คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์เมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และประเด็นการเป็นทายาท
ที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท แต่ปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ให้แก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่นๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นการฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์: มูลค่าทรัพย์สินและข้อพิพาทเรื่องมรดก
คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีอาญา: การพิจารณาโทษและข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามคำฟ้องว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ ตามป.อ. มาตรา 83, 339, 340 ตรี มีระวางโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาทุนทรัพย์อุทธรณ์ในคดีครอบครองที่ดินเป็นส่วนๆ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้โจทก์ทั้งสามร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งสามจะถือราคาที่ดินทั้งแปลงเป็นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 50,000 บาท และอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8639/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีแชร์ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าแชร์ 2 วง การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกานั้น ต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญา เมื่อแชร์แต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกัน การผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่งด้วย โจทก์จึงสามารถแยกฟ้องจำเลยได้ตามข้อหาของการผิดสัญญาเป็นสองคดี เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับการเล่นแชร์แต่ละวงมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานการกู้ยืมและข้อจำกัดการนำสืบการใช้เงิน
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดโทษตามฟ้อง: แม้มีเจตนาทำร้าย แต่คำฟ้องไม่ระบุอาการบาดเจ็บสาหัส ศาลต้องลงโทษตามที่ฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร อีกทั้งตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ซึ่งแนบมาท้ายคำฟ้องและถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้าย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้เพียงตาม ป.อ. มาตรา 295 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องไม่ยื่นโดยตรงต่อศาลฎีกาหากมีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงไม่เป็นประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่มีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดินและผลของการแจ้งความเพื่อเรียกร้องสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่ ท. โดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10990/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท – ปัญหาการฎีกา – ข้อจำกัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียงปรับบทลงโทษเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้จำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฆ่าผู้ตายก็เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์ การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดนั้น แม้การฆ่าจะกระทำในสถานที่ต่างกัน แต่ก็กระทำเพียงวัตถุประสงค์เดียวกัน และกระทำในเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องกันจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบท
of 55