พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12573/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขับไล่จากการซื้อที่ดินประมูล vs. การโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่ได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ให้สิทธิแก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลในคดีเดิมเพื่อออกคำบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ได้เท่านั้น สิทธิดังกล่าวมิใช่ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ที่จะโอนกันได้ทางนิติกรรม การที่ผู้ซื้อทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11786/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและฟ้องขับไล่หลังโอนกรรมสิทธิ์ กรณีมีข้อตกลงเงื่อนไขผูกพันในการขาย
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วได้หรือไม่และปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยได้แถลงสละประเด็นปัญหาดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทจะตกเป็นของผู้ซื้อนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว แต่เมื่อการขายที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าโจทก์ต้องดำเนินการให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท ผู้ซื้อจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ การครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงยังอยู่กับโจทก์ในส่วนที่เป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทย้ายออกไปตามข้อตกลง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วได้ จนกว่าจำเลยจะออกไปจากตึกแถวพิพาท
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทจะตกเป็นของผู้ซื้อนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว แต่เมื่อการขายที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าโจทก์ต้องดำเนินการให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท ผู้ซื้อจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ การครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงยังอยู่กับโจทก์ในส่วนที่เป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทย้ายออกไปตามข้อตกลง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วได้ จนกว่าจำเลยจะออกไปจากตึกแถวพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อจำเลยผิดสัญญา ไม่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ ระบุเนื้อที่ดินตามโฉนดแต่ละแปลง 16 ตารางวา และระบุราคาที่ดินตารางวาละ 150,000 บาท ทั้งยังระบุด้วยว่าหากว่ามีเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาจะคิดราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงในราคาต่อหน่วยตามราคาที่ดิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยสามารถชำระหนี้ตามสัญญาในส่วนที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ เมื่อครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพาณิชย์ตามสัญญาแล้ว จำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือ ให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่ดินซึ่งจำเลยสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ทั้งไม่เป็นการบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้บางส่วนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์ที่มีสัญญาเช่าซื้อก่อน การโอนกรรมสิทธิ์ และสิทธิของบุคคลภายนอก
โจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกผู้มีเพียงบุคคลสิทธิเหนือห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนทะเบียนรถบัสพิพาทระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กับจำเลยที่ 2 หรือให้จำเลยที่ 2 กรรมการบริษัท ด. โอนทะเบียนรถพิพาทมาให้โจทก์ได้ เพราะหลังจากทำสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ไม่เคยได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทอันจะสามารถโอนทะเบียนให้แก่โจทก์ได้
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นเรื่องบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 และโจทก์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์ตามหลักกฎหมายดังกล่าวผู้เรียกต่างต้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เรียกด้วยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณาว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ในลำดับต่อไป แต่คดีนี้ได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิจะได้รับเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัท พ. ครบถ้วนแล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดๆ ได้ แม้ว่าโจทก์จะครอบครองรถบัสพิพาทก็ตาม
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นเรื่องบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 และโจทก์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์ตามหลักกฎหมายดังกล่าวผู้เรียกต่างต้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เรียกด้วยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณาว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ในลำดับต่อไป แต่คดีนี้ได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิจะได้รับเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัท พ. ครบถ้วนแล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดๆ ได้ แม้ว่าโจทก์จะครอบครองรถบัสพิพาทก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามข้อตกลง, ห้ามใช้วิธีขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยทั้งสามยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามตกลงชำระหนี้โจทก์โดยนำทรัพย์จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน หากผิดนัด