คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่ไม่ได้รับฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และขอบเขตการพิจารณาของศาลฎีกา
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคน แต่จำเลยบางคนไม่ได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงยังไม่ได้ฎีกาด้วยนั้น แม้ศาลฎีกาจะพิพากษาไม่ลงโทษจำเลยที่ฎีกา แม้เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีก็ตามศาลฎีกาก็ไม่พิพากษาไปถึงจำเลยผู้ที่ยังมิได้ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้ทรัพย์สินเช่า - น้ำหนักสิ่งของเก็บในโกดัง
เช่าโกดังเก็บของเมื่อไม่มีข้อสัญญาว่า เช่าเก็บอะไรน้ำหนักเท่าใด ผู้เช่าก็เก็บของได้เพียงพอควรแก่น้ำหนักของโกดังที่จะทานได้ ถ้าเก็บของเกินน้ำหนักเช่นนั้นแล้วเกิดชำรุดเสียหาย ผู้เช่าต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้ฟ้อง: เหตุผลที่ไม่เพียงพอ และขอบเขตการใช้มาตรา 144 ว.พ.แพ่ง
ป.ม.วิ.แพ่ง ม. 144 จะนำมาใช้แก่เรื่องขอแก้ฟ้องไม่ได้ เพราะ ม.144 ใช้ฉะเพาะการวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือประเด็นข้อหนึ่งข้อใดแห่งคดี การวินิจฉัยคำร้องขอแก้ฟ้องไม่ใช่วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี
โจทก์เคยยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องต่อศาลครั้งหนึ่งแล้ว ศาลไม่อนุญาต โจทก์ยื่นคำร้องแก้ฟ้องแสดงเหตุผลขึ้นมาใหม่ได้
เจ้าพนักงานสอบสวนเข้าใจข้อกฎหมายเรื่องสถานที่เกิดเหตุผิดไป ไม่เป็นเหตุที่จะขอแก้ฟ้องได้
พนักงานเชื่อคำพะยานชั้นสอบสวนอย่างหนึ่ง พะยานเบิกความชั้นศาลอีกอย่างหนึ่ง ไม่เป็นเหตุที่จะขอแก้ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการหมิ่นประมาท: การกล่าวอ้างนอกสถานที่ที่ระบุในฟ้อง ไม่ถือเป็นข้อแตกต่างหากไม่จำกัดขอบเขต
โจทก์บรรยายฟ้องว่าความผิดเกิดที่ถนนแพร่งนรา ตำบลเสาชิงช้าทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดหน้าสำนักงานมิได้เกิดในสำนักงานของโจทก์ดังนี้ จะถือเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องยังมิได้ เพราะฟ้องโจทก์มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเหตุเกิดในสำนักงานของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา
ปัญหาว่า ยางของกลางเป็นของหลวงหรือไม่และจำเลยได้ยักยอกไปจริงหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ปัญหาว่า คดีโจทก์มีเหตุสงสัย ควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาว่า "สำเนาให้โจทก์" นั้นไม่ใช่คำอนุญาตให้ฎีกาได้ เป็นแต่คำสั่งรับฎีกาตามปรกติเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: การเช่าเพื่ออยู่อาศัย vs. เช่าเพื่อประกอบธุรกิจ
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าทั้ง 3 ฉบับควบคุมการเช่าเคหะเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นใหญ่ หากเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมเป็นใหญ่และใช้เป็นที่อยู่ด้วยเป็นส่วนอุปกรณ์แล้ว ไม่อยู่ในความควบคุม
การที่จะรู้ว่าการเช่ารายใดอยู่ในความควบคุมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์วัตถุที่ประสงค์ของการเช่าเป็นรายๆ ไป
การขนของเข้าไปไว้ใต้ถุนทรัพย์ที่เช่าและเข้าไปนอนเฝ้าภายหลังที่สัญญาเช่าสิ้นอายุ และบอกเลิกสัญญาเช่าแล้วนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่มีผิดฐานบุกรุก
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2489

