พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เดิม ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ของ จ. โดยยอมรับผิดร่วมกับ จ. อย่างลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ จ. และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ความรับผิดของ จ. ตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมระงับสิ้นไปและทำให้ จ. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 852 เมื่อความรับผิดของ จ. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ของ จ. ตามสัญญากู้เงินจึงระงับสิ้นไป จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินของ จ. จึงหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน การพิสูจน์ลายมือชื่อ และอายุความค้ำประกัน
หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นหนี้เงินกู้มีอายุความ 10 ปี ขณะที่ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันยินยอมรับสภาพหนี้นั้น ยังไม่หมดอายุความ ดังนั้น จะนำอายุความ 2 ปี เรื่องการรับสภาพความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ ผู้ค้ำประกันไม่ผูกพันหากไม่ตกลงร่วมด้วย
หากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดจนครบจำนวนเงิน130,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลืออีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่าซื้อจึงระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
เจ้าหนี้ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบริษัท ร. มีข้อตกลงผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่บริษัทดังกล่าวโดยลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมิได้ตกลงด้วยหรือให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกันและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระบุว่า ภาระหนี้และสิทธิประโยชน์ในมูลหนี้เดิมระหว่างเจ้าหนี้ทุกรายกับบริษัท ร. ยังไม่ระงับสิ้นไป หากบริษัท ร. ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ทุกรายมีอำนาจนำมูลหนี้เดิมไปฟ้องร้องได้ แต่ลูกหนี้มิได้ร่วมตกลงหรือเป็นคู่สัญญาด้วยจึงไม่อาจใช้บังคับแก่ลูกหนี้ได้ เมื่อลูกหนี้หลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15221/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่ชัดเจน: ศาลตีความเอื้อประโยชน์ผู้ค้ำประกัน โดยเทียบกับวงเงินที่ระบุในสัญญาอื่น
เมื่อไม่มีการแก้ไขสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ให้มีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 5 ว่าจะต้องรับผิดในจำนวนเท่าใดทั้ง ๆ ที่มีช่องว่างให้เติมตัวเลขหรือข้อความแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งฝ่ายโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 4 รับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท แล้วก็จะต้องฟังว่า โจทก์มีเจตนายอมให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงไม่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในสัญญาค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องขาดอายุความสำหรับผู้ค้ำประกัน
แม้ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 694 แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงอาจทำข้อตกลงแตกต่างกับที่กฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ได้ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความเป็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตกลงกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามข้อ 4 ของสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เท่านั้น ส่วนอายุความตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เองโดยตรง กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้ จึงมีอายุความสิบปีอันเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดีก่อนหน้าย่อมมีผลผูกพันในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าเสียหาย 1,090,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 1,090,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าเสียหาย 1,090,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 1,090,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ผูกพันคู่ความในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างกันเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 28326/2541 ของศาลชั้นต้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวจึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วยก็ตาม เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6087/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แม้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเหมือนลูกหนี้ร่วม ศาลฎีกาไม่ถือเป็นภาระเกินวิสัย
แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่า เอาเปรียบจำเลยที่ 2 โดยทำสัญญาค้ำประกันกำหนดสาระสำคัญไว้ล่วงหน้าให้จำเลยที่ 2 ต้องยอมสละสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 นั้น จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง แต่เป็นปัญหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูปหรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปหรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ดังนั้น การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปนั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ และในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งกำหนดให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้โดยไม่ต้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน อันเป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 691 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 การที่ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 ดังกล่าว จึงมิใช่การรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด มิได้เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติประเพณีของสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามกฎหมายจึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูปหรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปหรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ดังนั้น การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปนั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ และในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งกำหนดให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้โดยไม่ต้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน อันเป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 691 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 การที่ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 ดังกล่าว จึงมิใช่การรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด มิได้เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติประเพณีของสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามกฎหมายจึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อเจ้าหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้โดยไม่มีเหตุผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701
บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการวางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อที่ลูกหนี้จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเป็นคนละเรื่องกับการที่ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 โดยไม่ต้องมีการวางทรัพย์
การที่จำเลยที่ 3 นำแคชเชียรเช็คพร้อมเงินสดตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารโจทก์ไปชำระ ณ สาขาของโจทก์ที่รับผิดชอบเรื่องหนี้สินรายพิพาท จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถึงกำหนดโดยชอบ เมื่อพนักงานของโจทก์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 3 นำแคชเชียรเช็คพร้อมเงินสดตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารโจทก์ไปชำระ ณ สาขาของโจทก์ที่รับผิดชอบเรื่องหนี้สินรายพิพาท จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถึงกำหนดโดยชอบ เมื่อพนักงานของโจทก์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง