พบผลลัพธ์ทั้งหมด 559 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพหลังสืบพยาน ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบพยานได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แต่หากจำเลยให้การรับสารภาพหลังสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดดังกล่าว ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงมารับฟังเป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดหลายกระทง ศาลต้องพิจารณาคำรับสารภาพโดยรวมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายหรือรับของโจร และจำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ทุกประการ และบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาต่อท้ายคำให้การของจำเลยว่า อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยเข้าใจดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง และมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมระหว่างข้อความดังกล่าวว่า ฐานลักทรัพย์ หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว จำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยรับว่าจำเลยกระทำความผิดจริง และให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ เพียงขอให้รอการลงโทษเท่านั้น พอแปลความหมายคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของผู้เสียหายหรือรับของโจร การที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมระหว่างข้อความรับสารภาพตามฟ้องว่าฐานลักทรัพย์ ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานใดระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร กรณีจึงพอถือได้ว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์และฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12128/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยที่ 2 จากการรับสารภาพ และข้อผิดพลาดในการรวมโทษของศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง จำคุก 6 เดือน ฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000,000 บาท ฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมโทษจำเลยที่ 1 ทุกกระทงแล้วให้จำคุกตลอดชีวิตและปรับ 2,000,000 บาท แล้วลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำยาเสพติดเข้าประเทศ - การรับสารภาพ - การฟ้องซ้ำ - การนำเข้าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน จำนวน 1.5 หน่วยการใช้ (เม็ด) ติดตัวมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเสพ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างร้ายแรงและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยไม่อุทธรณ์ ส่วนโจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่พอฟังว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปในศาลชั้นต้นมาโต้เถียงใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาด้วย เป็นการไม่ชอบ
การที่จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเดินทางกลับประเทศไทยโดยนำเมทแอมเฟตามีน 1.5 เม็ด เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าเป็นการนำเข้าตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งหมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามามากหรือน้อยหรือด้วยเหตุผลประการใดของจำเลยก็ตาม
การที่จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเดินทางกลับประเทศไทยโดยนำเมทแอมเฟตามีน 1.5 เม็ด เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าเป็นการนำเข้าตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งหมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามามากหรือน้อยหรือด้วยเหตุผลประการใดของจำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน ความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชำเรา ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการอุทธรณ์คัดค้านพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันพรากโจทก์ร่วมที่ 2 อายุ 14 ปีเศษ ไปจากโจทก์ร่วมที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารและกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งมิใช่ภริยาจำเลยทั้งหกโดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเรา อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและจำคุกตลอดชีวิต แม้จำเลยทั้งหกให้การรับสารภาพ โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งหกเพื่อพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดตามฟ้องและศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองจนกว่าจะพอใจว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหมด การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นฝ่ายไปหาจำเลยที่ 1 ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เอง และโจทก์ร่วมที่ 2 ยินยอมให้จำเลยทั้งหกมีเพศสัมพันธ์ เป็นการอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพไม่สมฟ้องนั่นเอง ไม่ใช่เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์อันเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งจะต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4177/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานมีอาวุธปืนต้องพิสูจน์ลักษณะอาวุธและใบอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพ
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ ทั้งมิได้นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18043/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในชั้นพิจารณาคดี และการแก้คำให้การหลังจากการตกลงกับผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยทนายความจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดทำคำให้การให้ และศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสองพร้อมบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ประกอบกับจำเลยทั้งสองแถลงว่าประสงค์ที่จะเจรจาเรื่องยอดหนี้ในส่วนแพ่งและขอผ่อนชำระเงินให้ผู้เสียหาย ขอให้นัดพร้อม ต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองตกลงกันโดยผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท จำเลยทั้งสองขอเวลาหาเงินมาชำระให้ผู้เสียหายสักระยะหนึ่ง ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินให้ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อกระบวนพิจารณากระทำในศาลโดยเปิดเผย จึงเป็นการให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจและมิได้สำคัญผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้จำเลยทั้งสองจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อศาลแล้ว การขอแก้คำให้การจำเลยทั้งสองสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งสอง อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลถ้าเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลเป็นการแก้คำให้การหลังจากที่ได้ให้การรับสารภาพและตกลงกับผู้เสียหายได้แล้ว โดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด ผู้ที่กระทำความผิดที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทราบคือ พ. กับพวก ซึ่งข้ออ้างของจำเลยทั้งสองแสดงว่าจำเลยทั้งสองรู้แต่แรกแล้วว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร ย่อมไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เห็นได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่สามารถหาเงินมาชำระให้ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้ได้เพื่อให้มีการสืบพยานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุสมควร ไม่ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ และคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี มิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยทั้งสองรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การและพิพากษาคดีไปตามคำให้การรับสารภาพจึงชอบแล้ว