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น และขอบเขตการฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเผาฟืนในเตาเพื่อเคี่ยวนมมีลักษณะน่ากลัวอันตรายแก่คนและห้องแถวและเกิดไฟไหม้หลังคาห้องแถวคิดเป็นเงิน 20 บาทขอให้ลงโทษตามมาตรา 186,187 กฎหมายลักษณะอาญา ศาลพิจารณาเห็นว่า จำเลยควรมีผิดเพียงฐานประมาทตาม มาตรา 201 และโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงการประมาท และไม่ได้อ้างกฎหมายเรื่องการประมาทลงโทษจำเลยไม่ได้(ฎีกาที่ 574/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตีความรัฐธรรมนูญและขอบเขตของกฎหมายที่ใช้ย้อนหลัง
รัฐธรรมนูญมาตรา 62 ซึ่งบัญญัติว่า สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่เป็นข้อบัญญัติตัดอำนาจศาลที่จะตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศาลจึงมีอำนาจตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้
ในการใช้หรือบังคับตามกฎหมายนั้น ศาลย่อมต้องแปลหรือตีความหมายของกฎหมาย หากไม่ให้ศาลแปล ศาลก็ย่อมใช้กฎหมายไม่ได้
รัฐธรรมนูญ มาตรา 14 มีข้อความรับรองถึงเสรีภาพของบุคคลในการต่างๆ ดังระบุไว้นั้น มีความหมายรับรองถึงเสรีภาพในการกระทำด้วย
คำว่ามีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 14นั้นมีความหมายว่า ไม่ให้ใครมาทำอะไรแก่เราและหมายถึงเราจะทำอะไรก็ได้ด้วย หากการนั้นอยู่ภายในบังคับของกฎหมาย
คำว่าภายในบังคับแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 14 นั้นหมายถึงว่าไม่มีกฎหมายห้ามไว้ โดยตรงหรือโดยอ้อม และหมายถึงบทกฎหมายที่มีอยู่ในเวลานั้น ไม่ใช่หมายถึงบทกฎหมายที่จะมีมาภายหน้า
กฎหมายใดบัญญัติย้อนหลัง ลงโทษการกระทำ การเขียนการพูดฯลฯ ที่แล้วมา ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 14 กฎหมายนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ จะใช้บังคับไม่ได้
พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามเฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังนั้น ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 14 จึงเป็นโมฆะส่วนบทบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำหลังจากใช้พระราชบัญญัตินี้แล้ว เป็นอันใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์
สภาผู้แทนราษฎรอาจออกกฎหมายย้อนหลังได้ต่อเมื่อกฎหมายที่ให้ย้อนหลังนั้น ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่นพระราชบัญญัติงบประมาณ
ศาลเป็นผู้มีอำนาจที่จะชี้ขาดกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามอย่างเดียว เมื่อศาลเห็นว่า จะลงโทษตามพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามไม่ได้แล้ว ก็ไม่ต้องพิจารณาว่า จำเลยจะมีความผิดตามกฎหมายอื่นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกา: โจทก์ฎีกาเฉพาะประเด็นเดียว ศาลฎีกาไม่ต้องพิจารณาประเด็นอื่น
ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุ 2 ประการต่างหาก โจทก์ฎีกาคัดค้านแต่เหตุเดียวย่อมไม่มีทางชนะคดีได้ศาลฎีกาจึงไม่ต้องพิจารณาเหตุที่โจทก์ฎีกาว่าจะฟังได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อทอดตลาดต้องทราบขอบเขตที่ดิน หากรู้ว่าเป็นที่ดินของผู้อื่น แม้จะซื้อได้ก็ไม่มีสิทธิ
ประกาศขายทอดตลาดอันดับ 2 กล่าวถึงที่ดินและความกว้างยาวทุกด้านประกาศอันดับ 3 กล่าวถึงห้องแถวที่ขายซึ่งระบุว่าปลูกอยู่ในที่อันดับ 2 และว่าอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย จำเลยรับซื้อทอดตลาดทั้งสองอันดับ ดังนี้แม้จะปรากฏว่าที่ของโจทก์อยู่ในเขตอันดับ 2 จำเลยก็เอาที่ของโจทก์ไม่ได้ เพราะรู้ได้ตามอันดับ 3 แล้วว่าที่เป็นของโจทก์
โจทก์ทำให้ประกาศขายทอดตลาดมีปัญหา จำเลยจึงจะเอาที่ของโจทก์ดังนี้นับว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดอยู่ด้วย ศาลไม่ให้โจทก์ได้ค่าเสียหายได้
of 66