พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ หากทำกับผู้ไม่มีอำนาจ และผู้ทำละเมิดต้องรับผิดมากกว่าผู้มีส่วนประมาท
การชำระหนี้แก่ผู้ครองทรัพย์ในขณะเกิดเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 441 จะถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้โดยชอบก็ต่อเมื่อผู้ชำระหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นไม่รู้ว่าผู้ที่รับชำระหนี้นั้นไม่ใช่เจ้าของทรัพย์และความไม่รู้นั้นมิใช่เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน เมื่อฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และ ส. พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของจำเลยที่ 2 รู้หรือควรรู้ได้แล้วว่า น. ผู้ขับขี่ควบคุมรถของโจทก์อันถือว่าเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์กระบะนั้น ซึ่งแม้จะอ้างว่าไม่รู้ แต่การไม่รู้นั้นก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของคนทั้งสองเอง การชำระหนี้รวมตลอดถึงการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ น. จึงถือว่าเป็นการชำระหนี้หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบุคคลที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้หรือไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยทั้งกรณีก็ฟังไม่ได้ว่า น. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ดังนี้ สัญญายอมรับในความประมาทของผู้ขับรถทั้งสองฝ่ายจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะมีผลผูกพันโจทก์ได้
แม้ น. จะขับรถไปถึงทางสี่แยกก่อน แต่ก่อนที่จะขับรถผ่านทางแยกนั้นไปก็ควรจะดูให้เห็นถึงความปลอดภัยก่อน การที่รถยนต์กระบะที่ น. ขับไปถูกรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 1 ขับชนทางด้านท้ายขณะกำลังจะผ่านสี่แยกไป เหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ถูกชนก็เพราะ น. ได้ขับรถผ่านสี่แยกไปโดยไม่ดูให้เห็นถึงความปลอดภัยอย่างชัดเจนก่อน จึงมีส่วนประมาทด้วย
แม้ น. จะขับรถไปถึงทางสี่แยกก่อน แต่ก่อนที่จะขับรถผ่านทางแยกนั้นไปก็ควรจะดูให้เห็นถึงความปลอดภัยก่อน การที่รถยนต์กระบะที่ น. ขับไปถูกรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 1 ขับชนทางด้านท้ายขณะกำลังจะผ่านสี่แยกไป เหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ถูกชนก็เพราะ น. ได้ขับรถผ่านสี่แยกไปโดยไม่ดูให้เห็นถึงความปลอดภัยอย่างชัดเจนก่อน จึงมีส่วนประมาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉล เพื่อบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้เนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดมีภาระหนี้จำนองไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองอันเกิดจากการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 เพื่อการใช้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและมีคำขอตอนท้าย ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ตกเป็นของบุตรทั้งสี่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4 ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 9 แล้ว จึงไม่อาจย้อนกลับมาบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4 ได้อีก แต่คำฟ้องและคำขอบังคับถือเป็นคนละส่วนกัน ไม่มีผลทำให้คำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์ในตอนแรกที่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบต้องเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5094/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การทุบรั้วกำแพงถือเป็นการทำลายทรัพย์สินและผิดสัญญา
โจทก์บรรยายคำขอออกหมายบังคับคดีไว้โดยละเอียดถึงข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองว่าได้มีการตกลงกันอย่างไร หากมีการผิดสัญญาจะต้องบังคับคดีกันอย่างไร ทั้งได้ระบุไว้ด้วยว่า "จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว" อันเป็นการกล่าวถึงคำพิพากษาที่จะขอให้มีการบังคับคดี หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ รวมถึงวิธีการที่โจทก์จะขอให้บังคับคดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างไร โจทก์บรรยายไว้โดยละเอียดแล้วตามคำขอออกคำบังคับของโจทก์ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 และโจทก์ประสงค์ให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว ประกอบกับศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งยกคำขอออกคำบังคับลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพียงให้เพิกถอนคำสั่งในการออกคำบังคับเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เนื่องจากได้มีการออกคำบังคับไว้ที่หน้าปกสำนวนในวันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมแล้วเท่านั้น ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่งตอนท้าย ให้อำนาจศาลในการมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ การที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงตามคำขอออกคำบังคับของโจทก์ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 มาประกอบการพิจารณาทำคำสั่งในการออกหมายบังคับคดีจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275 และมาตรา 276
