คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีอากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาที่นำมาหักลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษี
รายการจ่ายในการซื้อบัตรงานกุศลต่างๆ เช่น งานกาชาดงานบอลล์ ซื้อของขวัญปีใหม่และงานสมรส มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นๆเพื่อประโยชน์ในการทำงานหรือในทางสังคมของตนเองเป็นส่วนตัว ยิ่งกว่าเพื่อประโยชน์ของบริษัทโจทก์ มิใช่รายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุด และนับใหม่เมื่อมีอุทธรณ์และฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12, 31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514 อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521 อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปี หนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุดของอายุความตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากการอุทธรณ์และการฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12,31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่ หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปีหนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: อำนาจฟ้องของกรมสรรพากรและการดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ผู้ผลิต' ภายใต้ประมวลรัษฎากร กรณีการประทับตราและการรับคืนสินค้า
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 1 ว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตสบู่หอมเชอร์ลักค์หรือไม่ ก่อนสืบพยานจำเลยแถลงยอมรับว่าบริษัท ก. ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตสบู่เชอร์ลักค์ไว้แล้ว คำแถลงดังกล่าวจำเลยหาได้แถลงรับว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ผลิตสบู่หอมเชอร์ลักค์แต่อย่างใดไม่ คดียังคงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตสบู่หอมเชอร์ลักค์หรือไม่ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์จำเลยขึ้นมาวินิจฉัยจึงหาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
บริษัทผู้ผลิตสินค้าสบู่และแปรงสีฟันขายให้โจทก์ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้แล้วการที่โจทก์ให้ผู้ขายประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ดี การที่โจทก์เป็นผู้จัดหากระดาษและกล่องใส่ตัววัตถุสินค้าให้แก่ผู้ขายก็ดี ตลอดจนมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายจะผลิตออกจำหน่ายให้แก่ผู้อื่นไม่ได้ก็ดี เงื่อนไขเหล่านี้คู่สัญญาย่อมอาจจะตกลงกำหนดเป็นข้อสัญญาบังคับกันตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่ายได้ ทั้งตัววัตถุสินค้าที่ซื้อ โจทก์จะนำมาบรรจุห่อหรือมอบให้ผู้ขายบรรจุห่อก็ย่อมทำได้ ตัววัตถุสินค้าสบู่และแปรงสีฟันที่โจทก์ซื้อก็ยังคงเป็นสบู่และแปรงสีฟันอย่างเดิม มิได้แปรสภาพเป็นสินค้าชนิดใหม่ กรณีเช่นนี้หาเข้าลักษณะเป็นการ'ผลิต' หรือเป็น 'ผู้ผลิต' ตามคำนิยามในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
โจทก์ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตในการขายครั้งแรกแล้ว เมื่อโจทก์รับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วขายสินค้านั้นไปใหม่ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตสินค้าที่รับคืนนั้นเป็นการซ้ำอีก การที่โจทก์ขายสินค้าที่รับคืนไปใหม่แล้วนำไปหักออกจากยอดรวมในการจำหน่ายสินค้าทั้งหมดของเดือนนั้น เพื่อแยกเป็นยอดรายรับจากการขายสินค้าเฉพาะที่ได้รับคืนกับยอดรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าของเดือนภาษีนั้น ก็เพื่อไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตเป็นการซ้ำอีก หาเป็นการไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรที่นำส่งก่อน/หลังเริ่มการล้มละลาย
มาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นเรื่องการบังคับคดีตามคำสั่งหรือหมายบังคับคดีของศาลเท่านั้น จะขยายมาใช้แก่การยึดและขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างตามคำสั่งของข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 หาได้ไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ร้องส่งเงินที่ได้นำส่งชำระค่าภาษีไปแล้วก่อนวันที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2520 แต่เงินที่ได้จากการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยนั้น หัวหน้าเขตได้นำส่งชำระค่าภาษีไปแล้วส่วนหนึ่งก่อนวันที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ในวันที่ 24 มิถุนายน2520 ่อันเป็นวันซึ่งถือว่าเป็นเวลาเริ่มต้นการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 ไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109(1)
ส่วนเงินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้นำส่งชำระค่าภาษีอากรนับแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2520 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 12ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขายทอดตลาดแล้วในถือเป็นเงินชำระค่าภาษีอากรค้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดินในทันทีที่ขายทอดตลาดเสร็จจึงยังเป็นทรัพย์สินของจำเลยอยู่และถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกให้ส่งไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621-1622/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญฯ และอำนาจฟ้องกรณีภาษีอากร การประเมินต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร
กรมสรรพากรดำเนินการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 และโดยมติของคณะรัฐมนตรี ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐในนามของรัฐ ให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น และให้มีอำนาจนำเงินและทรัพย์สินดังกล่าวไปชำระภาษีอากรของโจทก์ได้นั้น เป็นคำสั่งและการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การประเมินจะเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อโจทก์โต้แย้งว่าการประเมินเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่าการประเมินเงินได้ของโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้คำสั่งนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการที่จะคืนทรัพย์หรือไม่ ให้เป็นที่สุด แต่เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ประกอบกับโจทก์อาจต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรเพิ่มเติมจนครบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำนวนเงินที่โจทก์ตัดเป็นรายจ่ายในการจัดตั้งบริษัทโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทดังโจทก์อ้าง ถือว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
โจทก์นำค่าเช่าปี 2508 และ 2509 มาลงจ่ายในปี 2510เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถลงจ่ายในปีนั้นๆ ได้ มิใช่เพิ่งพบในปี 2510 ว่ายังมิได้จ่าย รายจ่ายค่าเช่าดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งควรจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น และมิใช่กรณีที่ผู้จ่ายไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นได้ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิปี 2510 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ขายทรัพย์สินไปแล้วจ่ายเงินให้บริษัท ซ. ไปจำนวนหนึ่ง การจ่ายนี้เพื่อให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง มิใช่เป็นค่าทรัพย์สินของบริษัท ซ. ดังโจทก์นำสืบ รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(15)
โจทก์ตัดหนี้สูญโดยมิได้ฟ้องร้องหรือตั้งอนุญาตโตตุลาการตามข้อเสนอของลูกหนี้ ทั้งส่อแสดงว่าเป็นการสมยอมกันลดกำไรสุทธิของโจทก์เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการโดยสมควร เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนการตัดหนี้สูญดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ(9) โจทก์จึงนำหนี้สูญนั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้
โจทก์ได้ตัดบัญชีทรัพย์สินถังสองใบออกไปและถือราคาถังสองใบนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิด้วยแล้ว เมื่อความจริงโจทก์ยังมิได้ขายถังสองใบไป การตัดบัญชีถังสองใบย่อมมีผลทำให้การคำนวณกำไรสุทธิลดลงตามราคาถังสองใบนั้น จึงต้องห้ามมิให้ถือราคาถังนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(17)
โจทก์นำรายการที่ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายหลายรายการเป็นเงินจำนวนมาก บางรายการโจทก์อ้างข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนความจริงขึ้นโต้แย้ง มิใช่เพียงตีความกฎหมายไม่ตรงกับเจ้าพนักงานประเมิน พฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จึงไม่มีเหตุงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
of 72