ยินยอมให้โจทก์ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันทีเพียงประการเดียว ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่ามีการตกลงกันให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ได้สองวิธีคือ นำทรัพย์จำนองตีราคาชำระหนี้ หรือนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ การที่สัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสามรับว่าเป็นหนี้และตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ก็เป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้มูลหนี้เดิมระงับ โจทก์และจำเลยทั้งสามต้องผูกพันกันตามมูลหนี้ใหม่โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์หามีสิทธิเลือกบังคับคดีด้วยวิธีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกสินค้า: การโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบ ทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ
ข้อจำกัดในอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องอุทธรณ์การประเมิน ซึ่งในคดีนี้ แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติให้ต้องอุทธรณ์การประเมินภายใน 30 วัน ก็ตาม แต่ปัญหาในเรื่องที่ว่าคำสั่งให้ประเมินภาษีแก่โจทก์อันเป็นคำสั่งทางปกครองมีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับความถูกต้องของการประเมินภาษี ดังนี้ ปัญหาในเรื่องรูปแบบของคำสั่งทางปกครองดังกล่าวย่อมไม่อยู่ในบังคับที่ต้องยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้มีข้อบกพร่องในการระบุเหตุผล แต่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมถึงโจทก์ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยหลายเดือนถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสามแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินจึงสมบูรณ์แล้ว
ในคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์เพียงโต้แย้งในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ย โดยมิได้โต้แย้งว่ามิใช่เงินได้ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในส่วนนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องโดยยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้น มิใช่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่แต่เป็นการคิดคำนวณภาษีใหม่ให้ถูกต้อง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นให้ถูกต้องได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง
ตามสัญญาซื้อขาย คู่สัญญาตกลงให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายเก็บรักษาสินค้าและจัดส่งให้ผู้ขายในภายหลัง จึงเป็นการขายภายในประเทศ มิใช่การขายโดยส่งออก และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าทั้งหมดออกไปนอกราชอาณาจักร โจทก์ส่งสินค้าส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทอื่นโดยส่งไปที่เขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ตามคำสั่งของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว ทั้งตามลักษณะดังกล่าวก็เป็นเรื่องการส่งออกของผู้ซื้อให้แก่บริษัทอื่นอีกด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขายสินค้าโดยส่งออกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (4) ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) หากแต่เป็นการขายสินค้าที่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าก่อนการส่งมอบตามมาตรา 78 (1) (ก) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 (1) แม้ต่อมาโจทก์ส่งสินค้าบางส่วนไปยังเขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ในเดือนกันยายน 2545 ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) เพราะความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นก่อนแล้วในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้มีข้อบกพร่องในการระบุเหตุผล แต่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมถึงโจทก์ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยหลายเดือนถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสามแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินจึงสมบูรณ์แล้ว
ในคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์เพียงโต้แย้งในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ย โดยมิได้โต้แย้งว่ามิใช่เงินได้ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในส่วนนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องโดยยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้น มิใช่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่แต่เป็นการคิดคำนวณภาษีใหม่ให้ถูกต้อง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นให้ถูกต้องได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง
ตามสัญญาซื้อขาย คู่สัญญาตกลงให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายเก็บรักษาสินค้าและจัดส่งให้ผู้ขายในภายหลัง จึงเป็นการขายภายในประเทศ มิใช่การขายโดยส่งออก และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าทั้งหมดออกไปนอกราชอาณาจักร โจทก์ส่งสินค้าส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทอื่นโดยส่งไปที่เขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ตามคำสั่งของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว ทั้งตามลักษณะดังกล่าวก็เป็นเรื่องการส่งออกของผู้ซื้อให้แก่บริษัทอื่นอีกด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขายสินค้าโดยส่งออกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (4) ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) หากแต่เป็นการขายสินค้าที่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าก่อนการส่งมอบตามมาตรา 78 (1) (ก) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 (1) แม้ต่อมาโจทก์ส่งสินค้าบางส่วนไปยังเขตอุตสาหกรรมการส่งออก (EPZ) ในเดือนกันยายน 2545 ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (6) เพราะความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นก่อนแล้วในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน-บ้าน ย่อมรวมถึงสิทธิการใช้ไฟฟ้า ผู้รับโอนต้องรับผิดชอบค่าไฟฟ้า
