พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การใช้สิทธิของผู้อื่นย่อมไม่ชอบ
สิทธิในการยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาเป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละฝ่าย โจทก์ร่วมจะถือเอาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตขยายระยะเวลาฎีกาให้โจทก์ เป็นสิทธิของตนยื่นฎีกาของโจทก์ร่วมคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องล้มละลายหลังโอนสิทธิเรียกร้อง: โจทก์ยังสามารถดำเนินคดีได้จนกว่าจะมีการสวมสิทธิ
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 10 แม้ภายหลังยื่นคำฟ้องโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางก็ตาม แต่ตราบใดที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ยังมิได้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน โจทก์ซึ่งยังอยู่ในฐานะคู่ความ ก็ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ต่อไปเท่าที่จำเป็นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน และแม้โจทก์จะมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ตาม ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ อนึ่ง หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ศาลล้มละลายกลางก็ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริษัททรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ย่อมมีฐานะเป็นคู่ความชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อไปได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี: ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นการถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 และเจ้าหน้าที่ศาลได้รายงานผลการส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ว่า ส่งไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมแล้ว พร้อมทั้งได้เสนอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าศาลชั้นต้นทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ดังนั้น ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และดำเนินการเพื่อให้มีคู่ความเข้าแทนที่คู่ความที่ถึงแก่กรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คืนศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อสั่งเกี่ยวกับกรณีที่จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมและมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นไม่มีคำสั่งประการใดตามที่เจ้าหน้าที่ศาลเสนอรายงานผลการส่งหมายแจ้งนัดดังกล่าวและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไป แม้ในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะมีผู้ที่จำเลยทั้งสองเคยแต่งตั้งให้เป็นผู้รับมอบฉันทะของจำเลยทั้งสองได้มาฟังคำพิพากษาแทน แต่ศาลชั้นต้นทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมแล้วและยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยมิได้ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ของศาลชั้นต้น จึงไม่ชอบ ต่อมาเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นฎีกาได้ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 จะยื่นฎีกาได้ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่ยกเหตุโมฆะในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้องใหม่
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8977/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเป็นคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จต้องเป็นการกระทำในฐานะพยาน ไม่ใช่คู่ความในกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง
องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จ ต้องเป็นการเบิกความเท็จในกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยศาลในคดีที่ต้องฟังคำพยานเพื่อวินิจฉัยประเด็นตามอำนาจหน้าที่ และการเบิกความหมายความถึงการกระทำของพยานบุคคล มิได้หมายความถึงคำแถลงหรือคำให้การในฐานะคู่ความหรือของผู้อื่น ที่ไม่ได้กระทำในฐานะพยาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 59 การนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้คู่กรณีตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปและส่งสรุปข้อเท็จจริงนั้นให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าก่อนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้เบิกความแถลงในวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ก็เป็นการยืนยันหรือหักล้างเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปและส่งให้คู่กรณีทราบล่วงหน้า เป็นการกระทำในฐานะที่เป็นโจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง มิได้กระทำในฐานะพยานบุคคล การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดกเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งมิใช่อิสลามศาสนิก
คดีเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาทโดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิก การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านมีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิไช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล จึงต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาจำกัดเฉพาะคู่ความที่ศาลรับฟ้องแล้ว
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อต่อสู้คดีกับผู้ร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านซึ่งมีผลเป็นการไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความ แม้ผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำคัดค้านดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนั้นในขณะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ผู้คัดค้านมิใช่คู่ความ จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุเวลาในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ไม่ได้ทำต่อหน้าคู่ความ
ป.วิ.พ. มาตรา 48 (3) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งสถานที่ วัน เวลา ที่ศาลนั่งพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แต่กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ได้กระทำต่อหน้าคู่ความ และต้องส่งรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นทำการอ่านแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่ต้องระบุเวลาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในช่องที่ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานกระบวนพิจารณาที่ไม่สมบูรณ์ ไม่กระทบกระบวนการพิจารณา หากคู่ความไม่โต้แย้ง
ป.วิ.พ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใด หรือบุคคลใดจะต้องลงลายมือชื่อในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารใดเพื่อรับรองการอ่านหรือการส่งเอกสารเช่นว่านั้น (2) ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวแล้ว ลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ตามบทบัญญัติดังกล่าว การลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเป็นการแสดงการรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีในครั้งนั้น ๆ การที่คู่ความไม่ลงลายมือชื่อ และศาลไม่ได้จดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อย่อมมีผลทำให้รายงานกระบวนพิจารณาในครั้งนั้น ๆ ใช้ไม่ได้เท่านั้น แต่ไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลโดยชอบต้องเสียไปเพราะเหตุดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นละเลยไม่ได้จดแจ้งเหตุที่ทนายจำเลยร่วมไม่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงนับว่าเป็นความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง หาทำให้กระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นโดยชอบต้องเสียหายไปเพราะเหตุดังกล่าว อีกทั้งไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยร่วมได้โต้แย้งคัดค้านการที่โจทก์ทั้งหกและจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน นอกจากนั้น หากทนายจำเลยร่วมเห็นว่า ทนายจำเลยร่วมไม่เคยแถลงขอถอนคำร้องจากการเป็นจำเลยร่วมและการที่ศาลชั้นต้นจดแจ้งรายงานกระบวนพิจารณาไม่ตรงกับความเป็นจริงอันจะถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทนายจำเลยร่วมก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างภายใน 8 วัน หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้แก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่ทนายจำเลยร่วมก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงต้องถือว่า ทนายจำเลยร่วมแถลงขอถอนคำร้องจากการเป็นจำเลยร่วมแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตจำเลยร่วมจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีอีกต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งหกและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมกัน ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องสอบถามถึงความยินยอมจากจำเลยร่วม ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์ทั้งหกและจำเลยก็มิได้กระทบกระทั่งถึงสิทธิในกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยร่วมแต่อย่างใด