แม้บริเวณที่จำเลยทั้งสองทุบรั้วกำแพงจะอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยทั้งสองและทำเพื่อเป็นทางเข้าออกบริเวณบ้านของตนก็ตาม แต่เมื่อรั้วกำแพงดังกล่าวเป็นของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองทุบรั้วกำแพงดังกล่าวจึงเป็นการทำลายทรัพย์สินของโจทก์
สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 5 ระบุให้จำเลยทั้งสองสร้างทางเข้าออกในบริเวณที่ดินของโจทก์ได้โดยโจทก์ไม่คัดค้าน มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยทั้งสองสร้างทางเข้าออกบริเวณบ้านของจำเลยทั้งสองตามที่สร้างไว้เดิมเท่านั้น มิได้หมายความถึงขนาดให้จำเลยทั้งสองทุบกำแพงรั้วของโจทก์เพื่อสร้างทางเข้าออกเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ ในขณะที่มีทางเข้าออกเดิมอยู่แล้วแต่อย่างใด พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองที่ทำลายทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 โจทก์มีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้บริเวณที่จำเลยทั้งสองทุบรั้วกำแพงจะอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยทั้งสองและทำเพื่อเป็นทางเข้าออกบริเวณบ้านของตนก็ตาม แต่เมื่อรั้วกำแพงดังกล่าวเป็นของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองทุบรั้วกำแพงดังกล่าวจึงเป็นการทำลายทรัพย์สินของโจทก์
สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 5 ระบุให้จำเลยทั้งสองสร้างทางเข้าออกในบริเวณที่ดินของโจทก์ได้โดยโจทก์ไม่คัดค้าน มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยทั้งสองสร้างทางเข้าออกบริเวณบ้านของจำเลยทั้งสองตามที่สร้างไว้เดิมเท่านั้น มิได้หมายความถึงขนาดให้จำเลยทั้งสองทุบกำแพงรั้วของโจทก์เพื่อสร้างทางเข้าออกเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ ในขณะที่มีทางเข้าออกเดิมอยู่แล้วแต่อย่างใด พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองที่ทำลายทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 โจทก์มีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม และการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อพิสูจน์หนี้สิน
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 คือต้องถือหลักตามความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายจะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวไม่ได้ นอกจากนี้ การตีความสัญญาเพื่อให้เห็นถึงการแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรืออักษรตามมาตรา 171 สัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 กำหนดให้บุคคลฝ่ายโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทจากฝ่ายจำเลยไล่เรียงกันไป ก. (โจทก์ในคดีแพ่ง) ท. และโจทก์ ขึ้นอยู่กับการมีชีวิตอยู่ของบุคคลนั้น ๆ ในขณะที่ฝ่ายจำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกพิพาทให้ นอกจากนี้ ข้อ 3 ก็กำหนดให้ฝ่ายจำเลยแบ่งแยกที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ไล่เรียงลำดับกันไปโดยมีเงื่อนไขเดียวกันกับข้อ 2 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายว่าบุคคลฝ่ายโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 เป็นลำดับไป การตีความข้อความตอนท้ายของสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 ที่ว่า "…หากว่าจำเลยที่ 2 (หมายถึงจำเลย) ไม่ไปดำเนินการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากบุคคลภายนอกและโอนให้แก่โจทก์ภายในกำหนดจำเลยที่ 2 (หมายถึงจำเลย) ยินยอมชำระเงินคืนให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)" คำว่า "โจทก์" ดังกล่าว จึงต้องแปลความหมายว่าฝ่ายโจทก์ ซึ่งรวมถึงโจทก์ในคดีนี้ด้วยเนื่องจาก ก. และ ท. ได้ถึงแก่ความตายแล้วก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินคืนแก่โจทก์ 1,000,000 บาท เมื่อจำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (2)
เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์ได้ร้องขอต่อศาลให้บังคับคดีตามคำพิพากษาโดยศาลได้ออกหมายบังคับคดี และโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยพบว่าจำเลยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 มีราคาประเมินเพียง 58,800 บาท ไม่เพียงพอที่จะยึดมาชำระหนี้ได้กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว จำเลยให้การและส่งบันทึกถ้อยคำว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 มีราคาซื้อขายในท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท แต่ไม่ได้ส่งหลักฐานใด ๆ จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว จำเลยไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (1)
