วทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านว่าประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ต่อมาศาลได้บันทึกรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ว่า ศาลสอบแล้ว ทนายโจทก์ยืนยันจะถอนคำฟ้อง ทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านเนื่องจากหากศาลอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในข้อหาเดียวกันนี้อีก จึงเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งห้าจากข้อเท็จจริงดังกล่าวถือว่า ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งห้าแล้ว ซึ่งแม้จำเลยทั้งห้าจะคัดค้าน ศาลก็ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องของผู้นำเสียหายโดยตรงในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
จำเลยยักยอกรถที่เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ดังนั้น แม้ผู้เช่าซื้อจะแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่าซื้อก็ตาม ก็ถือได้ว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้เสียหายเองด้วยเช่นกัน ผู้เช่าซื้อย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในฐานะที่เป็นผู้เสียหายด้วยคนหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่เป็นที่ดินของผู้อื่น และผลของการถอนฟ้องคดีก่อนที่มีต่อการฟ้องคดีใหม่
ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น...ฯลฯ..." คำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น การครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
ปัญหาว่าอำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไปด้วยการถอนฟ้องในคดีก่อนหรือไม่เป็นปัญหาสำคัญทั้งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงย่อมอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาได้ไม่ต้องห้ามแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ โดยมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งพึงถือว่าโจทก์ได้ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่ อันเป็นการผูกมัดตัวโจทก์ และแม้โจทก์เองจะเบิกความในคดีนี้โดยตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องแล้วหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ซื้อทีดินที่โจทก์อ้างในดคีก่อน ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการถอนฟ้อง: สิทธิฟ้องไม่ระงับแม้ถอนฟ้องก่อน หากการซื้อขายไม่บริบูรณ์
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2941 โดยทางราชการออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย และแม้จะฟังว่าทับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ครอบครองโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงต้องถือว่ามีข้อเถียงขัดแย้งกันเอง เนื่องเพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น..." ซึ่งคำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ดังที่จำเลยทั้งสองเถียงในฎีกา
แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีที่ถอนฟ้องประกอบการพิจารณาโทษคดีอื่น: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวน
แม้ฝ่ายผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก และฐานพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก แต่การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวมิได้มีผลถึงกับทำให้ถือว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องถูกลบล้างไปด้วย ศาลล่างทั้งสองจึงนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องมาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ หาใช่เป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาพิจารณาลงโทษจำเลย อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 240 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคำถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว และผลของการถอนฟ้อง
ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องถอนคำร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา โดยที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อสำนวนคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ความผิดข้อหานี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา แม้ผู้เสียหายรายอื่นเคยถอนฟ้องคดีเดิมที่มีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นผู้เสียหายเคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยอาศัยเหตุจากการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 199 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ได้ขอถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวไป ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะกระทำได้ ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายอื่นที่จะฟ้องจำเลยได้อีก แม้มูลเหตุที่จะฟ้องเป็นเรื่องการโอนที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์รายเดียวกันก็ตาม ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังศาลชั้นต้นพิพากษา และผลกระทบจากกฎหมายใหม่ต่อความผิดฐานพิมพ์
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดดังกล่าวเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวด้วยหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีความผิดฐานนี้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ จึงต้องกำหนดโทษเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และผลกระทบจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
การถอนคำฟ้องภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) บัญญัติให้โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนี้ แม้โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยทั้งสามในคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ไปแล้วในระหว่างดำเนินคดีนี้ดังที่จำเลยที่ 3 อ้างก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ โจทก์ยังคงมีสถานะเป็นคู่ความในคดีเช่นเดิมและมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตน โจทก์จึงมีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้ได้
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วยังต้องคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้โอนหนี้สินในคดีนี้ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แล้ว ย่อมมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งเอาเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด
of 52