พบผลลัพธ์ทั้งหมด 634 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316-1319/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เฉพาะ และการกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาซื้อขายล่าสุดของที่ดินในบริเวณเดียวกัน
ที่ดินของผู้ร้องคัดค้านถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2509 เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลตามความประสงค์ของรัฐบาล และตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถือเอาราคาในวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรายสุดท้ายในบริเวณพุทธมณฑลได้มอบอสังหาริมทรัพย์ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าครอบครองเป็นเกณฑ์คำนวณทุกราย การจัดสร้างพุทธมณฑลนั้นเป็นโครงการของรัฐบาลกำหนดขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป ถือว่าเป็นประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล มีหน้าที่จัดสร้างพุทธมณฑลให้เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คณะกรรมการได้ดำเนินการวางโครงการ แผนผัง หารายได้ และจัดซื้อที่ดินเข้าปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงการ ตลอดจนเสนอรัฐบาลในการแต่งตั้งกรรมการสาขาเพื่อปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วนไป โดยมีข้าราชการสังกัดต่างกระทรวงกันเป็นประธานคณะกรรมการเหล่านั้นทุกคณะ กิจการที่ดำเนินไปเป็นการกระทำในนามของรัฐบาลที่จัดให้ข้าราชการกระทรวงต่างๆ เข้าดำเนินงานรับผิดชอบคณะกรรมการได้แต่งตั้งกรรมการสาขาขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการดำเนินการและประสานงานจัดสร้างพุทธมณฑล มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและคณะกรรมการสาขานี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองอธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะ ให้มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยรับช่วงหน้าที่จากคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลชุดก่อนมา และมีหน้าที่จัดสร้างถนน ขุดคูปลูกต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่คณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามหน้าที่ตลอดมา อันแสดงว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินบริเวณจัดสร้างพุทธมณฑลในส่วนที่ซื้อไว้แล้วเป็นหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ จึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการรับมอบและเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณพุทธมณฑลตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่ากรมใดจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐแห่งนี้ และเงินที่ใช้จ่ายจะได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายชู้ แม้ไม่ได้ฟ้องหย่า: การล่วงเกินในทำนองชู้สาวครอบคลุมการทำชู้
สามีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้โดยไม่ได้ฟ้องขอหย่าภรรยากรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 วรรคแรก แต่สามีมีสิทธิตามวรรคสองของมาตราเดียวกันนี้ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
การล่วงเกินในทำนองชู้สาวมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย
การล่วงเกินในทำนองชู้สาวมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชู้ แม้ไม่ได้ฟ้องหย่า: การล่วงเกินในทำนองชู้สาวครอบคลุมการทำชู้
สามีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้โดยไม่ได้ฟ้องขอหย่าภรรยากรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505วรรคแรกแต่สามีมีสิทธิตามวรรคสองของมาตราเดียวกันนี้ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
การล่วงเกินในทำนองชู้สาวมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย
การล่วงเกินในทำนองชู้สาวมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าทดแทนกรณีภริยามีชู้/ถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ภริยาสมัครใจ และอายุความฟ้องร้อง
กรณีที่ภริยามีชู้หรือมีผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว อันเป็นการกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิของสามีนั้น มีมาตรา 1505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สามีมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้หรือผู้ที่ล่วงเกินนั้นได้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาวโดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสามีตามมาตรา 420 ไม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรกแม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509 (ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรกแม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509 (ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด และสิทธิในการฟ้องร้อง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนตลอดจนจำนวนเงินค่าทดแทน ข้อ 14 นั้น เมื่อคู่กรณี (นายจ้างกับลูกจ้าง) ไม่พอใจคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ก็ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้วินิจฉัยให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างแล้ว นายจ้างมิได้อุทธรณ์ ก็ต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่นั้น จะมาโต้แย้งในชั้นศาลอีกว่าลูกจ้างผู้เป็นโจทก์นั้นไม่ใช่ลูกจ้างหรือโจทก์ประสบอุบัติเหตุเพราะความผิดของโจทก์เองหรือยกเหตุตามประกาศข้อ 15 ขึ้นอ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ในคดีค่าทดแทนแรงงาน หากมิอุทธรณ์ ถือเป็นที่สุด
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนตลอดจนจำนวนเงินค่าทดแทน ข้อ 14 นั้น เมื่อคู่กรณี (นายจ้างกับลูกจ้าง)ไม่พอใจคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ก็ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้วินิจฉัยให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างแล้ว นายจ้างมิได้อุทธรณ์ ก็ต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่นั้น จะมาโต้แย้งในชั้นศาลอีกว่าลูกจ้างผู้เป็นโจทก์นั้นไม่ใช่ลูกจ้างหรือโจทก์ประสบอุบัติเหตุเพราะความผิดของโจทก์เองหรือยกเหตุตามประกาศข้อ 15 ขึ้นอ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาหมั้นและการชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา รวมถึงขอบเขตค่าทดแทนที่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าเลี้ยงดูในวันทำพิธีแต่งงานไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนกันได้ (เทียบฎีกาที่1166/2487).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืน: ศาลต้องวินิจฉัยสถานะเจ้าของก่อนจ่ายเงิน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 28 เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้าน เป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของแต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล ขอให้ยกคำร้องคดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่ และถ้ามีสิทธิวางได้ ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่ แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความเมื่อไม่ตกลงกันก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืนและการรับเงินเมื่อสถานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 28 เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้านเป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของ แต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล ขอให้ยกคำร้อง คดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่ และถ้ามีสิทธิวางได้ ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่ แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความ เมื่อไม่ตกลงกันก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ศาลยังไม่วินิจฉัยสิทธิรับเงิน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ. ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 28. เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน. ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้านเป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของ. แต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม. ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล. ขอให้ยกคำร้อง. คดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่. และถ้ามีสิทธิวางได้. ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่. แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความ. เมื่อไม่ตกลงกัน.ก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท. ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย.