พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกดอกเบี้ยเงินเพิ่มภาษี: กฎหมายภาษีอากรได้กำหนดโทษปรับ (เงินเพิ่ม) เพียงอย่างเดียว ไม่อำนวยสิทธิให้เรียกดอกเบี้ยเพิ่มได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระจึงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ลูกหนี้จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรและการอุทธรณ์ หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายแล้ว ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้ว มีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้าเพิ่มแล้ว จำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม 10 ฉบับ แต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดง ภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้ กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18 ประกอบด้วยมาตรา 87 (2) แล้วหากโจทก์เห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 30 เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกัน กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากร ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 มาตรา 9
(หมายเหตุ วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2529)
กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกัน กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากร ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 มาตรา 9
(หมายเหตุ วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรและการอุทธรณ์ หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายแล้ว ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้ว มีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้า เพิ่มแล้ว จำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม 10 ฉบับ แต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดง ภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้ กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้วหากโจทก์เห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 30 เสียก่อนเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกัน กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากร ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 มาตรา 9 (หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529)
กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกัน กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากร ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 มาตรา 9 (หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร การอุทธรณ์ และอำนาจกำหนดราคาตลาดของกรมศุลกากร
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้าเพิ่มแล้วจำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม10ฉบับแต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดงภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ประกอบด้วยมาตรา87(2)แล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา30เสียก่อนเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกันกรณีเช่นนี้ตามมาตรา9แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503มาตรา9 (หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การสูญหายของเอกสาร และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุน มิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1 โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยา ส. และเป็นผู้จัดการมรดก ส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุน มิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1 โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยา ส. และเป็นผู้จัดการมรดก ส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การสูญหายของเอกสาร และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่ 1ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่ 1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71(1)
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยา ส.และเป็นผู้จัดการมรดกส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยา ส.และเป็นผู้จัดการมรดกส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'วัตถุก่อสร้าง' ตามกฎหมายภาษีอากร: ทองเหลืองรูปตัวที/แอล จัดเป็นวัตถุก่อสร้างที่ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ.2517 บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 4 บัญญัติว่า 'หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1) ฯลฯ (6) กลอน บานพับ คานเหล็กเหล็กฉากผลิตภัณฑ์โลหะใด ๆ ที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม (4)' กลอน บานพับ คานเหล็ก เหล็กฉาก เป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง แต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอน บานพับ คานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วย ทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่น ๆ ป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้ และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัด ก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่าย ทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับ ดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด 4(6) แห่งบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ.2517 และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ด้าย' ในกฎหมายภาษีอากร กรณีเส้นใยประดิษฐ์ที่ไม่เข้าข่ายด้ายเพื่อทอผ้า และสิทธิคืนเงินภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้าฯบัญชี2หมวด2(9)ระบุว่า'ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้าไม้ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใด'นั้นหมายความว่าสิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นด้ายโดยไม่ว่าผลิตจากอะไรใช้ทอผ้าได้โดยผ้าที่ทอนั้นเป็นสินค้านำออกขายเกิดรายรับเพื่อเสียภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้าได้แล้วย่อมเป็นด้ายตามความหมายดังกล่าวดังเมื่อสินค้าเส้นใยประดิษฐ์พี.โอ.วายของโจทก์โดยปกติในทางการค้าไม่มีการนำไปใช้ทอผ้าและแม้อาจนำไปทอเป็นผ้าในห้องทดลองผ้าที่ทอนั้นก็ขาดคุณสมบัติจำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้สินค้าเส้นใยประดิษฐ์พี.โอ.วายของโจทก์จึงไม่ใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้าไม่ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใดตามความหมายที่ระบุในบัญชี2หมวด2(9)โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา5(8)แห่งพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าว. เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีสุขาภิบาลตามกฎหมายแต่จำเลยได้รับชำระค่าภาษีจากโจทก์ไว้โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บจำเลยจึงมีหน้าที่คืนเงินภาษีนั้นแก่โจทก์จำเลยมีหนังสือลงวันที่17พฤศจิกายน2523ยืนยันว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าและปฏิเสธไม่คืนเงินภาษีที่เรียกเก็บให้แก่โจทก์จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่วันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรวมกันได้ หากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมขาดทุน
กำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือกำไรสุทธิที่คำนวณจากรายได้รายจ่ายจากทุกกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ มิใช่แยกคำนวณเป็นรายกิจการไปและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ต้องคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแยกกัน ดังนั้น รายจ่ายของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงไม่เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ อันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) มาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 บัญญัติว่า ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมที่จะได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่หาตัดสิทธิผู้ได้รับการส่งเสริมที่จะคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิรวมกันโดยไม่นำผลขาดทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิในปีหลังตามบทบัญญัติดังกล่าวอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรเกิดเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราภาษีและประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโจทก์ยื่น รายการเสียภาษีการค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า สำหรับสินค้ารายพิพาทในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ โดยขอวางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับและ ทำหนังสือขอให้นำเรื่องเสนอต่อ คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาเกี่ยวกับอัตราภาษีการค้า ถ้าโจทก์ไม่วางหลักประกันจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปล่อยให้โจทก์นำเข้าซึ่งสินค้ารายพิพาทเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เขียนสั่งการไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ของโจทก์ให้โจทก์วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 แล้วส่งเรื่องให้คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้าสำหรับสินค้า รายพิพาทเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAI LOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAI LOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่