พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 การประเมินภาษีหลังพระราชกำหนดมีผล
มาตรา 30 วรรคหก (2) แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติมิให้นำมาตรา 30 ดังกล่าว มาใช้แก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 แจ้งให้โจทก์นำภาษีเงินได้นิติบุคคลไปชำระอันเป็นเวลาภายหลังที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอตามแบบ อ.1 และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดตาม ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ได้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดดังกล่าวโดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยตามหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม พรฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) หากยังไม่ได้ถูกประเมินภาษี โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์
จำเลยได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสั่งให้โจทก์นำไปชำระภายหลังที่ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนด และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตาม มาตรา 30 แห่ง พระราชกำหนด ดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ผู้ที่จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรา 30 นั้น หมายถึงผู้ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือให้นำส่งภาษีอากรก่อนวันที่ พระราชกำหนด นี้ใช้บังคับเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
เมื่อโจทก์ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินภาษีอากรคืน: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ตั้งแต่วันชำระอากร ไม่ใช่วันฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์จะให้ผู้มีสิทธิรับเงินอากรคืนเพราะเหตุที่ได้ชำระไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ได้รับดอกเบี้ยของเงินที่จะได้รับคืนในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินที่จะได้รับคืนนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรนั้น หาใช่นับตั้งแต่วันฟ้องไม่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรโดยเฉพาะ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยผิดนัดมาใช้บังคับมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนแม้หลังเลิกไป ทรัพย์มรดกถูกบังคับชำระหนี้ภาษี
ส.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.จึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ผิดนัดชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้ ส.ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจาก ส.ตายแล้วก็ตาม ทรัพย์สินกองมรดกของ ส.ก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีภาษีอากรเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและอายุความ รวมถึงการคิดดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าภาษี จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากค่าภาษีที่ค้างชำระอีก
จำเลยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จะใช้แบบพิมพ์คำร้องมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับมาโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่ ก็พออนุโลมว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 25 ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ สินค้าที่นำเข้ามีราคาที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมด้วยเงินเพิ่มจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดมีเพียงว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยจะต้องรับผิดหรือไม่คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
จำเลยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จะใช้แบบพิมพ์คำร้องมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับมาโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่ ก็พออนุโลมว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 25 ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ สินค้าที่นำเข้ามีราคาที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมด้วยเงินเพิ่มจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดมีเพียงว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยจะต้องรับผิดหรือไม่คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายรับจากบัตรนำเที่ยว: การคำนวณภาษีถูกต้องตามหลักการทางภาษีอากร
การจัดบริการนำเที่ยวโดยวิธีขายบัตรนำเที่ยว ไม่ว่าโจทก์ขายบัตรนำเที่ยวให้แก่สำนักงานท่องเที่ยวหรือเป็นเรื่องสำนักงานท่องเที่ยวทำหน้าที่เพียงเป็นตัวแทนโจทก์ในการขายบัตรนำเที่ยว โจทก์ก็จะต้องจ่ายผลประโยชน์ให้แก่สำนักงานท่องเที่ยวผลประโยชน์ซึ่งได้แก่ผลต่างของราคาในบัตรนำเที่ยวกับราคาที่โจทก์คิดกับสำนักงานท่องเที่ยวก็คือค่าใช้จ่ายในการขายบัตรนำเที่ยวของโจทก์ ราคาตามบัตรนำเที่ยวจึงเป็นส่วนที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับต้องถือว่าเป็นรายรับของโจทก์ทั้งหมดตามความในมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องคำนวณรายรับของโจทก์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏราคาในบัตรนำเที่ยว จะคำนวณรายรับจากราคาที่คิดจากสำนักงานท่องเที่ยวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีภาษีอากร: การจำแนกประเภทสินค้า (แจกัน) และสิทธิในการขอคืนภาษี
สินค้าเครื่องประดับบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 หมายความว่าสิ่งของที่ใช้ตกแต่งให้สวยงาม ทำให้บ้านเรือนที่ใช้วัตถุหรือสิ่งของนั้นประดับหรือตกแต่งมีความสวยงามไปด้วย ความสวยงามของวัตถุหรือสิ่งของดังกล่าวตามลักษณะจึงควรเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่มีคุณค่าในตัวเอง มีความประณีต สวยงาม เหมาะสมที่จะใช้ประดับหรือตกแต่งบ้านเลือนเท่านั้น โดยผู้ซื้อมิได้นำไปใช้ตามสภาพเช่นสิ่งของทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในบ้านเรือน ส่วนสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ตามพระราชกำหนดดังกล่าว มีความหมายว่าสิ่งของที่ทำขึ้นใช้การต่าง ๆ ของใช้ เครื่องใช้ไม้สอยเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่ตามลักษณะเหมาะสมสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนเท่านั้น ไม่มีคุณค่าหรือความสวยงามในทางที่จะประดับหรือตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม
แจกันที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วถึง14 นิ้วเป็นเนื้อกระเบื้องหรือวัตถุที่ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีถึงแม้ว่าจะดูแปลกตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิเป็นจุดในเนื้อกระเบื้องราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง จึงไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน ประกอบกับตามสภาพและขนาดของแจกันดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นเครื่องใช้ในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป จึงเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่86) พ.ศ. 2521 ไม่ใช่สินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13
จำเลยรับชำระค่าภาษีไว้จากโจทก์โดยชอบ ต่อมาโจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า แจกันขนาด 6 นิ้วถึง 14 นิ้วที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 69.11 หรือประเภทที่ 69.13 ซึ่งถ้าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 แล้วก็ต้องห้ามนำเข้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โจทก์จึงสามารถนำเข้าได้ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ชำระไว้แก่จำเลยคืน จนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรและหรือโจทก์ส่งแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศ.
