พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดในหนี้ที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่า ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไรต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสองดังกล่าว อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12168/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและสิทธิในการไล่เบี้ยตามส่วน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วจำนวน 17,000,000 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน จำนวน 8,500,000 บาท ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และมาตรา 296เนื่องจากบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตราทั้งสองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10208/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้เป็นทุนในแผนฟื้นฟูและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน โดยคำนึงถึงราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้น
การที่ผู้ทำแผนฟื้นฟูกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน แม้เป็นการหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง แต่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย บัญญัติว่า มิให้นำมาตรา 1119 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้
กรณีมีการชำระหนี้ด้วยหุ้น เนื่องจากราคาที่จดทะเบียนไว้อาจมิได้เป็นราคาที่แท้จริงของหุ้นดังกล่าวในวันที่มีการชำระแก่เจ้าหนี้ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระอันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงอันเจ้าหนี้ได้รับโอนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ความรับผิดของจำเลยทั้งสามตามฟ้องเป็นเพียงผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนเพื่อชำระหนี้เมื่อ ศ. ลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ โดยมิได้นำเงินที่ ศ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์มาหักออกจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรระบุฐานะของจำเลยทั้งสามให้ชัดเจน และแก้ไขความรับผิดของจำเลยทั้งสามให้ถูกต้อง
กรณีมีการชำระหนี้ด้วยหุ้น เนื่องจากราคาที่จดทะเบียนไว้อาจมิได้เป็นราคาที่แท้จริงของหุ้นดังกล่าวในวันที่มีการชำระแก่เจ้าหนี้ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระอันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงอันเจ้าหนี้ได้รับโอนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ความรับผิดของจำเลยทั้งสามตามฟ้องเป็นเพียงผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนเพื่อชำระหนี้เมื่อ ศ. ลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ โดยมิได้นำเงินที่ ศ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์มาหักออกจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรระบุฐานะของจำเลยทั้งสามให้ชัดเจน และแก้ไขความรับผิดของจำเลยทั้งสามให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเรียกร้องจากกองมรดกของผู้ค้ำประกัน การรู้ถึงการตายของผู้ตาย
เมื่อโจทก์ทราบการตายของ อ. ตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง แม้ทางพิจารณาจะไม่ปรากฏว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อใด แต่ปรากฎจากหนังสือแจ้งผลคดีของอัยการจังหวัดพัทลุงว่า วันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ จึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 โจทก์รู้ถึงความตายของ อ.แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกรองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผู้ค้ำประกันหนี้ภาษี หลังผู้ค้างชำระถึงแก่ความตาย
กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของ อ. แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ. จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7234/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 235 และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจคืนหลักประกันแก่ผู้ค้ำประกัน และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินจำนวน 71,000 บาท มาคืนต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์คำพิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้เรียกโฉนดที่ดินอันเป็นหลักประกันคืนจากผู้ค้ำประกัน เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป และให้นำเงินจำนวน 71,000 บาท ที่โจทก์รับไปแล้วมาหักทอนกับค่าเสียหายตามคำพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ค้ำประกัน ต้องถือว่าผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยอุทธรณ์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยไม่สั่งให้ส่งนำเนาอุทธรณ์แก่ผู้ค้ำประกัน จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 235 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาคดีไปโดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้ใหม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด กรณีสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้เดิม
การที่โจทก์และจำเลยที่ 3 แถลงร่วมกันต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่ ถ้าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์และโจทก์แก้อุทธรณ์ในประเด็นอื่นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิด และเปลี่ยนประเภทหนี้ เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และตกลงที่จะผูกพันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้เดิม คือ หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 16 ฉบับ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิด
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิด และเปลี่ยนประเภทหนี้ เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และตกลงที่จะผูกพันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้เดิม คือ หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 16 ฉบับ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6325/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การว่าได้สั่งซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์หลายครั้ง แต่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. และธนาคาร ก. ได้ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์แทนจำเลยที่ 1 เกินกว่าค่าสินค้าที่ได้สั่งซื้อ ถือเป็นคำให้การที่ยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ชำระหนี้หมดแล้ว ซึ่งเป็นการยอมรับในมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ว่าได้ชำระหนี้หมดแล้วเพื่อไม่ต้องรับผิดตามฟ้องภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่ 1 ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าได้ชำระหนี้หมดแล้วอย่างไร เช่นเดียวกัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้การรับว่าทำสัญญาค้ำประกันจริงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้บอกเลิกการค้ำประกันซึ่งโจทก์ได้ยอมรับและให้บุคคลอื่นเข้าค้ำประกันแทนแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 5 ย่อมมีภาระการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อไม่ต้องรับผิด เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามฟ้องเสร็จสิ้นกับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้มีการยกเลิกการค้ำประกันโดยโจทก์รับเอาบุคคลอื่นเข้าค้ำประกันแทนแล้วตามที่มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าไฟฟ้า, การปรับปรุงค่าไฟฟ้าตามสัญญา, การพิสูจน์ความคลาดเคลื่อนของมิเตอร์, ผู้ค้ำประกัน
มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 อ่านค่าการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 คลาดเคลื่อนน้อยกว่าความเป็นจริงเพราะจุดต่อสายของหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงหลวม เป็นเหตุให้มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 หมุนช้ากว่าปกติดทำให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ใช้ไปน้อยกว่าความเป็นจริง เมื่อโจทก์ตรวจสอบพบจุดบกพร่องจึงทำการแก้ไขแล้วเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เหตุที่นอตหลวมเกิดจากการที่พนักงานของโจทก์ขันนอตไม่แน่น เป็นเหตุให้มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 เดินคลาดเคลื่อนช้ากว่าปกติ ทำให้อ่านค่าการใช้กระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 น้อยกว่าที่ใช้ไปจริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แต่การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ตามที่ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าที่ขาดบกพร่องตามที่ใช้ไปจริงให้แก่โจทก์
เหตุที่นอตหลวมเกิดจากการที่พนักงานของโจทก์ขันนอตไม่แน่น เป็นเหตุให้มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 เดินคลาดเคลื่อนช้ากว่าปกติ ทำให้อ่านค่าการใช้กระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 น้อยกว่าที่ใช้ไปจริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แต่การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ตามที่ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าที่ขาดบกพร่องตามที่ใช้ไปจริงให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับขาดสิทธิชำระหนี้, สิทธิไล่เบี้ยผู้ค้ำประกัน/จำนอง, การผิดนัดชำระหนี้, การบังคับจำนอง
ตามข้อตกลงซื้อขายหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนเดือนละ 1,000,000 บาท ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนดอันเป็นการผิดข้อตกลงแล้วเท่านั้น ค่าตอบแทนรายเดือนดังกล่าวจึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้งตามข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าหากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ยังจะต้องดำเนินการเช่นนั้นอีกต่อไปจนสำเร็จ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคหนึ่ง ซึ่งหากเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป คดีได้ความว่า หลังจากพ้นเวลาที่กำหนดคือวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 ยังมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมขาดไป
สิทธิของของโจทก์ที่ 1 ที่จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันนั้นจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 724 เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ได้บังคับจำนองแล้วแต่อย่างใด สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น
สิทธิของของโจทก์ที่ 1 ที่จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันนั้นจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จะไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 724 เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ได้บังคับจำนองแล้วแต่อย่างใด สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น