พบผลลัพธ์ทั้งหมด 620 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีผู้ติดยาเสพติดหลังเข้ารับการฟื้นฟู: การพิจารณาผลการฟื้นฟูและการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ส่งตัวจำเลยไปเพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งว่า ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจากจำเลยขาดการทำงานบริการสังคม 12 ชั่วโมง จึงมีมติให้ส่งคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนแล้ว เพียงแต่จำเลยขาดการทำงานบริการสังคม คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงมีความเห็นให้ส่งจำเลยคืนพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ตามมาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงทำนองว่า จำเลยยังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพตามมาตรา 25 จึงเป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง แต่เพื่อมิให้คดีนี้ต้องล่าช้าเกินสมควรหากศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปเลยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุก จำเลยเป็นผู้ติดยาเสพติดและได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายเป็นเวลา 6 เดือน จนผ่านการประเมินในทุกขั้นตอนขณะที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามโปรแกรมที่กำหนด เพียงแต่จำเลยขาดการทำงานบริการสังคมเท่านั้น กรณีมีเหตุสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีในสังคมจึงให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่เพื่อให้หลาบจำจึงให้ลงโทษปรับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษก่อนลดโทษในความผิดหลายกรรมไม่เป็นผลร้าย จำเป็นต้องพิจารณาเจตนาการกระทำผิดและเหตุรอการลงโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์รวมโทษจำคุกของจำเลยทั้งสามสิบกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ จะเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่าลดโทษแต่ละกระทงเสียก่อนแล้วจึงรวมเข้าด้วยกัน เพราะการกำหนดโทษจำคุก 12 เดือน ย่อมมีกำหนดเท่ากับ 360 วัน น้อยกว่าจำนวนวันตามปีปฏิทินที่อาจมีถึง 365 วัน หรือ 366 วัน สุดแล้วแต่ว่าจะเป็นปีอธิกสุรทินหรือปีจันทรคติก็ตาม แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวม 30 กระทง เป็นจำคุก 150 ปี ไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะรวมโทษก่อนแล้วลดโทษเป็นจำคุก 75 ปี หรือลดโทษก่อนแล้วรวมโทษเป็นจำคุก 60 ปี 180 เดือน ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็ต้องลงโทษจำคุกจำเลย 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) การรวมโทษก่อนลดโทษให้แก่จำเลยย่อมไม่เป็นผลร้ายแก่จำเลยจนถึงกับต้องแก้ไขโทษจำคุกจำเลยเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน การยอมความ และเหตุรอการลงโทษในคดีอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในการกระทำความผิดสำเร็จแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดฐานยักยอกในแต่ละครั้งตามที่โจทก์บรรยายฟ้องแล้ว แม้พฤติการณ์และรูปแบบในการกระทำความผิดจะเป็นอย่างเดียวกัน และระยะเวลาในการกระทำผิดไม่ห่างกันมากก็ตาม แต่การที่จำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายในการกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์แต่ละข้อย่อมเป็นความผิดสำเร็จแต่ละครั้งแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องโจทก์แต่ละข้อแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายเนื่องจากได้กระทำทุจริตยักยอกเงินค่าไม้และวัสดุก่อสร้างของผู้เสียหายไป เป็นเงิน 260,597.80 บาท จำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 100,000 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยินยอมให้ผู้เสียหายเรียกเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 10 และยินยอมให้แจ้งความดำเนินคดีฐานทุจริตยักยอกเงินของผู้เสียหาย ดังนี้ ข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่จำเลยรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายในเงินที่จำเลยยักยอกไปและจะชดใช้หนี้ให้ผู้เสียหายโดยวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น ซึ่งมีผลผูกพันกันทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายเนื่องจากได้กระทำทุจริตยักยอกเงินค่าไม้และวัสดุก่อสร้างของผู้เสียหายไป เป็นเงิน 260,597.80 บาท จำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 100,000 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยินยอมให้ผู้เสียหายเรียกเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 10 และยินยอมให้แจ้งความดำเนินคดีฐานทุจริตยักยอกเงินของผู้เสียหาย ดังนี้ ข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่จำเลยรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายในเงินที่จำเลยยักยอกไปและจะชดใช้หนี้ให้ผู้เสียหายโดยวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น ซึ่งมีผลผูกพันกันทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14645/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แม้โจทก์มิได้ขอ
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามสำเนาคำพิพากษาท้ายอุทธรณ์ของจำเลย และตามฎีกาของโจทก์ซึ่งจำเลยไม่ได้แก้ฎีกาให้ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นว่าคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษปรับจำเลย 5,000 บาท อีกสถานหนึ่งและโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี กับคุมความประพฤติจำเลยไว้ โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 และคดีถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ก่อนคดีนี้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ จำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับจำเลยแถลงรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนจำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีก จึงต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ก็ตาม กรณีนี้มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ และไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วยเสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14645/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาท้ายอุทธรณ์ของจำเลยว่า คดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษนั้น ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกและปรับ แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ จึงเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลจากอุทธรณ์ของจำเลยว่า ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก จึงต้องนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้โจทก์มิได้ขอให้บวกโทษก็ตาม ทั้งกรณีมิใช่การพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วยเสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหลังจำเลยถึงแก่ความตาย และเหตุรอการลงโทษ
