พบผลลัพธ์ทั้งหมด 559 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญา ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 240, 244 และ 341 โดยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท จึงเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงให้รอฟังคำพิพากษาและได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังในวันนั้นเองโดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วโจทก์จะต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 ดังกล่าว โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208
สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดในสองมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และมาตรา 341 ตามฟ้องได้โดยไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดในสองมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และมาตรา 341 ตามฟ้องได้โดยไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการรับสารภาพและการโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดโดยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบหลายกรรมต่างกัน ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องในแต่ละกระทงมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องทุกกระทงความผิดไป ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นไปโดยมุ่งประสงค์จะโต้แย้งว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดโดยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 แต่เพียงกรรมเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยให้การรับสารภาพอันเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ และเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยบิดเบือนให้เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15232/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและการบรรเทาโทษทางอาญา: โจทก์เป็นผู้เสียหายแม้จำเลยที่ 2 รับสารภาพ และการถอนฟ้องเข้าข่ายได้รับการบรรเทาโทษ
เมื่อจำเลยเอาความเท็จมาฟ้องโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหาย และความผิดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยฟ้องคดี แม้จำเลยที่ 2 ในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์จะให้การรับสารภาพ ก็หาใช่ว่าโจทก์มีส่วนมีร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อันมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่
ส่วน ป.อ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรเทาโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ เมื่อจำเลยถอนฟ้องในคดีอาญาที่เอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ลุแก่โทษต่อศาลแล้ว ควรได้รับการบรรเทาโทษตามบทบัญญัตินั้นทั้งกฎหมายหาได้บัญญัติว่าจำเลยต้องให้การรับสารภาพจึงจะได้รับการบรรเทาโทษ
ส่วน ป.อ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรเทาโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ เมื่อจำเลยถอนฟ้องในคดีอาญาที่เอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ลุแก่โทษต่อศาลแล้ว ควรได้รับการบรรเทาโทษตามบทบัญญัตินั้นทั้งกฎหมายหาได้บัญญัติว่าจำเลยต้องให้การรับสารภาพจึงจะได้รับการบรรเทาโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13612/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ดูเผินเป็นรับสารภาพ แต่มีรายละเอียดหักล้างเจตนาความผิด ศาลต้องพิจารณาเนื้อหาทั้งหมด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การปฏิเสธ ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำให้การต่อศาล โดยคำให้การข้อ 1 ระบุว่า "จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธฟ้อง โดยขอให้การใหม่ว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง เพื่อประโยชน์และสะดวกในการพิจารณาของศาล" และข้อ 4 จำเลยให้รายละเอียดว่านาย ก. นำห่อกระดาษมาฝากจำเลยใส่กระเป๋ากางเกงของจำเลยไว้ โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นเมทแอมเฟตามีน ซึ่งหากเป็นความจริงดังที่ให้การก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด แม้ข้อ 5 จะขอให้ศาลกำหนดโทษน้อยหรือขอให้รอการลงอาญาแก่จำเลย ก็ไม่ทำให้เห็นไปได้ว่าคำให้การดังกล่าวเป็นคำให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อต่อสู้เลย เมื่อจำเลยให้การโดยระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้ ก็ต้องนำรายละเอียดต่างๆ มาพิจารณาประกอบด้วย จะพิจารณาเฉพาะข้อความที่ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ และเมื่อศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยยังคงให้การตามคำให้การที่ยื่นไว้ดังกล่าว คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ มิใช่คำให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องดังที่ระบุไว้ตั้งแต่ต้น เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10675/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน แม้จำเลยรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพยนต์ที่จำเลยนำออกขายได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสอง อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8916/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในฟ้อง และการบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อน
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 15 วัน และปรับ 1,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 1 ปี ข้อหาทำร้ายร่างกาย ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยก็ได้ให้การว่าข้าพเจ้าไม่ต้องการทนายและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกและศาลรอการลงโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วยนั่นเอง จึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขบวนการค้ายาเสพติด: การรับสารภาพของผู้ร่วมขบวนการเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน และการลดโทษตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 46,000 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 นอกจากร่วมกันกับจำเลยอื่นมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยที่ 5 และที่ 6 ยังร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอีก 2,000 เม็ด โดยถือว่าเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้องจริง โดยจำเลยที่ 5 รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 6 แล้วมอบให้จำเลยที่ 3 จากนั้นจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำไปมอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายไปแบ่งปันกันเป็นทอดๆ อันมีลักษณะของการกระทำความผิดเป็นขบวนการ
ในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่า ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 3 เมื่อจับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 3 รับว่ารับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 5 และเมื่อจับจำเลยที่ 5 ได้ จำเลยที่ 5 รับว่ารับแมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ช่วยติดต่อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถวางแผนขยายผลการจับกุมจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ร่วมขบวนการค้ายาเสพติดให้โทษในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
ในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่า ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 3 เมื่อจับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 3 รับว่ารับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 5 และเมื่อจับจำเลยที่ 5 ได้ จำเลยที่ 5 รับว่ารับแมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ช่วยติดต่อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถวางแผนขยายผลการจับกุมจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ร่วมขบวนการค้ายาเสพติดให้โทษในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญา: ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเวลาที่กระทำความผิด ไม่ทำให้ฟ้องขัดกับสภาพความเป็นจริง หากจำเลยรับสารภาพ
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ส่วนที่ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏตามคำร้องขอผัดฟ้อง ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์ฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิดอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริง ที่จะต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพข้อหา รับของโจร: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการรับสารภาพมีผลผูกพัน และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษได้
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลตอนต้นมีความว่า "จำเลยขอให้การรับสารภาพในข้อหารับของโจร แต่ขอให้การปฏิเสธข้อหาลักทรัพย์..." และในตอนท้ายมีความว่า "ขอให้ศาลลงโทษสถานเบาโดยรอการลงโทษ..." อันเป็นการแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าประสงค์จะให้การรับสารภาพข้อหารับของโจร ส่วนข้อความอื่นๆ นั้นเป็นการให้ข้อเท็จจริงเพื่อขอให้ศาลลงโทษสถานเบาเท่านั้น และศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและขอให้การใหม่รับสารภาพฐานรับของโจร รายละเอียดปรากฏตามคำร้องฉบับลงวันที่วันนี้" แสดงว่าศาลชั้นต้นตรวจคำร้องแล้วเห็นว่า จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ซึ่งโจทก์ก็ได้แถลงว่า "เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป" อันเป็นการยืนยันตรงกันว่า จำเลย ศาลชั้นต้น และโจทก์เข้าใจตรงกันว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรแล้ว จึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคดีอาญา และการพิจารณาโทษกรรมต่างกัน ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นความชัดเจนคำรับสารภาพและโทษกรรม
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และฐานรับของโจรซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225