คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายทวงหนี้ไม่ใช่ค่าเสียหายพิเศษ - ฝ่ายผิดนัดไม่จำเป็นต้องรับผิด
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้สิน มิใช่ผลเกิดขึ้นโดยตรงจากการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้จะถือว่าเป็นค่าเสียหายพิเศษก็ไม่ได้ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และการรับผิดของผู้ชำระบัญชี: การตีความข้อความในฟ้องอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ว่า 'ในประเด็นข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่โจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัวโจทก์หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานพยานและข้อกฎหมายดังโจทก์ได้กราบเรียนมาแล้วฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรับสภาพหนี้ต่อโรงงานกระดาษไทยในจำนวนหนี้ของโรงพิมพ์อำพลพิทยาต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อีก'แปลไม่ได้ว่าหมายความว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังที่โจทก์ฎีกาแต่ข้อความนั้นกลับทำให้เข้าใจในทางตรงข้ามว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวคดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อกระดาษจากโจทก์เพื่อพิมพ์เป็นแบบพิมพ์ส่งหน่วยราชการ แม้จำเลยจะเรียกค่าตอบแทนว่าค่าจ้าง การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำให้แบบพิมพ์เหล่านั้นเป็นสินค้าอันเป็นการประกอบอุตสาหกรรมคดีจึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้สินของผู้ชำระบัญชีและการตีความข้อความในฟ้องอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ว่า 'ในประเด็นข้อที่ว่าจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่โจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัวโจทก์หรือไม่ ..... เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานพยานและข้อกฎหมายดังโจทก์ได้กราบเรียนมาแล้วฟังได้ว่า. จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามที่จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ชำระบัญชีรับสภาพหนี้ต่อโรงงานกระดาษไทยในจำนวนหนี้ของโรงพิมพ์อำพลพิทยาต่อโจทก์แล้ว. จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อีก'. แปลไม่ได้ว่าหมายความว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด.จำเลยที่2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังที่โจทก์ฎีกา. แต่ข้อความนั้นกลับทำให้เข้าใจในทางตรงข้ามว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว. คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น.
จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อกระดาษจากโจทก์เพื่อพิมพ์เป็นแบบพิมพ์ส่งหน่วยราชการ. แม้จำเลยจะเรียกค่าตอบแทนว่าค่าจ้าง การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำให้แบบพิมพ์เหล่านั้นเป็นสินค้าอันเป็นการประกอบอุตสาหกรรม. คดีจึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าเนื่องจากความประมาทเลินเละและเหตุสุดวิสัย
เหตุที่เกิดความเสียหายเนื่องจากคลื่นของเรืออื่นในลำแม่น้ำมาปะทะเรือฉลอมของจำเลยที่บรรทุกสินค้าและจอดอยู่ที่ท่าเรือ เรือฉลอมกระแทกกับท่า ทำให้สินค้าที่บรรทุกบางส่วนเคลื่อนตกลงไปในแม่น้ำนั้น เป็นผลพิบัติที่อาจป้องกันได้ ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควร ไม่ใช่เป็นเหตุที่ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ ฉะนั้น จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยบรรทุกสินค้าเกินกว่าเก๋งท้ายเรือหรือหลังคาเรืออันเป็นการผิดระเบียบของกรมเจ้าท่า ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยแล้ว และเนื่องจากจำเลยมีอาชีพรับขนส่ง ย่อมมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าปกติสามัญชน แต่กลับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพอันควรต้องพึงปฏิบัติเสีย กล่าวคือ เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือเสร็จแล้ว ส. ผู้ควบคุมเรือของจำเลยกับลูกเรืออีก 3 คนขึ้นไปบนท่าหมด ไม่มีคนอยู่ในเรือที่จะคอยระมัดระวังป้องกันภัยอันตรายอันอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติต้องมีคนงานคอยระวังอยู่ เพราะอาจมีคลื่นแรงมาซึ่งแล้วก็มีคลื่นแรงมาจริง ๆ และปะทะเรือฉลอมทำให้เรือฉลอมกระแทกกับท่าเป็นเหตุให้สินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือฉลอมที่บรรทุกอยู่สูงตกลงไปในแม่น้ำเสียหาย ส. กับลูกเรือไม่สามารถจะเข้าไปช่วยประคองเรือเพื่อป้องกันความเสียหายไว้ได้ เพราะเกรงว่ากระสอบสินค้าที่ เคลื่อนหล่นลงมาจะทับเอาตามพฤติการณ์ถือว่าเป็นความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้รับขนชำระเงินจำนวนที่ได้จ่ายไปแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อการรับฝากเงินของผู้จัดการสาขา แม้รับฝากนอกสถานที่หรือนอกเวลาทำการ
กิจการของธนาคารมีการรับฝากเงินเป็นประการสำคัญ ดังนั้น ผู้จัดการธนาคารกระทำการรับฝากเงิน ก็เป็นกิจการที่ธนาคารมอบหมายให้กระทำ ข้อที่ผู้จัดการสาขาไปรับฝากเงินถึงบ้านผู้ฝาก และรับฝากในวันธนาคารหยุด การฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคาร จำเลยจะอ้างว่าผู้จัดการสาขากระทำโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหาได้ไม่
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลย จำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์ คำแจ้งความเช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากสัญญาประนีประนอม: จำเลยปิดทำนบหลังโจทก์เปิด ย่อมเป็นฝ่ายละเมิดและต้องรับผิด
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยยอมให้เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะปิดเปิดทำนบในเมื่อต้องการหรือไม่ต้องการน้ำ ต่อมาโจทก์เปิดทำนบ จำเลยไปปิดทำให้น้ำท่วมต้นข้าวโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจะสู้ว่าโจทก์ไม่เปิดทำนบเอง โจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ การเปิดน้ำท่วมห้องผู้อื่นทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ผู้เปิดน้ำต้องรับผิด
เปิดก๊อกน้ำในห้องตนแล้วลืมปิด เป็นเหตุให้น้ำท่วมพื้นห้องแล้วซึมไหลเข้าไปในห้องของบุคคลอื่นซึ่งติดต่อกันและใช้ผนังห้องร่วมกันทำให้ข้าวของของเขาและผนังห้องเสียหาย ถือว่าเป็นผลเกิดจากความประมาท จึงเป็นการละเมิดที่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการรับผิดในสัญญาหมั้น: ต้องมีของหมั้นตามประเพณี จึงจะถือเป็นการหมั้นตามกฎหมาย
การหมั้นและจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง อันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้น ดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในค่าภาษีของเจ้าของใหม่ หลังการบอกเลิกสัญญาเช่า และการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อ ๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภาษีในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระ จะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้ของสามีผู้ตาย: อายุความและขอบเขตความรับผิดของผู้รับมรดก
สามีจำเลยเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์อยู่แล้วถึงแก่กรรม จำเลยทำหนังสือรับใช้หนี้ให้แก่โจทก์มีข้อความว่า"ข้าพเจ้าขอให้สัญญาในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นภริยาและผู้จัดการมรดกนายไสว ทวีการ ต่อธนาคารว่า ข้าพเจ้าจะนำเงินมาผ่อนชำระให้แก่ธนาคาร....." ดังนี้แสดงว่าจำเลยมิใช่ลูกหนี้โจทก์โดยตรง จำเลยเพียงแต่ทำหนังสือรับใช้หนี้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกนายไสว ทวีการ ผู้ตายลูกหนี้โจทก์เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เมื่อจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกนั้น จึงสะดุดหยุดลง และต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้จากการกู้เงินอันมีกำหนด 10 ปี
of 69