โจทก์เบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องต่อหน้าศาลผ่านล่ามโดยมีทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ร่วมฟังการเบิกความและถามค้านโจทก์ ต่อมาเมื่อโจทก์ไม่สามารถเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เนื่องจากถึงแก่ความตาย จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุผลสมควร ดังนั้น บันทึกคำเบิกความโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องจึงนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 กรณีหาจำต้องให้คู่ความตกลงกัน จึงจะนำคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังได้ตามมาตรา 237 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12154/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีอาญาที่รอการลงโทษ: ศาลไม่อาจบวกโทษซ้ำหากเคยถูกบังคับโทษในคดีอื่นแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 484/2555 บวกเข้ากับโทษในคดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1959/2555 แล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังแล้วตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก โทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษได้ถูกบังคับโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1959/2555 ของศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีหมายเลขแดงที่ 484/2555 มาบวกโทษซ้ำในคดีนี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาในคดีละเมิดอำนาจศาล ผลกระทบต่อธุรกิจ และการรอการลงโทษ
อำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้นมีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 11 (7) แห่ง พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 เพียงมาตราเดียว อีกทั้งตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นทำนองว่าเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฎีกาแล้วจะกลับมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นสั่งฎีกาไม่ได้ ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกาต่อไปว่า พนักงานอัยการจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่สั่งไม่ฎีกาเป็นสั่งให้ฎีกานั้น จะต้องปรากฏพยานหลักฐานใหม่เพียงพอเห็นได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิด โดยอาศัยเทียบเคียงกับ ป.วิ.อ. มาตรา 147 นั้น เห็นว่า ตามมาตรา 147 แห่ง ป.วิ.อ. เป็นเรื่องผลของการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ซึ่งห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายในชั้นสอบสวน เป็นคนละเรื่องคนละขั้นตอนกับคดีละเมิดอำนาจศาลอันเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง โดยที่มิได้มีผู้ใดเป็นโจทก์ฟ้องคดี ดังนั้น ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยผู้นั้น พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) จึงมอบให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่พิจารณาว่าจะสมควรฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 147 มาเทียบเคียงกับอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) กรณีการสั่งไม่ฎีกาแล้วจะกลับมีคำสั่งให้ฎีกา ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20050/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อเนื่องเมื่อจำเลยกระทำความผิดซ้ำระหว่างรอการลงโทษ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาลงโทษคดีเดิมแล้ว
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 11 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 4 ปี และภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดคดีนี้ แม้คดีก่อนจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ศาลชั้นต้นจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกกับโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ได้ แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี 11 เดือน และคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ จึงไม่มีโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษในคดีก่อนที่จะนำมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้อีก อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาในคดีนี้ และโจทก์แก้ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีก่อน ดังนั้น จึงชอบที่จะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีก่อน ซึ่งเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14102/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อขอรอการลงโทษ แม้ศาลไม่อนุญาต ก็ไม่มีสิทธิถอนเงินคืน
การที่ระหว่างฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอวางเงิน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องของจำเลยให้นัดพร้อมเพื่อสอบถามผู้เสียหายว่าประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่แล้ว ทั้งฎีกาของจำเลยก็อ้างเหตุที่จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เป็นเหตุหนึ่งที่ขอให้ศาลฎีการอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยด้วย เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยเท่ากับศาลฎีกาได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามคำร้องของจำเลยที่ขอวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและศาลฎีกานำข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าวมาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นเพิ่งออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่การวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น เมื่อต่อมาปรากฏตามคำร้องของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้