คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีอากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การจัดประเภทกระดาษคราฟท์เพื่อลดอัตราภาษี การพิจารณาคุณลักษณะกระดาษคราฟท์และวัตถุดิบ
กระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกก็คือ กระดาษสีน้ำตาลที่มีความเหนียวมากกว่ากระดาษธรรมดาที่ใช้พิมพ์หนังสือหรือใช้ทำสมุดทั้งนี้เพราะกระดาษ คราฟทเป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำกล่อง ผิวกล่อง ถุงหลายชั้นหรือชั้นเดียว หรือใช้เป็นกระดาษสำหรับห่อสิ่งของหรือสินค้า ผลการตรวจสอบกระดาษตัวอย่างที่โจทก์ผลิตระบุว่า กระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษสำหรับทำผิวกล่อง (คือกระดาษคราฟทหรือกระดาษเหนียว) ตามที่กล่าวไว้ในมาตรฐานเลขที่มอก.170-2519 แต่มีคุณภาพด้านความเหนียวของกระดาษตัวอย่างต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเท่านั้น มิได้ปฏิเสธว่ามิใช่กระดาษคราฟท ดังนี้ต้องถือว่ากระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกดังที่กำหนดไว้ในบัญชีที่ 3 หมวด 5 สินค้าอื่น ๆ (1) ท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 โจทก์จึงได้ลดภาษีการค้าลงเหลือร้อยละ 1.5 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทกระดาษคราฟท์เพื่อเสียภาษี: พิจารณาจากคุณลักษณะและวัตถุดิบการผลิต ไม่ใช่แค่มาตรฐานอุตสาหกรรม
กระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกก็คือ กระดาษสีน้ำตาลที่มีความเหนียวมากกว่ากระดาษธรรมดาที่ใช้พิมพ์หนังสือหรือใช้ทำสมุดทั้งนี้เพราะกระดาษคราฟทเป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำกล่อง ผิวกล่อง ถุงหลายชั้นหรือชั้นเดียวหรือใช้เป็นกระดาษสำหรับห่อสิ่งของหรือสินค้า ผลการตรวจสอบกระดาษตัวอย่างที่โจทก์ผลิตระบุว่า กระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษสำหรับทำผิวกล่อง (คือกระดาษคราฟทหรือกระดาษเหนียว)ตามที่กล่าวไว้ในมาตรฐานเลขที่มอก.170-2519 แต่มีคุณภาพด้านความเหนียวของกระดาษตัวอย่างต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเท่านั้น มิได้ปฏิเสธว่ามิใช่กระดาษคราฟท ดังนี้ต้องถือว่ากระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกดังที่กำหนดไว้ในบัญชีที่ 3 หมวด 5 สินค้าอื่น ๆ (1) ท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 โจทก์จึงได้ลดภาษีการค้าลงเหลือร้อยละ 1.5 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระภาษีอากร, เงินเพิ่ม, และขอบเขตการเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาล
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์ การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับ และจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิม เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระภาษีอากรและเงินเพิ่ม หากไม่ชำระตามกำหนด จะเสียสิทธิประโยชน์และต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับและจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิมเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(4)โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12(1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ค่านายหน้าในการขายสินค้าที่ได้จ่ายไปจริงนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ค่าชดเชยความเสียหายเนื่องจากสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อมีคุณภาพต่ำผิดข้อตกลงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไร นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ เมื่อรายจ่ายค่าซื้อที่ดินเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนอันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากรค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ รายจ่ายค่ารับเหมาปูบล็อก ประดับพื้นเป็นรายจ่ายเพื่อทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มิใช่รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซม ให้คงสภาพเดิม จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บภาษีอากรและการมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกในคดีภาษี โดยศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องเรียกภาษีอากรจากจำเลยผู้นำของเข้า จำเลยต่อสู้ว่าสินค้ารายพิพาทบริษัท ส. สั่งจากประเทศญี่ปุ่นไม่ตรงตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี อนุมัติ ต่อมาคณะกรรมการ ดังกล่าวได้มีมติกลับมติเดิมให้เรียกเก็บภาษีอากรรายนี้ ก็หาใช่เป็นเหตุโดยตรงให้จำเลยถูกฟ้องเรียกภาษีอากรเป็นคดีนี้ไม่ เพราะจำเลยเป็นผู้นำเข้าสินค้าบริษัท ส. ก็ดี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรีก็ดีไม่ได้มีส่วนในการนำเข้าสินค้ารายพิพาท จำเลยไม่อาจฟ้องบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือถูกฟ้องไล่เบี้ยอันเนื่องมาจากการเสียภาษีอากรของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มมากไปกว่าที่จำเลยต้องชำระก็ดี หรือให้เสียดอกเบี้ยโดยที่จำเลยไม่มีความรับผิดตามกฎหมายที่ต้องเสียก็ดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนผันภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 และผลกระทบต่อการประเมินภาษี
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 เป็นบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้ รายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527 หรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2529 เป็นระยะเวลา 6 เดือน หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้ว ก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน การประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากร ตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรความตอนท้ายของบทบัญญัติมาตรานี้บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าผู้ใดที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์และเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับแล้ว เมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2529 อันเป็นเวลาภายในระยะเวลาตามที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติไว้ จำเลยจึงไม่ต้องเสียภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน
การคำนวณภาษีอากรตามมาตรา 30 ดังกล่าวกำหนดไว้เป็น 2 กรณีกรณีแรกเป็นเรื่องคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด กรณีหลังหากไม่มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องคำนวณจากยอกเงินได้ถัวเฉลี่ยย้อนหลังตามจำนวนปีที่มีเงินได้หรือรายได้แต่ไม่เกิน 5 ปีก่อนปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเสร็จสิ้นการชำระบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เท่านั้น จึงจะถือว่ามีทรัพย์สินสุทธิที่จะเปรียบเทียบเงินได้เฉลี่ย
จำเลยแจ้งเลิกกิจการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2526 และเสร็จสิ้นการชำระบัญชีวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 การที่จำเลยยื่นคำขอเสียภาษีอากรต่อเจ้าพนักงานประเมินโดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ถัวเฉลี่ย 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 - 2526 โดยเปรียบเทียบกับยอดทรัพย์สินสุทธิในวันที่ 30 กันยายน 2526 ซึ่งเป็นวันเลิกกิจการ เป็นการเสียภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับจากวันนำของเข้า
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521 อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันนำของเข้า และแจ้งความก่อนส่งมอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินภาษีอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: คำนวณจากวันชำระอากร ไม่ใช่วันฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์จะให้ผู้มีสิทธิรับเงินอากรคืนเพราะเหตุที่ได้ชำระไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ได้รับดอกเบี้ยของเงินที่จะได้รับคืนในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินที่จะได้รับคืนนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรนั้น หาใช่นับตั้งแต่วันฟ้องไม่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรโดยเฉพาะ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยผิดนัดมาใช้บังคับมิได้
of 72