คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยมิชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท จำเลยที่ 2 รับซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทนำรถยนต์คันพิพาทไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ทั้งการที่ บ. และจำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทของโจทก์มาจัดไฟแนนซ์กับบริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมาย
แม้ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์จะขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในรถยนต์คันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นออกให้แทนฉบับเดิม ก็เป็นการดำเนินการของนายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นตามที่ได้รับแจ้งข้อความเท็จจากจำเลยที่ 2 ถือว่าใบแทนคู่มือการจดทะเบียนเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนแต่โจทก์ก็มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับได้ตามเดิมศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบ และสิทธิของผู้รับซื้อขายฝากเมื่อผู้ขายไม่ไถ่ถอน
โฉนดที่ดินมีชื่อ บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพีงผู้เดียวโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกับ บ. บ. ยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ท. ทั้งแปลงโดยไม่ชอบ และ ท. นำไปขายฝากกับจำเลยแล้วไม่ไถ่ถอน ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นสิทธิขาดแก่จำเลย แต่โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์จากจำเลยกึ่งหนึ่งโดยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนให้ระหว่าง บ. กับ ท. เท่ากับว่าการโอนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการโอนชอบ ท. ย่อมมีสิทธินำไปขายฝากให้แก่จำเลยได้ จำเลยจึงรับซื้อไว้โดยชอบ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่สามารถบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7500/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติ: ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมาย
คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่อาจขอรับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ หากประสงค์ที่จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ก็ชอบที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เพื่อไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดหลังการขายทอดตลาด ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ
ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 29 บัญญัติว่า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 มาแสดงด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย สำหรับหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ดังกล่าว แม้เจ้าของร่วมคือผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระดังที่มาตรา 18 บัญญัติไว้ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายด้งกล่าวหรือกฎหมายอื่นก็มิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดแต่อย่างใด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยลูกหนี้เพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีไม่มีข้อขัดข้อง เมื่อผู้ร้องได้เข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดรายนี้ก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศดังกล่าว นอกจากนี้ข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศดังกล่าวยังมีผลเป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้ร้องอยู่ในตัวด้วยว่า ผู้ร้องต้องนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องรับผิดชอบชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้แล้ว ก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดรายหนี้ได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหนี้ดังกล่าวหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ
ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 บัญญัติว่า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 มาแสดงด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย มิใช่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าของห้องชุดเป็นผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายแม้เจ้าของร่วมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระตามที่มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะผู้แทนเจ้าหนี้ในอันที่จะรับชำระหนี้ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ขายทอดตลาด จ่ายเงินตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษาตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยเพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อผู้ร้องเข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า หากผู้ร้องประมูลซื้อห้องชุดได้และมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระอยู่ ผู้ร้องยินยอมรับผิดชำระหนี้ที่ค้าง รวมทั้งนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องชำระหนี้ดังกล่าวแทนจำเลยก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้ หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายติดจำนอง: โจทก์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ก่อนจำเลยผ่อนธนาคาร จึงไม่ถือผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทให้จำเลยโดยให้จำเลยผ่อนชำระเงินงวดที่เหลือให้แก่ธนาคารต่อไป จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายครบถ้วนแล้ว ส่วนโจทก์ก็ได้ส่งมอบการครอบครองห้องชุดพิพาทให้จำเลยแล้วเช่นกัน คงเหลือแต่โจทก์ยังมิได้โอนสิทธิในมิเตอร์น้ำประปา มิเตอร์ไฟฟ้า และหมายเลขโทรศัพท์ให้จำเลย ทั้งยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้จำเลยโดยมีกำหนดเวลาในการโอนสิทธิในมิเตอร์น้ำประปา มิเตอร์ไฟฟ้าและหมายเลขโทรศัพท์ให้ภายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ซึ่งการโอนสิทธิดังกล่าวย่อมจะทำได้เมื่อจำเลยได้ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทแล้ว โจทก์จึงต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทให้จำเลยในวันดังกล่าวเช่นกัน เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการชำระหนี้ด้วยกระทำการดังกล่าวภายในกำหนดเวลานั้น จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระหนี้ตอบแทนด้วยการผ่อนชำระเงินให้แก่ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องชุดพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ ผู้ขายไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ผู้ซื้อมีสิทธิไม่รับโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจะซื้อขายอันเป็นการประพฤติผิดสัญญาซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่โจทก์ที่ 1 ทวงถามได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยมีเงินพร้อมที่จะชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ เพราะไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นฝ่ายผิดสัญญาไปได้
สัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า เมื่อมีการชำระเงินงวดสุดท้ายและโอนกรรมสิทธิ์แก่กันแล้ว ผู้จะซื้อ (จำเลย) จะต้องปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ตามที่ตกลงบนที่ดินที่ซื้อมาทั้งหมดให้เสร็จโดยเร็วหรือภายใน 3 ปี นับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อก่อสร้างเสร็จผู้จะซื้อต้องโอนอาคารพาณิชย์ให้ผู้จะขาย (โจทก์ที่ 1) จำนวน 2 คูหา ในราคากึ่งหนึ่งของราคาขาย หากผู้จะซื้อไม่สามารถปฏิบัติได้จะต้องคืนหรือจ่ายค่าชดเชยทดแทนให้แก่ผู้จะขายเป็นเงิน 2,000,000 บาท ตามข้อตกลงดังกล่าวมีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายจำนวน 4 แปลง ในราคา 10,000,000 บาท ให้เสร็จสิ้นไปก่อน เมื่อการซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งไม่ได้ทำขึ้น โดยเหตุซึ่งเป็นเพราะโจทก์ที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย ทั้งไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เงื่อนไขที่ว่าจะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 4 แปลงก่อนจึงไม่สำเร็จโดยเหตุซึ่งไม่อาจโทษฝ่ายจำเลยได้จำเลยย่อมไม่มีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้างจำนวน 2,000,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8966/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้โอนกรรมสิทธิ์ก็ไม่กระทบสิทธิ
โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2513 ในขณะที่ที่ดินของจำเลยทั้งสองยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. เป็นต้นมา เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วก่อนที่ที่ดินของ ป. จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. บิดาของจำเลยทั้งสองในปี 2537 และยกให้เป็นของจำเลยทั้งสองในปี 2545 โดย ป. ไม่ได้โต้แย้งหรือหวงห้ามแต่อย่างใด และปรากฏว่าที่ดินที่ ป. แบ่งขายให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ป. จึงได้บอกให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินของ ป. เป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลให้ฟังได้ว่า ป. มีเจตนาให้โจทก์ใช้ทางพิพาทอย่างเป็นทางภาระจำยอม เพราะมิฉะนั้นโจทก์อาจจะไม่ตกลงซื้อที่ดินจาก ป. ดังนี้ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงหาใช่ใช้โดยถือวิสาสะดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทดังกล่าวเป็นทางเดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แม้ต่อมาภายหลัง ป. จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ ว. บิดาจำเลยทั้งสองและ ว. จะยกให้จำเลยทั้งสองก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภาระจำยอมให้ทางพิพาทของโจทก์สิ้นไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ดำเนินการ
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 26 และมาตรา 27 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ โดยจะต้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาอยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้องแต่อย่างใดไม่ เมื่อหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 (1) (3) โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้มีอำนาจฟ้องได้หากไม่ใช่หนี้เงิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 26 และมาตรา 27 ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นห้ามเฉพาะหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพราะมิใช่หนี้เงิน ไม่อยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้อง และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 (1) (3) ทั้งหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้ การที่จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้ก็มิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
of 56