พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยปกปิดสถานะล้มละลายของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันมีความผิดด้วย
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบคำพิพากษานั้นและมิได้ระบุถึงผลของการประกาศโฆษณาโดยแจ้งชัด ซึ่งตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้พออนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำพิพากษาให้ล้มละลายที่ประกาศโฆษณาแล้วหรือไม่เท่านั้น ดังนี้ ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบถึงคำพิพากษาให้ล้มละลายก็ได้
จำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ร่วมปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยที่ 1 ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก่อนที่จะทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่า จำเลยที่ 1 สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินและมีผลบังคับตามกฎหมายได้ จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
จำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ร่วมปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยที่ 1 ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก่อนที่จะทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่า จำเลยที่ 1 สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินและมีผลบังคับตามกฎหมายได้ จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10972/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: การนับอายุความเริ่มจากวันที่อาจบังคับสิทธิได้ และการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีถึงโจทก์ว่าจะดำเนินการติดตามลูกหนี้ทั้งหมดมาชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2535 แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติได้ โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยให้เริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 24 มิถุนายน 2545 เมื่อนับถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10105/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหลังชำระหนี้แทนลูกหนี้ สิทธิในการรับชำระหนี้จะตกเป็นของผู้รับช่วงสิทธิเดิม
เจ้าหนี้เป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ต่อธนาคาร ก. เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 ปรากฏว่าธนาคาร ก. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย และวรรคสอง การที่เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ตามหนังสือค้ำประกันถึงแม้มีผลให้เจ้าหนี้เข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. บรรดามีเหนือลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 แต่เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้หลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แล้ว ดังนี้ ขณะยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้จึงยังไม่ได้รับช่วงสิทธิที่จะมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยอาศัยคำขอรับชำระหนี้เดิมของเจ้าหนี้ได้ การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในกรณีนี้เจ้าหนี้ชอบที่จะต้องเข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. ในส่วนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเช่าซื้อ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยหลังคืนรถ และการไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาของศาลได้กำหนดขั้นตอนการบังคับคดีเกี่ยวกับการส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแทนไว้แล้ว จึงต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังกันไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษา กล่าวคือ หากการบังคับให้คืนรถยนต์ไม่อาจกระทำได้ จึงให้บังคับเอาจากราคารถยนต์แทน เมื่อบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยแล้วโดยไม่ปรากฏว่ารถยนต์ดังกล่าวมีสภาพไม่เรียบร้อยใช้การไม่ได้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัท ธ. แล้ว บริษัท ธ. จะบังคับคดีให้จำเลยชำระราคารถยนต์แทนอีกไม่ได้ และย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่คิดจากราคารถยนต์ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ธ. ในระหว่างที่จำเลยยังครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอยู่ คำพิพากษาของศาลก็ได้กำหนดค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์แก่บริษัท ธ. ไว้อีกส่วนหนึ่งด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าบริษัท ธ. ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากราคารถยนต์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งของหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนนี้ ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งศาลพิพากษาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยจะได้ชำระดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 80,185 บาท ไปก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัท ธ. เอง โจทก์ไม่อาจได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11069/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องผ่อนชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 โจทก์จะขอบังคับคดีได้หลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 ไปแล้ว กำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ย่อมเริ่มนับแต่วันที่โจทก์อาจขอดำเนินการบังคับคดีได้ คือวันที่ 1 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 แม้ปรากฏว่า จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นผลให้แตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงนอกศาลของคู่ความในชั้นบังคับคดีไม่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาและกำหนดเวลาของการบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้งกำหนดเวลาของการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ไม่ใช่อายุความ ดังนี้การที่โจทก์ไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 จึงไม่ทำให้กำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดลงหรือขยายออกไปได้อีก โจทก์มีสิทธิบังคับคดีสำหรับหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังค้างของ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในกำหนด 10 ปี คือภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยทั้งสองและ ส. ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการเช่า, การผ่อนเวลาชำระหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์
กำหนดอายุความตามมาตรา 563 หมายถึงผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าให้รับผิดเพราะผู้เช่าฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของตนตามสัญญาเช่า แต่ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ค่าขาดราคาเมื่อนำรถที่เช่าออกขาย ค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีรถยนต์ที่โจทก์ชำระแทนไป เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าไม่ใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายเพราะผู้เช่าฝ่าฝืนต่อหน้าที่จึงไม่อยู่ในอายุความตามมาตรา 563