แม้จำเลยจะรับราชการตำรวจและเคยเสนอจะโอนที่ดินตีใช้หนี้โจทก์ก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยเสนอตีโอนใช้หนี้นั้นมีราคาประเมินเพียง 58,800 บาท ประกอบกับจำเลยไม่เคยชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์เลย กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์ได้ร้องขอต่อศาลให้บังคับคดีตามคำพิพากษาโดยศาลได้ออกหมายบังคับคดี และโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยพบว่าจำเลยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 มีราคาประเมินเพียง 58,800 บาท ไม่เพียงพอที่จะยึดมาชำระหนี้ได้กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว จำเลยให้การและส่งบันทึกถ้อยคำว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 มีราคาซื้อขายในท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท แต่ไม่ได้ส่งหลักฐานใด ๆ จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว จำเลยไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (1)
แม้จำเลยจะรับราชการตำรวจและเคยเสนอจะโอนที่ดินตีใช้หนี้โจทก์ก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยเสนอตีโอนใช้หนี้นั้นมีราคาประเมินเพียง 58,800 บาท ประกอบกับจำเลยไม่เคยชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์เลย กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามสัญญาประนีประนอมฯ ที่ทำผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย: สัญญาฯ มีผลเสมือนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
เมื่อพิจารณาถึงสัญญาประนีประนอมยอมความประกอบคำร้องและคำคัดค้านแล้วเห็นได้ว่ากรณีเป็นข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน ดังนั้น แม้มีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท ก็สามารถไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านอ้างเกี่ยวกับการขายที่ดินพิพาทว่าเป็นเท็จอันเป็นเหตุของการกระทำอันไม่สุจริตที่กล่าวอ้างเป็นข้อเท็จจริงในส่วนเนื้อหาของข้อพิพาทที่ต้องพิจารณากันในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท แม้ผู้คัดค้านอ้างทํานองว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจําต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้างต้นเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคห้า กําหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันตามมาตรา 61/2 วรรคสี่ มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และในกรณีตามมาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่พิพาทอีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในคดีร้องขอให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 42 ถึง 44 นั้น ไม่ได้ให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความพิสูจน์โต้แย้งข้อเท็จจริงในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และศาลไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าวซ้ำอีก
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านอ้างเกี่ยวกับการขายที่ดินพิพาทว่าเป็นเท็จอันเป็นเหตุของการกระทำอันไม่สุจริตที่กล่าวอ้างเป็นข้อเท็จจริงในส่วนเนื้อหาของข้อพิพาทที่ต้องพิจารณากันในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท แม้ผู้คัดค้านอ้างทํานองว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจําต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้างต้นเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคห้า กําหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันตามมาตรา 61/2 วรรคสี่ มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และในกรณีตามมาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่พิพาทอีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในคดีร้องขอให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 42 ถึง 44 นั้น ไม่ได้ให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความพิสูจน์โต้แย้งข้อเท็จจริงในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และศาลไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าวซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคำนวณหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีอ้างว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าเช่าให้แก่โจทก์ทั้งเก้าครบถ้วน มิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2561 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขการประมาณราคาทรัพย์สินที่ยึดและให้งดหรือชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ก่อน อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาณราคาทรัพย์สินที่ยึดต่ำกว่าราคาประเมินที่บริษัท ฟ. ประเมินไว้ ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยยกคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงเป็นคนละประเด็นกับคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินค่าเช่าทรัพย์สินในตลาดของจำเลยทั้งสอง มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144