คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการใช้พื้นที่ก่อนมีกฎกระทรวง: โจทก์มีสิทธิฟ้องขอค่าทดแทนได้ แม้มีกฎกระทรวงออกภายหลัง
โจทก์และจำเลยทำบันทึกความเข้าใจให้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทันที เพื่อใช้ประโยชน์ใต้พื้นดินที่จะก่อสร้างในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีการเวนคืน โดยตกลงกันให้สิทธิแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินนำคดีไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าเสียหายและเงินค่าทดแทนเนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาใช้บังคับ ดังนั้น บันทึกข้อตกลง จึงเป็น "ข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น" ตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ.2540 แม้ต่อมาในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนแล้วก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นผลไป โจทก์ไม่จำต้องกลับไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎกระทรวงออกมาภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตรต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกจำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 นว วรรคสอง ต้องเป็นผู้ที่เสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากการที่มีบุคคลอื่นเป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรนั้นโดยตรง
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบกับมาตรา 36 (2) บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ทรงอนุสิทธิบัตรในกรณีอนุสิทธิบัตรกรรมวิธีโดยให้ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าและจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลสุขภาพ ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของจำเลย ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งหนังสือโฟมที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยโดยตรงแต่อย่างใด อนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่มีผลกระทบต่อการประกอบการเพื่อแสวงหาประโยชน์ในกิจการตามปกติของโจทก์ การซื้อหนังสือโฟมมาใช้เป็นของแถมแจกควบคู่ไปกับสินค้าอาหารเสริมของโจทก์ แม้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการขายสินค้าของโจทก์ แต่การแถมหรือแจกมิใช่การขายหนังสือโฟม และโจทก์ก็ไม่ได้ประกอบกิจการขายหนังสือโฟม การคงมีอยู่ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทบต่อสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ในกิจการตามปกติของโจทก์โดยตรงอันจะถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20075/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้ร่วมทุนซื้อหวยโดยข่มขู่ ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายทั้งสองนำเงินที่จะซื้อหวยมาทำพิธีทาน้ำมันตาทิพย์ก่อนจึงจะแทงหวยถูก เมื่อผู้เสียหายทั้งสองนำเงินใส่บาตรเพื่อให้จำเลยทำพิธี จำเลยไม่คืนเงินให้โดยแจ้งว่าขอให้นำเงินดังกล่าวร่วมทุนกับทางวัดเพื่อไปซื้อหวย ความจริงผู้เสียหายที่ 1 ไม่ยินยอม แต่กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ตนและบุตรชาย แสดงว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะมอบเงินให้จำเลยไปซื้อหวยให้ เพราะสามารถซื้อเองได้อยู่แล้ว ผู้เสียหายทั้งสองจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธิร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยกับพวกได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16129/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างผู้เสียหายและจำเลยต่อหน้าศาล ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายและจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณา มีข้อตกลงว่าหากจำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่ผู้เสียหายเรียบร้อยแล้ว ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยและจะถอนคำร้องทุกข์ต่อไป แต่หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ผู้เสียหายจะแจ้งให้โจทก์ดำเนินคดีต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวนี้ ผู้เสียหายกับจำเลยแถลงต่อศาลร่วมกัน ศาลชั้นต้นจึงจำหน่ายคดีชั่วคราว ข้อตกลงดังกล่าวนี้กระทำต่อหน้าศาลและศาลอนุญาตให้เป็นไปตามข้อตกลง ย่อมผูกพันผู้เสียหายและจำเลยที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยได้ชำระเงินแก่ผู้เสียหายครบถ้วนแล้วจึงต้องถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14257/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียว ฟ้องซ้ำ: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดกรรมเดียวกัน
การที่จำเลยที่ 1 ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค บูรพานิวส์ ฉบับเลขที่ 94 ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2550 แม้เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและพลตำรวจเอก ว. ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองและพลตำรวจเอก ว. ต่างถูกหมิ่นประมาทจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ในครั้งเดียวกัน จึงเป็นการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวและหาได้ทำให้เกิดผลเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกาไม่ โดยการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว โจทก์ทั้งสองและพลตำรวจเอก ว. ซึ่งต่างเป็นผู้เสียหายย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 มาในคดีเดียวกันหรือแยกกันฟ้องเป็นรายคดีก็ได้ ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น แต่หากคดีหนึ่งคดีใดศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว ย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในอีกคดีหนึ่งระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13838/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยเรื่องอำนาจโจทก์ ไม่ใช่ความผิดจำเลย สิทธิฟ้องไม่ระงับ
คดีก่อนศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ท. โจทก์มิใช่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 เห็นได้ว่า คดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามตามข้อกล่าวหาของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ระงับสิ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีหลังศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้เกิดระหว่างฟื้นฟูกิจการ
แม้มูลแห่งหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและมิได้กำหนดไว้ในแผน ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แต่เมื่อปรากฏต่อมาว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้พื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ย่อมมีผลให้การถูกจำกัดสิทธิในการที่ผู้ร้องจะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) สิ้นไป ตามมาตรา 90/12 วรรคแรก ตอนต้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลล้มละลายกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องกองทุนฟื้นฟูฯ กรณีไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนฯ
จำเลยที่ 3 เป็นกองทุนและมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ และมีอำนาจให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามควรแก่กรณี การที่จำเลยที่ 3 ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 ในการที่จะให้ความช่วยเหลือ มิใช่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในหนี้สิ้นของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดทุกกรณี การที่จำเลยที่ 3 ปฏิเสธไม่ยอมให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วเพราะไม่อยู่ในข่ายได้รับความคุ้มครองตามประกาศของจำเลยที่ 3 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดอาญาต่างกรรมต่างวาระ แม้มีข้อเท็จจริงร่วมกัน สิทธิฟ้องไม่ระงับ
ความผิดข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายกับข้อหามียาสูบที่ไม่ได้ปิดแสตมป์ไว้ในครอบครองเกินห้าร้อยกรัมตามฟ้องเป็นคดีก่อน และความผิดข้อหาเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซึ่งโจทก์แยกฟ้องมาเป็นคดีนี้ เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาคนละฉบับกัน มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน กล่าวคือข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายและข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ไว้ในครอบครอง เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 ส่วนความผิดข้อหาเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในคดีนี้ เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งสามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ ดังนั้นการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนจึงไม่ใช่การกระทำความผิดกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้ แม้คดีก่อนศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว ก็ไม่อาจถือได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ผู้ยื่นคำร้องต้องมีอำนาจตามกฎหมาย หรือได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้อง
ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้ถือว่าการที่เทศบาลนครจำเลยรับคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ไว้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยแล้ว เป็นการรับรองว่าผู้ลงลายมือชื่อในคำร้องมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และเป็นกรณีที่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะกลับมาอ้างว่าคำร้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายในภายหลัง หากจำเลยพบในภายหลังถึงเหตุที่ทำให้คำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้ลงลายมือชื่อในคำร้องไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างโต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
ป. มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือได้รับมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ให้ลงนามแทนในคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ ป. ยื่นต่อจำเลย เป็นการยื่นคำร้องที่ผู้รับประเมินมิได้ลงนามหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ตัวแทนลงนาม จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 26 และมาตรา 27 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528
of 57