แจกันที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วถึง14 นิ้วเป็นเนื้อกระเบื้องหรือวัตถุที่ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีถึงแม้ว่าจะดูแปลกตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิเป็นจุดในเนื้อกระเบื้องราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง จึงไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน ประกอบกับตามสภาพและขนาดของแจกันดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นเครื่องใช้ในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป จึงเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่86) พ.ศ. 2521 ไม่ใช่สินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13
จำเลยรับชำระค่าภาษีไว้จากโจทก์โดยชอบ ต่อมาโจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า แจกันขนาด 6 นิ้วถึง 14 นิ้วที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 69.11 หรือประเภทที่ 69.13 ซึ่งถ้าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 แล้วก็ต้องห้ามนำเข้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โจทก์จึงสามารถนำเข้าได้ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ชำระไว้แก่จำเลยคืน จนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรและหรือโจทก์ส่งแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเภทสินค้า (แจกัน) เพื่อกำหนดสิทธิในการนำเข้าและคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำแจกันขนาดต่าง ๆ เข้ามาในราชอาณาจักร เป็นแจกันที่มีเนื้อกระเบื้องหรือวัสดุที่ใช้ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีแม้แปลก ตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิ เป็นจุด ๆ ในเนื้อกระเบื้อง ราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง ไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน คงมีความเหมาะสมเพื่อใช้ปักดอกไม้อันเป็นการใช้ตามสภาพของแจกันเท่านั้น จึงเป็นสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 มิใช่เครื่องประดับบ้านเรือนตามพิกัดประเภทที่ 69.13 โจทก์นำแจกันเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ต้องห้ามนำเข้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2521 และได้ชำระภาษีประเภทต่าง ๆ ให้แก่จำเลยตามหน้าที่ การที่จำเลยรับชำระภาษีจากโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการรับชำระไว้โดยชอบ ต่อมาจำเลยไม่ยอมตรวจปล่อยแจกันบางส่วนซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่นำเข้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าแจกันพิพาทเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน โจทก์โต้แย้งว่าแจกันนั้นอยู่ในพิกัดตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ดังนี้เมื่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯมิได้ห้ามการนำเข้าซึ่งสินค้าในพิกัดประเภทที่ 69.11 ไว้อย่างเด็ดขาด หากได้รับอนุญาตก็สามารถนำเข้าได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่ชำระไว้คืนจนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำเข้าแจกันดังกล่าว และหรือโจทก์ส่งแจกันนั้นออกไปยังเมืองต่างประเทศ จำเลยจึงยังไม่ต้องคืนเงินค่าภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และเงินประกันค่าภาษีที่รับชำระไว้ให้แก่โจทก์ การที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหานำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จ กับนำของต้องพิกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและสั่งให้คืนแจกันของกลางให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าแจกันนั้นมิได้อยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าแต่จำเลยไม่คืนแจกันแก่โจทก์โดยเห็นว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 69.11 เช่นนี้ความเห็นของพนักงานอัยการและจำเลยยังไม่เป็นยุติ จำเลยจึงยังมีอำนาจตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯที่จะกักแจกันของโจทก์ไว้โดยชอบจนกว่าโจทก์จะได้รับอนุญาตให้นำแจกันนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้หรือจัดการส่งแจกันออกไปยังเมืองต่างประเทศ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมสรรพากรขอเฉลี่ยทรัพย์สิน และการวินิจฉัยหนี้ที่ไม่ชอบของศาล
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล สิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 290
ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่ และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้อง ก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้
ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่ และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้อง ก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระภาษีอากรตามแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้าเกินกำหนด
แถลงการณ์กระทรวงการคลังเรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติมลงวันที่26กุมภาพันธ์2525มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากรโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายหรือหักไว้ไม่ครบถ้วนได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติมหรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใดๆทั้งสิ้นจากข้อความที่ว่าไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้วแต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายโดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่31พฤษภาคม2525นั้นไม่รวมถึงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี2524ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่31มีนาคม2525ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่10มีนาคม2524แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่31มีนาคม2525ตามมาตรา56แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่28พฤษภาคม2525ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา42(9).