คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำคำพิพากษาคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง ต้องเป็นประเด็นโดยตรงและคู่ความต้องเป็นเดียวกัน
การที่จะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งตลอดจนผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา เมื่อปรากฏว่าการพิพากษาคดีอาญาในคดีก่อน ศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขายสินค้าให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นเรื่องซื้อขายกันตามปกติทางการค้า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายไปในราคาต่ำกว่าทุนอันจะเป็นตัวชี้เจตนาได้ว่าจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงด้วย อันเป็นการวินิจฉัยถึงการทำงานของจำเลยที่ 1 รวมถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ว่ามิได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย รวมทั้งโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งหก เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีแพ่งคดีนี้อีกว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อีก อันมีข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยทั้งหกว่าเป็นการกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นกรณีของการกระทำที่เป็นละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งแล้วถึงการกระทำของจำเลยทั้งหก คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์รับฟังเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขายสินค้าให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ในราคาต่ำไปทำให้โจทก์ขาดรายได้เท่าที่ควรจะได้เป็นเงิน 6,000,000 บาท นั้น เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงถึงการตรวจสอบห้างจำเลยที่ 5 และบริษัทจำเลยที่ 6 ที่โจทก์พบว่าเมื่อนำใบซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 และที่ 6 มาเปรียบเทียบกันแล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 พิจารณาสั่งขายสินค้าให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ในราคาต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้ในการซื้อขายแต่ละคราว ทำให้โจทก์ขาดรายได้เป็นเงินรวม 6,000,000 บาท เท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาที่ฟังยุติแล้วว่า ที่จำเลยที่ 1 ขายสินค้าให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นเรื่องซื้อขายกันตามปกติทางการค้า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายไปในราคาต่ำกว่าทุนอันจะเป็นตัวชี้เจตนาได้ว่าจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด กรณีจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งหกมิได้กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ไม่เป็นการกระทำที่เป็นละเมิดต่อโจทก์จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และผลกระทบต่อคู่ความ
โจทก์ขอถอนฟ้องคดี ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนตามคำฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของฝ่ายตนอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับและเรียกคู่ความใหม่เข้าร่วมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับโจทก์ บริษัท จ. อ. และ ช. แต่จำเลยผิดสัญญา จึงฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ฝ่ายโจทก์ซึ่งรวมถึงบริษัท จ. อ. และ ธ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาและขอให้โจทก์ บริษัท จ. อ. และ ธ. ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายจากการผิดสัญญาให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ฝ่ายโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ จึงควรรับฟ้องแย้งของจำเลยเพื่อรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันกับคำฟ้องโจทก์ และเมื่อตามฟ้องแย้งจำเลยขอให้โจทก์ บริษัท จ. อ. และ ธ. ซึ่งร่วมกับโจทก์ทำสัญญากับจำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย จึงเห็นสมควรที่จะเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ตามคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: การจดทะเบียนหลังฟ้องคดี และการฟ้องไม่ครบถ้วนคู่ความ ทำให้ศาลไม่สามารถบังคับตามคำขอได้
แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่จำเลยรับโอนมาจากบริษัท บ. ผู้จัดสรร ให้แก่ที่ดินของบริษัท บ. ผู้จัดสรร แต่เมื่อก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยได้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินให้แก่บริษัท บ. ตามมติของที่ประชุมใหญ่เสียแล้ว สภาพแห่งคดีจึงไม่เปิดช่องที่จะมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมตามคำขอของโจทก์ได้ และแม้จะอนุเคราะห์ให้ถือว่าคำขอของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมระหว่างจำเลยกับบริษัท บ. แต่การจะเพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าว โจทก์ต้องฟ้องบริษัท บ. ผู้เป็นคู่สัญญากับจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยด้วย ลำพังแต่เพียงฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนภาระจำยอมนั้น ไม่อาจทำได้ เพราะคำพิพากษาย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13357/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปเนื่องจากคู่ความผ่อนผันและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
เมื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตลอดแล้ว แสดงให้เห็นเจตนาว่าโจทก์ประสงค์จะนำที่ดินทั้งหมดกลับมาขายด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีทยอยไถ่ถอนที่ดินจากธนาคารทีละจำนวน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายผ่อนผันเวลาให้แก่กันเช่นนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ หากจำเลยทั้งสามผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการไม่ และการที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ซึ่งที่ดินดังกล่าวถือเป็นสาระสำคัญของข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยทั้งสามเป็นการพ้นวิสัยไปด้วย คู่ความทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ และสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เช่นนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8957/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดซองคำพิพากษา: ศาลอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความโดยชอบแล้ว การเปิดซองเป็นอำนาจภายใน
ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) กำหนดหลักเกณฑ์การอ่านคำพิพากษาว่าให้อ่านโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ ไม่หมายความรวมถึงต้องเปิดซองคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความด้วย เพราะซองคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นเรื่องการปฏิบัติภายในศาลเพื่อรักษาความลับของทางราชการไม่ให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอกก่อนกำหนดเวลาอ่านให้คู่ความฟัง หากมีการทุจริต หรือปล่อยปละละเลยให้คำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งเป็นความลับของทางราชการถูกเปิดเผย ย่อมต้องรับผิดชอบเป็นอีกกรณีหนึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำให้การอ่านคำพิพากษาซึ่งดำเนินการตามบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยชอบแล้วกลับเป็นไม่ชอบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับรองสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องหลังมรณะ: ทายาทไม่อาจเป็นคู่ความแทนได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ตายเป็นบุตร เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลรับรองสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องโดยแท้ เมื่อสิทธิตามคำร้องของผู้ร้องมิใช่สิทธิอันเป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทได้ แม้ต่อมาผู้ร้องถึงแก่ความตายระหว่างไต่สวนคำร้อง และ ภ. ซึ่งเป็นทนายความของ ป. และ ส. ทายาทโดยธรรมของผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ก็ไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ร้องที่มรณะได้ ศาลชอบที่จะยกคำร้องของ ภ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีต่อเนื่อง: ศาลพิจารณาจากความปรากฏต่อศาลและคู่ความเมื่อมีคำพิพากษาหลายคดีในวันเดียวกัน
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้กับในคดีอีกสี่สำนวนของศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาในวันเดียวกันและในเวลาใกล้เคียงเกี่ยวเนื่องกันติดต่อกันไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีนี้โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอื่นอีกสี่สำนวนนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่อย่างไร ทั้งตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอื่นอีกสี่สำนวนนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยติดต่อกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20896/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และการอนุญาตให้ทายาทเข้าเป็นคู่ความแทนในคดีแพ่ง
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) สำหรับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ป. เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยผู้ตาย จึงอนุญาตให้ ป. เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12490/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินคดียาเสพติด ผู้ไม่คัดค้านมิใช่คู่ความ อุทธรณ์ฎีกาไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27, 29, 31 ศาลชั้นต้นได้ประกาศหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินเข้ามาในคดีแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามารวมทั้งจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีจึงมิใช่คู่ความ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาในส่วนนี้และศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยในปัญหานี้ให้นั้น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
of 56