คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรายปีที่มีสิทธิบอกเลิกได้, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, และสิทธิค่ารักษาพยาบาลตามข้อกำหนด
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้าง ออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปีไม่มีผลบังคับอย่าง แท้จริงโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลา การจ้างกำหนด ไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยให้ เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับเงินชดเชย แม้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรง และเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ไม่ใช่เงินชดเชย
คำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงานหมายรวมถึงบุคคลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นใน งานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมโดยได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการและข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงาน มิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507 ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วจำเลยก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องสัญญาจ้าง: ข้อตกลงในสัญญาเหนือมาตรา 601
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้าง ตามที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากันไว้ เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างธรรมดาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร เมื่อโจทก์ลงมือก่อสร้างไปบ้างแล้ว โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา กรณีเช่นนี้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ส่วนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว จำเลยต้องชดใช้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ โดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญาจะเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เว้นแต่ค่าเสียหายจะเรียกได้เฉพาะฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญา เพราะผลงานที่โจทก์ทำให้จำเลยไปแล้วในขณะที่บอกเลิกสัญญาย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยตรง เมื่อผู้อื่นรับจ้างก่อสร้างอาคารต่อไป ผู้รับจ้างรายใหม่ก็ใช้ผลงานที่โจทก์ทำไว้แล้วต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจ้างทำของ และการนับอายุความเรียกร้องค่าจ้าง เมื่อเงื่อนไขการชำระหนี้ไม่เป็นไปตามตกลง
จำเลยว่าจ้างโจทก์ทำแม่พิมพ์ เมื่อค่าจ้างครบหนึ่งแสนบาทจึงคิดบัญชีกันครั้งหนึ่ง หลังจากจำเลยจ้างโจทก์แล้วค้างชำระหนี้ยังไม่ถึงหนึ่งแสนบาท จำเลยไม่ว่าจ้างอีก กลับไปสั่งทำจากที่อื่นแทน ครั้นโจทก์ทวงถามให้ชำระ จำเลยก็ผัดผ่อน ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างทำของ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) บัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี ได้ความว่า เดิมมีข้อตกลงว่า เมื่อค่าจ้างครบจำนวนหนึ่งแสน จึงจะมีการคิดบัญชีและชำระหนี้กัน เมื่อเดือนมีนาคม 2517 โจทก์ติดต่อจำเลยขอเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระเงินเป็นว่าครบ 50,000 บาท ให้คิดบัญชีกันครั้งหนึ่งแต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงด้วย จำเลยได้สั่งทำแม่พิมพ์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนเมษายน 2517 รวมราคาทั้งสิ้น 68,395 บาท แล้วจำเลยงดสั่งทำ กลับไปสั่งทำจากที่อื่น เดือนพฤษภาคม 2517 โจทก์ทราบ จึงได้ทวงให้จำเลยชำระหนี้ เช่นนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยเลิกจ้างและโจทก์ทวงถามเมื่อเดือน-พฤษภาคม 2517 จึงมีผลให้สัญญาจ้างเลิกกัน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเกิดและเริ่มนับอายุความตอนนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2519 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จ: จำเลยผูกพันตามกฎเกณฑ์เดิมตราบเท่าที่ยังมิได้แก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลง อันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้าง เมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่างๆ ดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ทั้งนี้สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว จำเลย ก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จรางวัล: จำเลยผูกพันตามระเบียบที่วางไว้จนกว่าจะแก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดเบี้ยปรับสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างลาศึกษาต่อแล้วไม่กลับเข้าทำงาน ศาลพิจารณาเหตุผลและทางได้เสียของคู่สัญญา
ลานายจ้างไปศึกษาต่างประเทศโดยรับเงินเดือนระหว่างลามีสัญญาว่าถ้าไม่กลับมาทำงานตามเดิมจะคืนเงินและปรับอีก 1 เท่าของเงินเดือนระหว่างลา ศาลลดเบี้ยปรับลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างออกแบบก่อสร้าง: การแบ่งจ่ายค่าจ้างตามงวดงานไม่ใช่เงื่อนไขการทำงานตามมาตรา 602 และการคิดค่าจ้างตามระเบียบวิชาชีพ
จ้างเขียนแบบก่อสร้าง คิดสินจ้างตามระเบียบของสมาคมสถาปนิกแห่งกรุงสยามได้
สินจ้างเขียนแบบที่กำหนดจ่ายตามเวลาที่งานก่อสร้างเสร็จเป็นระยะ ๆ นั้น เป็นเรื่องกำหนดเวลาแบ่งจ่ายสินจ้างตามผลการก่อสร้าง ไม่ใช่กำหนดผลงานเขียนแบบที่คิดเป็นสินจ้างตาม มาตรา602

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย, ความรับผิดชอบทนาย, การยอมความของผู้เยาว์, การลดค่าจ้าง
สัญญาจ้างทนายว่าความกำหนดค่าจ้างเป็นจำนวนเงินแน่นอนมิใช่แบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท ไม่เป็นโมฆะทนายความของจำเลยในคดีที่จำเลยยอมความในศาลกับคู่ความที่เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ถือเป็นการที่ทนายความขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายเพราะถูกฟ้องเพิกถอนการยอมความ ต้องลดค่าจ้างว่าความลงตามสมควร
of 69