แม้จำเลยจะเป็นผู้ยื่นแบบขอใช้ไฟฟ้าและมีชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อให้โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยที่บ้านพิพาทก็ตาม แต่เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้ ป. ไปแล้ว ย่อมถือได้ว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้ไฟฟ้าซึ่งติดกับตัวบ้านให้แก่ ป. แล้วโดยปริยาย ป. จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาการใช้ไฟฟ้าที่จำเลยมีต่อโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิการใช้ไฟฟ้าและเป็นผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าที่แท้จริงด้วย แม้จำเลยจะยังไม่บอกเลิกการใช้ไฟฟ้าและโอนทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้าให้ ป. ก็ตาม เมื่อขณะตรวจพบการทำละเมิดต่อคร่อมสายไฟฟ้า จำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านพิพาทหรือร่วมรู้เห็นหรือได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว อีกทั้งโจทก์ก็ฟ้องบังคับเอาแก่ ป. แล้ว จำเลยจึงไม่มีความผูกพันต้องชำระหนี้ค่าไฟฟ้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22779/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังศาลพิพากษา บสท. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยหรือ บสท. ประสงค์จะบังคับจำนองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน สำหรับทรัพย์สินด้อยคุณภาพในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 74 เมื่อผู้จำนองไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา บสท. มีอำนาจดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ โดยวิธีการขายทอดตลาด เว้นแต่ บสท. เห็นว่า การจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์กับ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้ แต่สำหรับกรณีที่ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเข้าเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหก ซึ่งมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ได้กำหนดว่า ภายใต้บังคับมาตรา 30 ในคดีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องเป็นคดีต่อศาลเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมาตามพระราชกำหนดนี้ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ดังนั้นเมื่อ บสท. เลือกที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ แทนที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาแล้ว บสท. จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปตามมาตรา 41 เมื่อในคดีเดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้ บสท. เป็นฝ่ายชนะคดี บสท. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีแล้วจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่า หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้จนครบ การที่ บสท. ไปขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสามต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19816/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยและการมีอำนาจเป็นโจทก์: การโอนกรรมสิทธิ์ต้องมีการตรวจรับสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักปุ๋ยของสหกรณ์การเกษตร ด. ผู้เสียหายที่เป็นของนายจ้างไป แต่กลับได้ความตามทางพิจารณาเกี่ยวกับทางปฏิบัติในการซื้อปุ๋ยของสหกรณ์การเกษตร ด. ผู้ขายว่า ต้องมีการขนส่งปุ๋ยมาตรวจนับ ณ ที่ทำการของสหกรณ์การเกษตร ด. ก่อนการชำระค่าปุ๋ยตามจำนวนที่ตรวจนับได้ ดังนี้ถือว่าสหกรณ์การเกษตร ด. และผู้ขายซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาเอาการตรวจนับปุ๋ย ณ ที่ทำการของสหกรณ์การเกษตร ด. เป็นสาระสำคัญในการโอนกรรมสิทธิ์ปุ๋ยกัน เมื่อปุ๋ยตามฟ้องสูญหายไประหว่างขนส่งก่อนการตรวจนับ กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงยังไม่ตกเป็นของสหกรณ์การเกษตร ด.
แม้คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่เมื่อสหกรณ์การเกษตร ด. ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
แม้คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่เมื่อสหกรณ์การเกษตร ด. ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12203/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์และผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็ค
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สัญญาซื้อขายรถยนต์สมบูรณ์ การที่โจทก์ร่วมตกลงกับจำเลยนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายรถยนต์ว่าจะยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่จำเลยจนกว่าเช็คทั้งสี่ฉบับจะเรียกเก็บเงินได้นั้น แสดงว่าโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงให้ถือการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับหรือไม่ เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ ตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับ สัญญาซื้อขายรถยนต์ย่อมไม่มีผลสมบูรณ์ โจทก์ร่วมมีสิทธิติดตามเอารถยนต์กลับคืนมาได้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์ร่วมให้การในชั้นสอบสวนว่ามีข้อตกลงนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าว ย่อมฟังได้ว่าขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับยังไม่มีมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับ จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534