พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างทำของ: เจ้าอาวาสมอบอำนาจ & ยอมรับตัวแทนจำเลย
พระครู อ. เป็นเจ้าอาวาสวัด บ. โจทก์ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่าพระครู อ. มอบอำนาจให้ ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจ้างทำของและเรียกค่าเสียหาย เป็นการมอบอำนาจในฐานะเป็นเจ้าอาวาสวัด บ. มิใช่ฐานะส่วนตัว ส่วนเรื่องคณะกรรมการวัดโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยนั้นปรากฏตามสัญญาจ้างทำของว่า เป็นการทำสัญญาระหว่างคณะกรรมการวัดโจทก์ โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจ กับจำเลย จำเลยมิได้โต้เถียงประการใด หลังจากทำสัญญากันแล้ว โจทก์จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องส่งของรับของตลอดจนการชำระเงินแสดงว่าจำเลยยอมรับว่า ส. เป็นตัวแทนวัดโจทก์ จึงเท่ากับเป็นการยอมรับหนังสือมอบอำนาจอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ให้ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม ก่อนออกจากงานมีสาเหตุโต้เถียงกับจำเลยและโจทก์แถลงว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีสาเหตุว่าโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลงว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุ มิใช่เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อดังจำเลยต่อสู้ การกระทำของจำเลยก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างอยู่ในตัวยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยานต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องแสดงเหตุผลการเลิกจ้าง หากไม่มีเหตุผล ย่อมถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งให้โจทก์ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม และแถลงตอบคำถามของศาลแรงงานกลางว่า โจทก์ได้รับค่าชดเชยค่าที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับการบอกกล่าวจากจำเลยครบถ้วนแล้ว ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงเรียกค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ หากฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลง ก็ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว จึงยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน แต่ควรฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างและการลดเบี้ยปรับ: ดุลพินิจของเจ้าของสัญญาและผลกระทบจากสถานการณ์วัสดุก่อสร้างขาดแคลน
มติคณะรัฐมนตรีที่ให้ส่วนราชการเจ้าของสัญญาใช้ดุลพินิจต่ออายุสัญญาให้ผู้รับจ้างตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องปรับเป็นเพียงนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติเท่านั้นหามีผลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาไม่การที่โจทก์เห็นว่าไม่สมควรต่ออายุสัญญาให้จำเลยที่ 1 ยังถือไม่ได้ว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์เป็นไปโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 25/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของชำรุดบกพร่อง: กำหนดอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ จำเลยทำงานไม่เรียบร้อยเป็นเหตุให้พวงมาลัยไม่สามารถบังคับล้อรถได้ รถโจทก์จึงไปชนรถคันอื่นเสียหาย เป็นกรณีการชำรุดบกพร่องอันเกิดจากสัญญาจ้างทำของ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยผู้รับจ้างเสียภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่การชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้าง: สิทธิการรับชำระค่าผลงานที่ทำไปแล้ว แม้สัญญาจะระงับสิ้นไป
เมื่อมีการเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นการงานอันที่โจทก์ได้กระทำและยอมให้จำเลยได้ใช้สิทธินั้น โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้คืนด้วยการใช้เงินตามควรแห่งค่าของผลงานที่ทำไปแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระให้โจทก์กรณีพอถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากผลงานที่ทำไปแล้ว ชอบที่ศาลจะหยิบยกผลของการงานที่โจทก์ทำไปแล้วมาเป็นข้อวินิจฉัยเพื่อให้มีการชดใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระให้โจทก์กรณีพอถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากผลงานที่ทำไปแล้ว ชอบที่ศาลจะหยิบยกผลของการงานที่โจทก์ทำไปแล้วมาเป็นข้อวินิจฉัยเพื่อให้มีการชดใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน vs. จ้างทำของ, สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี, ความรับผิดของนายจ้างและกรรมการ
จำเลยจ้างให้โจทก์ทำงานจนกว่า จำเลยจะหาคนทำงานแทนโจทก์ได้ เป็นเวลากว่า 3 ปี จำเลยจึงหาคนมาทำงานแทนโจทก์ได้ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนี้ โจทก์มิได้ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จให้แก่จำเลย และจำเลยจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นเรื่องโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ในหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบให้ และจำเลยตกลงจะให้สินจ้างเป็นแรงงาน หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ประกอบด้วย ข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ 3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วัน แล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ประกอบด้วย ข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ 3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีก และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วัน แล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของรองผู้จัดการใหญ่ต่อการสูญหายของทรัพย์สิน และขอบเขตค่าชดเชยตามสัญญาจ้าง
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่และรักษาการในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 การที่ปุ๋ยในคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 หายไปโจทก์ให้คนไปสืบได้เพียง 7 วัน จึงยังมิได้รายงานให้คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ทราบ เป็นการใช้ดุลพินิจปฏิบัติหน้าที่ตามที่เห็นสมควรในพฤติการณ์เช่นนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่รับผิดชอบในหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนข้อบังคับและคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือมิได้กระทำการโดยซื่อสัตย์สุจริตตามความในสัญญาจ้าง และหาใช่เป็นเรื่องไม่ดูแลรักษาทรัพย์สินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องวินัยไม่ จึงไม่ผิดวินัยหรือเงื่อนไขในสัญญาจ้างการที่โจทก์แถลงขอเรียกเงินตามฟ้องเพียง 230,000 บาทเห็นได้ว่าโจทก์ติดใจเรียกเงินทุกประเภทรวมทั้งค่าชดเชยด้วยทั้งไม่ติดใจเรียกดอกเบี้ยจากเงินที่กล่าวนี้อีกเมื่อศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจลดเงินที่โจทก์ติดใจเรียกร้องลงมาเหลือเพียง 159,64246 บาท เงินจำนวนนี้จึงรวมค่าชดเชยไว้แล้วนั่นเอง เมื่อเงินจำนวนนี้สูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับตามกฎหมายแล้วโจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าศาลใช้ดุลพินิจลดค่าชดเชยลงให้โจทก์ได้รับต่ำกว่าที่กฎหมายบังคับไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
ฟ้องของโจทก์ซึ่งบรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกน้ำและเป็นผู้มีอาชีพบรรทุกน้ำไปขาย จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. ป. ขับรถยนต์นั้นบรรทุกน้ำไปเพื่อขาย ได้ขับรถยนต์โดยประมาทชน ว. ตาย เป็นการทำละเมิดให้โจทก์เสียหาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับ ป. เป็นฟ้องที่มีข้อหาว่า ป. ลูกจ้างของจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลย ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว แม้จะไม่ได้กล่าวระบุข้อความว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยลงไปด้วย ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. ในขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยอยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้อื่นซึ่งเช่าซื้อไป จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของ ป. และมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หาได้ตั้งประเด็นต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการทำละเมิดของ ป. เพราะ ป. มิได้ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยไม่ การนำสืบของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น รับฟังไม่ได้
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. ในขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยอยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้อื่นซึ่งเช่าซื้อไป จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของ ป. และมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หาได้ตั้งประเด็นต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการทำละเมิดของ ป. เพราะ ป. มิได้ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยไม่ การนำสืบของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีที่บอกเลิกได้ง่าย, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, สิทธิค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบ
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้างออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปี ไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างกำหนดไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์