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าไป จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ. มาตรา 561
การผ่อนเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นจะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระยังไม่ถือว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 19 เป็นต้นไปเท่านั้น โดยไม่มีการตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้กันแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากหนี้ตามมาตรา 700
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าไป จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ. มาตรา 561
การผ่อนเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นจะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระยังไม่ถือว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 19 เป็นต้นไปเท่านั้น โดยไม่มีการตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้กันแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากหนี้ตามมาตรา 700
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อหนี้สถาบันการเงินและการเรียกร้องดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกัน และผลของการฟื้นฟูกิจการ
ส. มิได้เป็นพนักงานของโจทก์แต่เป็นลูกจ้างของบริษัท บ. ซึ่งโจทก์แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารและบริการทรัพย์สินสินเชื่อที่โจทก์ซื้อมาจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และ ส. มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับมูลหนี้ รวมทั้งมูลหนี้ของจำเลยในคดีนี้การที่ ส. ตรวจสอบมูลหนี้ของจำเลยจากเอกสารต่างๆ ถือว่า ส. เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร จึงสามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารได้ การที่ ส. เบิกความว่า โจทก์มอบอำนาจและมอบอำนาจช่วง จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้ปิดประกาศขายสินทรัพย์ที่หน้าที่ทำการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้ประกาศขายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงชอบด้วยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง และถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ. ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่จำเลยยอมผูกพันตนต่อบริษัทเงินทุน ธ. เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ความรับผิดของจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อบริษัท อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุน ธ. ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้แต่เวลานั้น จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้ของบริษัท อ. ระงับสิ้นไป ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680, 686 และ 698 การที่บริษัท อ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ทำให้บริษัทดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิด คงมีผลทำให้ความรับผิดของบริษัทดังกล่าวลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงตามจำนวนที่บริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
บริษัทเงินทุน ธ. เป็นสถาบันการเงินจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (2) ไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654 บริษัทเงินทุน ธ. จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุน ธ. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อบริษัท อ. และจำเลย แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัทเงินทุน ธ. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินก็ตาม
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้ปิดประกาศขายสินทรัพย์ที่หน้าที่ทำการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้ประกาศขายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงชอบด้วยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง และถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ. ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่จำเลยยอมผูกพันตนต่อบริษัทเงินทุน ธ. เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ความรับผิดของจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อบริษัท อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุน ธ. ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้แต่เวลานั้น จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้ของบริษัท อ. ระงับสิ้นไป ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680, 686 และ 698 การที่บริษัท อ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ทำให้บริษัทดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิด คงมีผลทำให้ความรับผิดของบริษัทดังกล่าวลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงตามจำนวนที่บริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
บริษัทเงินทุน ธ. เป็นสถาบันการเงินจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (2) ไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654 บริษัทเงินทุน ธ. จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุน ธ. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อบริษัท อ. และจำเลย แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัทเงินทุน ธ. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการรับช่วงสิทธิ ผู้ค้ำประกันไม่อาจไล่เบี้ยหากไม่ยกข้อต่อสู้
จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า คดีที่ธนาคาร ก. ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การในคดีนั้นว่าขาดอายุความอย่างใดบ้าง คดีจะฟังว่าโจทก์ยอมชำระหนี้แก่ธนาคารทั้ง ๆ ที่จำเลยให้การและนำสืบอยู่ว่าคดีขาดอายุความ และโจทก์ทราบดีแล้วว่าสิทธิเรียกร้องของธนาคารขาดอายุความ อันจะถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 695 ยังไม่ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือหลังการแปลงหนี้เป็นหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่หลุดพ้นจากหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนจำเลยในคดีนี้ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น จะต้องรับผิดอีกหรือไม่ อย่างไรเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้มีการชำระหนี้แก่โจทก์โดยการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้เช่นนี้ ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นจะหลุดพ้นความรับผิดก็แต่เฉพาะเท่ากับมูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นที่โจทก์ได้รับชำระหนี้มาส่วนที่เหลือจากราคาดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้มีการชำระหนี้แก่โจทก์โดยการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้เช่นนี้ ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นจะหลุดพ้นความรับผิดก็แต่เฉพาะเท่ากับมูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นที่โจทก์ได้รับชำระหนี้มาส่วนที่เหลือจากราคาดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่าผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด