พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทราคากล้วย: การยอมรับหนี้บางส่วน ทำให้ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาลดลง
ตามทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยค้างชำระราคากล้วย450,000 บาท จำเลยฎีกาว่าจำเลยคงค้างชำระอีก 317,776 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าเงินจำนวน 317,776 บาท จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้โจทก์ ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีจำนวน 132,224 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คำร้องมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาล
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองที่ดินของจำเลย ซึ่งโจทก์นำยึดไว้ในอีกคดีหนึ่งเพื่อขายทอดตลาด และผู้ร้องขอให้ขายที่ดินนั้นโดยวิธีปลดจำนองแล้วให้นำเงินที่ขายทอดตลาดได้มาชำระหนี้จำนองก่อน ย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นโดยปลดจำนอง คำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ตามตาราง 1 ข้อ 1 ค. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี: ทุนทรัพย์และข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาในชั้นไหน ต้องถือตามทุนทรัพย์ในคดีเดิม และต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ตามคดีเดิมไม่เกินสองหมื่นบาท ในชั้นบังคับคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี: ทุนทรัพย์กำหนดสิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นคำอุทธรณ์
การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาในชั้นไหน ต้องถือตามทุนทรัพย์ในคดีเดิม และต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ตามคดีเดิมไม่เกินสองหมื่นบาท ในชั้นบังคับคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาคดีเช่าและสัญญาจองซื้อที่ไม่สมบูรณ์
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง จะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
สัญญาจองอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็คือสัญญาซึ่ง จำเลยมีเจตนาจะเช่าอาคารพาณิชย์ของโจทก์อันเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะทำสัญญาจองตึกแถวกันเป็นหนังสือเมื่อข้อความแห่งสัญญาอันเป็นสาระสำคัญยังไม่ได้ตกลงกันหมดทุกข้อ และสัญญายังมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่ตกลงกัน ย่อมนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 จำเลยจะอ้างว่า มีสัญญาจองอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยและอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญานั้นหาได้ไม่
เมื่อพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแล้ว แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องของจำเลยดีกว่าจำเลยเอง คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเพิ่มเติม
สัญญาจองอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็คือสัญญาซึ่ง จำเลยมีเจตนาจะเช่าอาคารพาณิชย์ของโจทก์อันเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะทำสัญญาจองตึกแถวกันเป็นหนังสือเมื่อข้อความแห่งสัญญาอันเป็นสาระสำคัญยังไม่ได้ตกลงกันหมดทุกข้อ และสัญญายังมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่ตกลงกัน ย่อมนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 จำเลยจะอ้างว่า มีสัญญาจองอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยและอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญานั้นหาได้ไม่
เมื่อพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแล้ว แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องของจำเลยดีกว่าจำเลยเอง คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท แม้มีประเด็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่านายหน้าจำนวน 35,000 บาท และเงินค่าขายที่ดินส่วนที่เกินอีก 50,000 บาท รวมเป็นเงิน 85,000 บาทจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดทั้งสองรายการ ต่อมาในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยต่างแถลงรับกันว่า โจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจำนวน 35,000 บาท ไปจากจำเลยแล้ว คงโต้เถียงกันเพียงว่า จำเลยตกลงให้ราคาที่ดินส่วนที่เกิน 50,000 บาทเป็นของโจทก์นอกเหนือไปจากค่านายหน้า 35,000 บาท ด้วยหรือไม่คดีดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท แม้มีประเด็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่านายหน้าจำนวน 35,000 บาท และเงินค่าขายที่ดินส่วนที่เกินอีก 50,000 บาท รวมเป็นเงิน 85,000 บาทจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดทั้งสองรายการ ต่อมาในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยต่างแถลงรับกันว่า โจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจำนวน 35,000 บาท ไปจากจำเลยแล้ว คงโต้เถียงกันเพียงว่า จำเลยตกลงให้ราคาที่ดินส่วนที่เกิน 50,000 บาท เป็นของโจทก์นอกเหนือไปจากค่านายหน้า 35,000 บาท ด้วยหรือไม่ คดีดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย คดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองหมื่นบาท
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกมิได้ เพราะไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์ และการใช้สัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 1 ซึ่งมีราคา 30,000 บาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 และอันดับที่ 2 ถึงที่ 9 รวมราคา 28,680 บาท เป็นของผู้ร้องที่ 2 แม้ผู้ร้องจะตีราคารวมกันมาในคำร้องเป็นจำนวนเงิน 58,680 บาท ก็ถือว่าคดีสำหรับผู้ร้องที่ 1 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เพียง 30,000 บาท คดีสำหรับผู้ร้องที่ 2 มีทุนทรัพย์เพียง 28,680 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ผู้ร้องทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
เอกสารสัญญาเช่าซื้อแม้ผู้ร้องจะมิได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับการตามสัญญาเช่าซื้อหากแต่อ้างมาประกอบพยานบุคคลว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาเพื่อการบังคับคดีเป็นของผู้ร้องโดยเช่าซื้อมานั้นก็จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจริงหรือไม่ ซึ่งต้องพิเคราะห์จากสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้างมา สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดี เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เอกสารสัญญาเช่าซื้อแม้ผู้ร้องจะมิได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับการตามสัญญาเช่าซื้อหากแต่อ้างมาประกอบพยานบุคคลว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาเพื่อการบังคับคดีเป็นของผู้ร้องโดยเช่าซื้อมานั้นก็จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจริงหรือไม่ ซึ่งต้องพิเคราะห์จากสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้างมา สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดี เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากแก้ไขเล็กน้อยในศาลอุทธรณ์ และทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1(ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน) ในจำนวนเงิน 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ร่วมกันรับผิดในจำนวนเงิน30,000 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248