คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 634 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าทดแทนเวนคืนให้ผู้ไม่มีสิทธิ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบชำระให้เจ้าของที่ดินที่แท้จริง
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนรายของโจทก์ ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระ อันเป็นการชำระหนี้ผิดไป คณะกรรมการจึงต้องชำระให้โจทก์ใหม่
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยผู้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทำขวัญทดแทน เช่นผู้รับจำนองผู้ทรงบุริมสิทธิหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นซึ่ง ไม่ใช่เป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอรับเงินค่าทำขวัญทดแทนภายใน 1 เดือน ตามมาตรา 20 สำหรับมาตรา 26 ก็ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคนใดคนหนึ่งไปแล้ว เจ้าหน้าที่จึงจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่มาเสนอคำขอร้องในภายหลัง ฉะนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ไม่มีสิทธิรับไป ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าทดแทนเวนคืนให้ผู้ไม่มีสิทธิ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องชำระให้เจ้าของที่ดินอีกครั้ง
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนรายของโจทก์.ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระ. อันเป็นการชำระหนี้ผิดไป คณะกรรมการจึงต้องชำระให้โจทก์ใหม่.
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยผู้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทำขวัญทดแทน. เช่นผู้รับจำนองผู้ทรงบุริมสิทธิหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นซึ่ง.ไม่ใช่เป็นเจ้าของที่ดิน. โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอรับเงินค่าทำขวัญทดแทนภายใน 1 เดือน ตามมาตรา 20. สำหรับมาตรา 26 ก็ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคนใดคนหนึ่งไปแล้ว. เจ้าหน้าที่จึงจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่มาเสนอคำขอร้องในภายหลัง. ฉะนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ไม่มีสิทธิรับไป. ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิทธิรับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืน การพิจารณาว่าเป็นคดีที่คำนวณราคาได้
โจทก์อ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิครอบครองที่ดินรวม 5 โฉนดและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ด้วยการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งตราสารแห่งสิทธิให้โจทก์ ต่อมาจำเลยได้บอกเลิกสัญญาโอนสิทธิ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาโอนสิทธิครอบครองใช้ได้ตามกฎหมาย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอน ห้ามมิไห้จำเลยขัดขวางในการที่โจทก์จะใช้สิทธิบนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยต่อสู้ว่ากรรมสิทธิในที่ดินยังเป็นของจำเลย ดังนี้จึงเห็นได้ว่าข้อพิพาทในคดีคือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นของโจทก์ หรือของจำเลย ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้บ่งชัดขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ก็เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต่อไป ดังนี้ จึงเป็นคดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 ถึงแม้ว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทจะถูกเวนคืนแล้วก็ตาม ก็จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของ อันมีสิทธิรับเงินค่าทดแทนอยู่นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนจากการประสบอันตรายจากการทำงาน ย่อมหมดไปหากไม่ยื่นคำร้องภายใน 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดขึ้นได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 3 วรรค 2 และมีผลบังคับอย่างกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากอุบัติเหตุจากการทำงานจะหมดไปหากไม่ยื่นคำร้องภายใน 90 วันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนตลอดจนจำนวนเงินค่าทดแทน ข้อ14 เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดขึ้นได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 3 วรรคสอง และมีผลบังคับอย่างกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยา แม้ยังมิได้หย่าขาดจากภริยา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 วรรค 1 บัญญัติถึงกรณีที่ภริยาทำชู้กับผู้อื่น สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้ได้ต่อเมื่อได้มีคำพิพากษาของศาลให้สามีภริยานั้นหย่ากันเสียก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีสามีมีสิทธิจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวได้ อันมิใช่เรื่องภริยามีชู้ แต่เป็นเรื่องภริยาถูกล่วงเกินโดยไม่สมัครใจ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องให้ศาลพิพากษาให้สามีภริยาหย่ากันเสียก่อน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ข่มขืนชำเราภริยาโจทก์โดยภริยาโจทก์ไม่สมัครใจ อันเป็นการล่วงเกินในทางชู้สาว ดังนี้ กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 1505 วรรค 2 แม้จะไม่มีคำพิพากษาของศาลให้โจทก์หย่าขาดจากภริยาเสียก่อน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยา: แม้ไม่มีคำพิพากษาหย่า ก็ฟ้องได้ตามมาตรา 1505 วรรค 2