ในคดีส่วนแพ่งเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จำนวน 2,060,000 บาท ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงเงินผู้เสียหายไปและผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินคืนจำนวน 2,060,000 บาท แม้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้เสียหายแถลงติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในส่วนแพ่งเป็นเงิน 400,000 บาท ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองเจรจาตกลงกันเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายไม่ได้รับความเสียหายทางแพ่งตามฟ้อง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็แถลงต่อศาลว่าผู้เสียหายยังติดใจให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ขอท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งอีก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยทั้งสองแถลงว่าจะหาทนายความเอง ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม 2554 จำเลยทั้งสองแต่งตั้ง ต. เป็นทนายความ ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง แล้ว ส่วนในวันนัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ต. ขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นอนุญาตก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลขอเลื่อนคดีเพื่อให้จำเลยทั้งสองแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดี แต่จำเลยทั้งสองกลับเจรจาตกลงกับผู้เสียหายเพื่อขอชำระเงินแก่ผู้เสียหายและขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันดังกล่าว ทั้งต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
ในคดีส่วนแพ่งเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จำนวน 2,060,000 บาท ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงเงินผู้เสียหายไปและผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินคืนจำนวน 2,060,000 บาท แม้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้เสียหายแถลงติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในส่วนแพ่งเป็นเงิน 400,000 บาท ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองเจรจาตกลงกันเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายไม่ได้รับความเสียหายทางแพ่งตามฟ้อง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็แถลงต่อศาลว่าผู้เสียหายยังติดใจให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ขอท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งอีก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยทั้งสองแถลงว่าจะหาทนายความเอง ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม 2554 จำเลยทั้งสองแต่งตั้ง ต. เป็นทนายความ ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง แล้ว ส่วนในวันนัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ต. ขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นอนุญาตก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลขอเลื่อนคดีเพื่อให้จำเลยทั้งสองแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดี แต่จำเลยทั้งสองกลับเจรจาตกลงกับผู้เสียหายเพื่อขอชำระเงินแก่ผู้เสียหายและขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันดังกล่าว ทั้งต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพวันกระทำผิดเป็นยุติ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่หลังรับสารภาพต้องห้าม
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันกระทำความผิดของจำเลยย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามฟ้องโจทก์ ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ว่า ตามฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 แต่จำเลยเก็บทรัพย์สินที่ตกจากรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 และศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 จึงเป็นไปไม่ได้ที่วันเกิดเหตุตามฟ้องจะเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลย นั้น จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10415/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญา การพิสูจน์ตัวบุคคล และการเพิ่มโทษ จำเป็นต้องมีการสืบพยานยืนยันข้อเท็จจริง
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาซึ่งหมายถึงจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดในข้อหาที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ได้หมายรวมไปถึงว่า จำเลยรับว่าต้องโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5115/2549 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฟ้องขอให้เพิ่มโทษด้วย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในชั้นฎีกาและการลดโทษกรณีให้ข้อมูลสำคัญช่วยปราบปรามยาเสพติด
จำเลยฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ประการหนึ่ง ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกอีกประการหนึ่ง การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา แม้จะถือว่าเป็นการขอแก้ไขคำให้การจากที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ ซึ่งจำเลยไม่อาจกระทำได้ เพราะการแก้ไขคำให้การจะต้องการกระทำก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง และไม่อาจถือว่าการที่จำเลยยื่นคำร้องนี้เป็นการยื่นคำร้องขอถอนฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 202 ประกอบมาตรา 225 เพราะจำเลยยังติดใจฎีกาในประเด็นการลดโทษและรอการลงโทษจำคุก ทั้งไม่อาจถือว่าเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาด้วยการสละประเด็นบางข้อเพราะพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 แล้ว แต่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริง โดยไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากจำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนแล้ว จำเลยยังให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจำเลยว่า จำเลยรับเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก อ. และจำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุม อ. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนประมาณ 20,000 เม็ด นับเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 สมควรกำหนดโทษจำเลยให้น้อยลง
นอกจากจำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนแล้ว จำเลยยังให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจำเลยว่า จำเลยรับเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก อ. และจำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุม อ. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนประมาณ 20,000 เม็ด นับเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 สมควรกำหนดโทษจำเลยให้น้อยลง