คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับสารภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 559 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงใหม่หลังรับสารภาพขัด พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง/อาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 6 ซอง น้ำหนักสุทธิ 6.859 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6.655 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อันต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา โดยไม่ปรากฏว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฎีกาของจำเลยที่ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางไม่สามารถนับได้เป็นจำนวนหน่วยการใช้และโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องฟังเป็นคุณว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ และเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในชั้นศาลและการโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ว่ากันมาแล้ว เป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดซึ่งมิใช่เป็นคดีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ผู้เสียหายทั้งสองมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้เสียหายทั้งสองขอชำระหนี้รายนี้ได้อีกก็มิได้หมายความว่าผู้เสียหายทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามเช็คได้ระงับและสิ้นผลผูกพัน จึงหาได้ทำให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นอันเลิกกัน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7135/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและขอบเขตความผิดฐานบุกรุกทำไม้ในเขตป่าสงวน การลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้ว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพของจำเลยว่ามีเจตนากระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมา จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยและมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มตรา 15
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษคดียาเสพติด: การรับสารภาพและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องมีผลต่อการจับกุมผู้กระทำผิดรายอื่นจึงจะลดโทษต่ำกว่าขั้นต่ำได้
แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ก็เป็นเพียงเหตุบรรเทาโทษที่ศาลสามารลดโทษให้ได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ส่วนที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยซัดทอดว่าได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 และต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ให้การในรายละเอียดของคดีเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ก็เป็นคดีเดียวกันกับที่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งโจทก์มีพยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อยู่แล้ว การที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่นำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่น หรือนำไปสู่การยึดได้ยาเสพติดให้โทษอีกจำนวนหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของกลางคดีนี้ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากที่เกิดเหตุ กรณีของจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
การใช้ดุลพินิจลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 52 (2) นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละคดีเป็นการเฉพาะ เนื่องจากข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไม่เหมือนกัน แม้เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเช่นเดียวกันก็ตาม ข้อเท็จจริงในคดีอื่นไม่อาจนำมาใช้แก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6371/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา, การรับสารภาพ, และดุลพินิจศาลในการลงโทษ
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 ความผิดทั้งสองฐานมีอายุความหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษตามกฎหมาย และศาลแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าเมทแอมเฟตามีน 3,985 เม็ด ที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์จำนวนเท่าใด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าเมทแอมเฟตามีน 3,985 เม็ดมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์จำนวนเท่าใด และจะคำนวณตามรายงานการตรวจพิสูจน์เทียบเคียงว่า เมทแอมเฟตามีน 5,185 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 142.226 กรัม เมทแอมเฟตามีน 3,985 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินกว่า 20 กรัม หาได้ไม่ ต้องถือว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ปรากฏว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้หากโจทก์ไม่สืบพยาน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าทำให้ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ช.เสียหาย ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ จำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องใจความว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตนิคมท้ายเหมืองที่บริษัท ง. ได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ เมื่อหมดอายุประทานบัตรแล้วบริษัท ง. และโจทก์มิได้ทำประโยชน์ในที่ดิน ที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกของ ช. จำเลยทั้งห้าเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเนื่องจากไม่มีที่ทำกิน และมุ่งหวังจะได้สิทธิการเช่าที่ดินจากนิคมท้ายเหมือง ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ทนายโจทก์แถลงขอเลื่อนคดีเนื่องจากคดีอยู่ระหว่างตกลงเรื่องค่าชดเชยในการขนย้ายให้จำเลยทั้งห้าและทำแผนที่ ต่อมาคู่ความแถลงว่าคดีไม่สามารถตกลงกันได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งห้าตามฟ้อง จำเลยทั้งห้าฎีกาขอให้รอการลงโทษ ดังนี้ เมื่ออ่านคำให้การของจำเลยทั้งห้ารวมกับคำร้องที่ยื่นมาพร้อมกับคำให้การแล้ว จะเห็นได้ว่าจำเลยทั้งห้ายังคงโต้แย้งว่าที่ดินตามฟ้องมิใช่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ช. เหตุที่จำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพอาจเป็นเพราะคดีอยู่ระหว่างเจรจาว่าจะมีการชดใช้ค่าขนย้ายให้แก่จำเลยทั้งห้าตามที่ทนายโจทก์แถลง และจำเลยทั้งห้าอาจเข้าใจว่าการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความผิด คำให้การของจำเลยทั้งห้ายังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การที่รับสารภาพว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำความผิดจริงตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานคดีจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน การรับสารภาพไม่ชอบ ศาลยกฟ้องได้ แม้จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาและภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 คือวันที่ 6 ธันวาคม 2547 ถึงวันเวลาในฟ้องข้อ 2 คือวันที่ 6 ธันวาคม 2548 อันเป็นวันที่จำเลยถูกจับกุมได้พร้อมทรัพย์ของกลางที่ถูกคนร้ายลักไป จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 1 มิถุนายน 2548 จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยอาจกระทำความผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้อง เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง การที่จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานรับของโจร จึงเป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดียาเสพติด จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด แม้จำเลยรับสารภาพ
ความใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะที่พิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ในคดีที่มีอัตราโทษสูงนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องฟังพยานโจทก์ให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงเสียก่อน โจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบยืนยันว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นจริง มิใช่เป็นเพียงการรับสมอ้างว่าเป็นผู้กระทำความผิดนั้นแทนบุคคลอื่นการนำพยานบุคคลซึ่งรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยหรือพยานบุคคลที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอันจะแสดงให้ศาลเห็นว่าจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้หรือเสแสร้งเพื่อให้ผู้กระทำความผิดอื่นพ้นผิด คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างส่งเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.11 ต่อศาล แต่พยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อโจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเลย ลำพังเพียงพยานเอกสารดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง แต่ได้ความตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์ยังติดใจสืบพยานอีก 2 ปากแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก ดังกล่าว โดยเห็นว่าจำเลยทั้งสองยอมรับแล้วว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก เป็นผู้จับกุม มีข้อความตามเอกสารหมาย จ.9 ถึง จ.11 แล้ว การที่ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ จึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ เมื่อพยานโจทก์ปากผู้จับกุมเป็นพยานที่สำคัญและจำเป็นเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานโจทก์ไปจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญา รวมถึงการเพิ่มโทษจากคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 240, 244 และ 341 เมื่อปรากฏว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป โจทก์จึงต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าว แต่ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และ 351 ไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน จึงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้
of 56