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 วรรค 1 บัญญัติถึงกรณีที่ภริยาทำชู้กับผู้อื่นสามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้ได้ต่อเมื่อได้มีคำพิพากษาของศาลให้สามีภริยานั้นหย่ากันเสียก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีสามีมีสิทธิจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวได้อันมิใช่เรื่องภริยามีชู้แต่เป็นเรื่องภริยาถูกล่วงเกินโดยไม่สมัครใจฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องให้ศาลพิพากษาให้สามีภริยาหย่ากันเสียก่อน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ข่มขืนชำเราภริยาโจทก์โดยภริยาโจทก์ไม่สมัครใจ อันเป็นการล่วงเกินในทางชู้สาวดังนี้ กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคสอง แม้จะไม่มีคำพิพากษาของศาลให้โจทก์หย่าขาดจากภริยาเสียก่อนโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นต้องมีค่าทดแทนและที่ดินติดต่อกัน หากไม่มีสิทธิไม่สมบูรณ์
จำเลยวางท่อระบายน้ำจากโรงงานในที่ดินของจำเลยผ่านเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยมิได้ให้ค่าทดแทนแก่โจทก์ ทั้งที่ดินของจำเลยก็มิได้ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ด้วย จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะล่วงแดนเข้าไปวางท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยมาตรา 1352 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่โจทก์ยินยอมด้วยวาจาให้จำเลยฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์ ก็มีผลเพียงให้จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเท่านั้น แต่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกเอาความยินยอมนั้นขึ้นผูกพันโจทก์อยู่ตลอดไปเมื่อโจทก์บอกเลิกคำอนุญาต ให้จำเลยขนย้ายท่อระบายน้ำออกไป จำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็เป็นการละเมิดล่วงแดนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนออกไปนั้นจึงทำได้โดยชอบ ไม่ใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
อนึ่ง ความตกลงยินยอมของโจทก์ดังกล่าวนั้นได้ก่อให้เกิดภาระในที่ดินของโจทก์จัดอยู่ในลักษณะที่ว่าด้วยภารจำยอม และภารจำยอมก็เป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง เมื่อการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพย์สิทธิของจำเลยนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน นิติกรรมนี้ก็ไม่บริบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน แม้ยังไม่ได้ชำระค่าทดแทน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ออกจากที่ดิน การขัดขวางถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2490 ออกใช้และดำเนินการตามความในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2482 พระราชบัญญัติทางหลวงนี้มีมาตรา 44 บัญญัติว่า เมื่อกำหนดเวลาที่เจ้าหน้าที่เวนคืนจะเข้าครอบครองตามที่กำหนดไว้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนมีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ ฉะนั้น จำเลยจะมีสิทธิและได้รับค่าทำขวัญแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จะยกขึ้นล้างเพิ่อขัดขวางไม่ยอมออกจากที่ที่ถูกเวนคืนได้ เมื่อจำเลยขัดขวางไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าครอบครอบทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนนั้น ก็ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022-1024/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังเวนคืน: การขอรับรองการทำประโยชน์และการใช้เงินค่าทดแทน
โจทก์จับจองที่พิพาทและได้ขอคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอภายในกำหนด 180 วันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 แล้ว แต่นายอำเภองดเสียเองเพราะเหตุนอกเหนือประมวลกฎหมายที่ดินนั้น จะถือว่าที่พิพาทปลอดจากการจับจองเพราะโจทก์มิได้ขอคำรับรองว่าทำประโยชน์แล้วตามมาตรา 7 มิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนตืนจะมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่.
of 64