พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9688/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยต้องพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ก่อนจึงจะรับผิดชอบได้
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกสิบล้อ เฉี่ยวชนกับรถแท็กซี่ ซึ่งมีนาย ส. เป็นผู้ขับและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1 ขับชนท่อประปาของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์เสียค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเป็นเงิน 92,347 บาท การที่จำเลยทั้งห้าจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังได้ว่า เหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือนาย ส. แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ยังคงต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าว เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าเหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเป็นเหตุในลักษณะคดีจึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9449/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับธุรกิจให้เช่ารถยนต์: มูลค่าต้นทุนรถยนต์หลังหักค่าเสื่อมราคา
มาตรา 65 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ... (20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ. ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 มาตรา 4 บัญญัติว่า รายจ่ายต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (1) มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท และมาตรา 5 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 4 (1) ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายที่เกิดจากซื้อหรือการเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในกรณีที่... (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ มีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์และซื้อรถยนต์มาเพื่อการให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้ เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ การที่โจทก์นำมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนและมีไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาท มาทยอยหักเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น
โจทก์ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์และซื้อรถยนต์มาเพื่อการให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้ เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ การที่โจทก์นำมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนและมีไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาท มาทยอยหักเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ตกเป็นของผู้อื่นก่อนถูกใช้ในความผิด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืน
คดีหลักโจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามกฎหมาย รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คดีนี้จึงมิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยก่อน
เมื่อผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลาง โดย ว. ชำระราคารถยนต์ของกลางครบถ้วนและได้รับมอบรถยนต์ของกลางแล้วก่อนวันที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด จึงเป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกไปเป็นของ ว. แล้ว นับแต่วันที่ผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลางกัน แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนจากชื่อผู้ร้องเป็นชื่อ ว. การซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะรายการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ดังนี้ขณะเกิดเหตุผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
เมื่อผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลาง โดย ว. ชำระราคารถยนต์ของกลางครบถ้วนและได้รับมอบรถยนต์ของกลางแล้วก่อนวันที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด จึงเป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกไปเป็นของ ว. แล้ว นับแต่วันที่ผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลางกัน แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนจากชื่อผู้ร้องเป็นชื่อ ว. การซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะรายการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ดังนี้ขณะเกิดเหตุผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การกำหนดค่าเสียหายกรณีรถหายโดยมิใช่ความผิดผู้เช่าซื้อ ศาลฎีกาแก้ไขค่าเสียหายให้เหมาะสม
โจทก์บรรยายคำฟ้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย และโจทก์เรียกให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 ตามคำฟ้องของโจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายใด ๆ อันเนื่องมาจากความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อในกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยเป็นความผิดของจำเลย แต่ได้ความจากทางพิจารณาว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยมิใช่ความผิดของจำเลย เป็นเรื่องของการรับฟังข้อเท็จจริงซึ่งศาลจะนำมาวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 ดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายโดยมิใช่ความผิดของจำเลยและกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำฟ้องของโจทก์ มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์เป็นสินสมรสหรือไม่ และการแบ่งทรัพย์สินที่ดินที่ขายฝาก/ขายไปแล้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (2) หมายถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่โดยสภาพเป็นสิ่งเฉพาะสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพของคู่สมรสฝ่ายนั้นเท่านั้น รถยนต์ที่โจทก์จำเลยซื้อมาระหว่างสมรสเพื่อความสะดวกในการรับส่งบุตรไปโรงเรียน ภายหลังจำเลยนำมาใช้รับจ้างส่งนักเรียน แสดงให้เห็นว่ารถยนต์เป็นทรัพย์ที่มิได้มุ่งหมายใช้ในการประกอบอาชีพรับจ้างแต่เพียงประการเดียว รถยนต์จึงเป็นสินสมรสมิใช่สินส่วนตัวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของตัวการและตัวแทนจากการประมาททางรถยนต์
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้าง หรือตัวแทน หรือผู้ถูกจ้างวานใช้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยในขณะกระทำการในทางที่จ้างให้จำเลยที่ 2 หรือกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้กระทำการแทน และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าตนเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนขับรถยนต์ไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้กระทำ และถือเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้ เช่นนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาท จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์คู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับเหตุผล - ค่าขาดราคาเช่าซื้อรถยนต์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าขาดราคาจากการขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าค่าเช่าซื้อรถได้รวมดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้ล่วงหน้าตามระยะเวลาค่างวดเช่าซื้อมิใช่มีแต่ราคารถเพียงอย่างเดียว จึงเอาค่าเช่าซื้อค้างชำระมาเป็นเกณฑ์เรียกราคารถพิพาทไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ารถพิพาทที่แท้จริงมีราคาเท่าไร เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้เป็นเงิน 57,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าขาดราคาเช่าซื้อจากการขายทอดตลาดเพียงแต่ศาลชั้นต้นลดจำนวนเงินที่โจทก์ขอมาลงเหลือ 57,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้แก้ไขคำพิพากษานั้น จึงเป็นการขอแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาและถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งที่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่จะมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อผิดหลงเช่นว่านั้นให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดและขอบเขตความรับผิดของเจ้าของรถ
การวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งสำหรับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 และเมื่อคดีอาญารับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ปอ. มาตรา 390 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ที่ 2 ว่าเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 2 มีส่วนประมาทด้วยเมื่อความประมาทเกิดจากโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับจึงต้องตกเป็นพับ
เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลและเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นคู่ความในคดี โจทก์ที่ 1 ยังคงกล่าวอ้างได้ว่าโจทก์ที่ 2 มิได้มีส่วนประมาทในเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกัน แต่กรณีรถยนต์เฉี่ยวชนกันเป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ที่ 1 ทั้งนี้ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลและเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นคู่ความในคดี โจทก์ที่ 1 ยังคงกล่าวอ้างได้ว่าโจทก์ที่ 2 มิได้มีส่วนประมาทในเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกัน แต่กรณีรถยนต์เฉี่ยวชนกันเป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ที่ 1 ทั้งนี้ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14208/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอรถยนต์คืนจากสัญญาเช่าซื้อที่เป็นโมฆะ ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ข้อเท็จจริงฟังยุติว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่เพราะโจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ซึ่งต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหาก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์ย่อมอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 ได้ โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่โจทก์เรียกรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องพิจารณาความประมาทของทั้งสองฝ่ายตามกฎหมายแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาคงมีเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาท ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ และใครประมาทมากกว่ากันอันเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยและจำเลยได้อุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ และบทบัญญัติอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดมูลหนี้ละเมิดขึ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 442 วางหลักให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนแค่ไหน เพียงใดนั้น ศาลย่อมที่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่นำสืบมาว่าฝ่ายจำเลยหรือผู้ตายประมาทมากน้อยกว่ากันอย่างไรและเพียงใดด้วย จึงจะเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย