พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า แม้มีเวนคืนที่ดินบางส่วน
เดิมที่พิพาทเป็นของกรมชลประทานโจทก์จำเลยเช่าที่นี้จากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่อมาเมื่อ พ.ศ.2486 มีพระราชบัญญัติออกมาเวนคืนที่ดินเพื่อขยายทางหลวงที่พิพาทบางส่วนถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่เรือนโรงของจำเลยก็ยังคงปลูกอยู่ในที่พิพาทโดยสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยตลอดมาจนถึง พ.ศ.2495 แล้วโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเมื่อที่พิพาทยังอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ โจทก์บอกเลิกการเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ตลอดถึงที่พิพาทส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่กรมทางหลวงแผ่นดินแล้วนั้นด้วยเมื่อจำเลยรับว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยเช่าจากโจทก์ เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยก็ต้องส่งมอบที่พิพาทคืนให้โจทก์ จำเลยไม่มีทางจะโต้เถียงอำนาจของโจทก์ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายเวนคืนทั่วไปเมื่อกฎหมายเฉพาะมิได้กำหนดวิธีปฏิบัติและบทลงโทษ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปของรัฐ ฉะนั้น จึงนำวิธีปฏิบัติในการเวนคืนตลอดจนบทลงโทษในกรณีมีผู้ขัดขวางมิให้เจ้าหน้าที่เข้าครอบครองทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้มาใช้บังคับแก่การเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งมิได้บัญญัติวิธีปฏิบัติและบทลงโทษไว้โดยเฉพาะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022-1024/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังเวนคืน: การขอรับรองการทำประโยชน์และการใช้เงินค่าทดแทน
โจทก์จับจองที่พิพาทและได้ขอคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอภายในกำหนด 180 วันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 แล้ว แต่นายอำเภองดเสียเองเพราะเหตุนอกเหนือประมวลกฎหมายที่ดินนั้น จะถือว่าที่พิพาทปลอดจากการจับจองเพราะโจทก์มิได้ขอคำรับรองว่าทำประโยชน์แล้วตามมาตรา 7 มิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนตืนจะมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่.
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนตืนจะมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022-1024/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน แม้มี พ.ร.บ.เวนคืน แต่เจ้าหน้าที่จะเข้าครอบครองได้ต่อเมื่อได้ใช้เงินค่าทดแทน
โจทก์จับจองที่พิพาทและได้ขอคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอภายในกำหนด 180 วันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 แล้ว แต่นายอำเภองดเสียเองเพราะเหตุนอกเหนือประมวลกฎหมายที่ดินนั้น จะถือว่าที่ดินพิพาทปลอดจากการจับจองเพราะโจทก์มิได้ขอคำรับรองว่าทำประโยชน์แล้วตามมาตรา 7 มิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนคืนจะตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตามแต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือได้วางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนคืนจะตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตามแต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือได้วางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกา และความสัมพันธ์กับ พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน พ.ศ. ๒๕๐๓
ที่ดินที่ถูกเวนคืน เป็นของกระทรวงกลาโหม แต่ภายหลังไม่ได้ถูกใช้ทำกิจการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่เวนคืน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของที่ดินผู้วายชนม์จึงได้ฟ้องกระทรวงกลาโหมเรียกที่ดินคืน คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทออกประกาศใช้ ดังนี้ เจ้าพนักงานที่ดินจะปฏิเสธไม่ยอมจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยอ้างว่าได้มีพระราชบัญญัติดังกล่าวออกมาทับหรือระงับคำพิพากษาฎีกานั้นแล้วหาได้ไม่ แท้จริงพระราชบัญญัติดังกล่าวออกมาเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาฎีกานั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาเวนคืน: สิทธิยังคงอยู่กับเจ้าของเดิมหากไม่มีกฎหมายเวนคืนฉบับใหม่
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งประกาศใช้บังคับโดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2495 เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นแล้ว โดยยังไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัยพ์ออกมาใช้บังคับอีกฉบับหนึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งกำหนดเขตไว้โดยพระราชกฤษฎีกานั้นยังหาได้ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ไม่ ที่ดินในส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งถูกกำหนดไว้จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานั้น โดยอ้างว่ากำหนดอายุ 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ยังคงครอบครองใช้สอยที่ดินของโจทก์อยู่ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากพื้นที่ดินของโจทก์ และให้รื้อถอนโยกย้ายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ และห้ามเข้าเกี่ยวข้องโดยมิได้เรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ในชั้นยื่นฟ้องย่อมเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์เสียค่าธรรมเนียมมาตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ2 ก. เป็นการถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังเวนคืน: สิทธิเจ้าของยังคงอยู่ แม้พ้นกำหนดเวนคืนและมีการครอบครอง
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งประกาศใช้บังคับโดยอาศัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2495 เมื่อพ้น 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นแล้ว โดยยังไม่มี พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับอีกฉบับหนึ่ง กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งกำหนดเขตไว้โดยพระราชกฤษฎีกานั้นยังหาได้ตกมาเป็นของทางราชการไม่ แต่ยังเป็นของเจ้าของเดิมอยู่ ฉะนั้น การที่เจ้าของที่ดินเดิมฟ้องทางราชการ ซึ่งยังครอบครองใช้สอยที่ดินนั้นอยู่ โดยมีคำขอให้ขับไล่เจ้าหน้าที่และบริวารออกไปจากที่ดินนั้น และให้รื้อถอนโยกย้ายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินนั้น ห้ามเข้าเกี่ยวข้องโดยมิได้เรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนี้ ย่อมเป็นคำฟ้องคดีปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าธรรมเนียมตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการก่อสร้างอาคารแยกจากกรรมสิทธิที่ดิน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง แม้กรรมสิทธิยังไม่ถูกเวนคืน
กรรมสิทธิในที่ดินเป็นสิทธิอย่างหนึ่งต่างหากจากการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารเพราะการปลูกสร้างอาคารนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้อีกต่างหาก ผู้ใดจะทำการปลูกสร้างอาคารต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้าง
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน.
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินเวนคืนตามคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการโอนตาม ป.พ.พ. ม.1305
ที่ดินที่ถูกทางราชการเวนคืนไป แล้วต่อมามีคำพิพากษาให้คืนที่ ๆ ถูกเวนคืนแก่เจ้าของ การคืนนั้นไม่ต้องกระทำตาม ป.พ.พ. ม. 1305 เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องการโอนแก่กัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินเวนคืนตามคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1305
ที่ดินที่ถูกทางราชการเวนคืนไป แล้วต่อมามีคำพิพากษาให้คืนที่ที่ถูกเวนคืนแก่เจ้าของ การคืนนั้นไม่ต้องกระทำตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องการโอนแก่กัน