พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกฟ้อง, มัดจำ, การเลิกสัญญาซื้อขาย, การชำระหนี้บางส่วน, การคืนเงิน
ประเด็นแห่งคดีย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ มิใช่เป็นข้อโต้แย้งที่เพิ่งเกิดขึ้นจากที่คู่ความนำสืบโต้แย้งในระหว่างการพิจารณา คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่าการที่ไม้สักต้องห้ามขนย้ายออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดลำพูน ถือว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบบ้านไม้สักให้แก่โจทก์อันจะถือว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตามหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก และหนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยคืนเงินจำนวน 100,000 บาท ที่รับไว้ที่เป็นเอกสารแนบท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้นก็ไม่มีข้อความส่วนใดที่ระบุว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องขออนุญาตรื้อถอนบ้านหรือขออนุญาตย้ายไม้สัก ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตรื้อถอนบ้านต่อเจ้าพนักงานจึงถือว่าจำเลยยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่ยังไม่ขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่จำเลยเช่นกันและถือว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญานั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำว่า "มัดจำ" ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว..." ดังนั้นเงินที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยในวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก จึงถือว่าเป็นมัดจำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายวางมัดจำเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวน 50,000 บาท ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินอีกจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์นำมามอบไว้ให้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก แม้จะมีข้อความของตอนท้ายหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า " สัญญาเพิ่มเติม ผู้ซื้อจะโอนเงินค่ามัดจำเพิ่มเติมให้แก่ผู้ขาย 50,000 บาท รวมเป็นค่ามัดจำ 100,000 บาท" ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำสัญญา จึงไม่ถือว่าเป็นมัดจำ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 377 แต่เป็นเพียงเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านไม้สักบางส่วน
คำว่า "มัดจำ" ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว..." ดังนั้นเงินที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยในวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก จึงถือว่าเป็นมัดจำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายวางมัดจำเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวน 50,000 บาท ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินอีกจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์นำมามอบไว้ให้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก แม้จะมีข้อความของตอนท้ายหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า " สัญญาเพิ่มเติม ผู้ซื้อจะโอนเงินค่ามัดจำเพิ่มเติมให้แก่ผู้ขาย 50,000 บาท รวมเป็นค่ามัดจำ 100,000 บาท" ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำสัญญา จึงไม่ถือว่าเป็นมัดจำ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 377 แต่เป็นเพียงเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านไม้สักบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าขาดราคาเช่าซื้อ: เริ่มนับจากวันเลิกสัญญา ไม่ใช่วันประมูล
เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมอาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคารถที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดหรือค่าขาดราคาได้นับแต่วันเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ มิใช่นับแต่วันที่ประมูลขายทอดตลาดรถที่เช่าซื้อ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2539 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขาดราคาจึงขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเช่าและให้บริการที่ฟ้องร้องค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิม
ในคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 โจทก์ฟ้องจำเลยโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกันกับคดีนี้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกัน และขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต่าง ๆ ที่ค้างชำระพร้อมชดใช้ค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิต่าง ๆ ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายต่าง ๆ ในอนาคตได้ด้วยรวมถึงค่าเสียหายต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนให้แก่โจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกัน ซึ่งค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาก็ดี ค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดก็ดี ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนให้โจทก์ล่าช้าและยังใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป ดังเห็นได้จากการที่มีการระบุไว้ในสัญญาเช่าเป็นใจความสำคัญว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพดีภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดดังกล่าวยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองที่เช่าทันที และให้ทรัพย์สินที่จำเลยมิได้ขนย้ายออกไปตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ และให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกเอาค่าปรับในกรณีที่จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่เช่าล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดอีกด้วย นอกจากนี้ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญา และค่าปรับนับแต่วันที่สัญญาเลิกกัน ยังถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นรายเดือนนับแต่วันที่สัญญาเลิกกันจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าคืนให้โจทก์ ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยแล้วในคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 ดังนั้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันและเป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าที่ฟ้องซ้ำในคดีก่อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการฉบับเดียวกัน ซึ่งโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเลิกกันแล้ว ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินที่ค้างและค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่า พร้อมส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ กรณีเป็นการใช้สิทธิในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา โจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายในอนาคตรวมถึงค่าเสียหายต่างๆ อันสืบเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกันได้ ค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาและค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าตามฟ้องโจทก์คดีนี้ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ล่าช้าและยังคงใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป จึงได้มีการระบุไว้เป็นข้อตกลงในสัญญาเช่า ทั้งยังถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ที่เช่าคืนในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องคดีก่อน เป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่า: ความเสียหายก่อนเลิกสัญญานับอายุความตามมาตรา 563
คดีโจทก์ในส่วนค่าซ่อมรถยกและค่าเสื่อมราคา เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เช่าอันเกิดขึ้นก่อนสัญญาเช่าเลิกกัน ตามสัญญาเช่าที่กำหนดให้จำเลยผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายนั้น จึงเป็นกรณีฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การสละสิทธิ การเลิกสัญญากันโดยปริยาย และผลของการยึดทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อข้อ 12 กำหนดว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งก็ดี ผู้เช่าซื้อยินยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อได้กลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อและ/หรือบอกเลิกสัญญาได้ทันที ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 2 โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินการตามข้อสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 3 และงวดที่ 4 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามข้อสัญญานี้ หนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ไม่ถือเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา และยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีผลผูกพันอยู่ การที่ ช. ผู้รับจ้างในการติดตามรถที่เช่าซื้อรถของโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้ง พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายในวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อคืน คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกค่าขาดราคาส่วนที่ขายทรัพย์ที่เช่าซื้อไป หรือราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาข้อ 15 ซึ่งระงับไปแล้วไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 50,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงิน 260,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้พิพากษาตามศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงต้องหักต้นเงิน 50,987.20 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระแก่โจทก์ออก ที่จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 260,987.20 บาท เป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่จำเลยทั้งสี่
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 50,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงิน 260,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้พิพากษาตามศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงต้องหักต้นเงิน 50,987.20 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระแก่โจทก์ออก ที่จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 260,987.20 บาท เป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่จำเลยทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15358/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จำกัด
แม้จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ติดต่อกันเกิน 3 งวด แต่ปรากฏตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที และตามใบตอบรับจำเลยที่ 1 รับหนังสือในวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ซึ่งจะครบ 30 วันในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 ซึ่งยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ยึดรถและไม่ได้โต้แย้งทักท้วง อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายในวันยึดรถดังกล่าว
โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย อันเป็นการเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นมิใช่เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้วได้ โจทก์คงมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย อันเป็นการเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นมิใช่เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้วได้ โจทก์คงมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15357/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีผลเป็นอันเลิกกันเมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าซื้อคืน
โจทก์กำหนดในสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย ให้ใช้เนื้อที่ห้องชุดตามสัญญาเช่าซื้อ โดยไม่ให้คิดราคาเพิ่มหรือลดตามเนื้อที่ในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ออกในภายหลัง เป็นการยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา 466 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินในการซื้อขายซึ่งนำมาใช้บังคับกับการเช่าซื้อ โจทก์ส่งมอบห้องชุดเนื้อที่ขาดตกบกพร่องจากสัญญาเช่าซื้อ 6.51 ตารางเมตรคิดเป็นร้อยละ 9.1 ของเนื้อที่ทั้งหมด แต่โจทก์ก็ยังคงให้จำเลยรับเอาห้องชุดไว้โดยไม่อาจใช้ราคาตามส่วนได้ ทั้งที่ความแตกต่างของเนื้อที่ห้องชุดมาจากการคำนวณของโจทก์เอง จำเลยจะต้องรับภาระชำระราคาเกินกว่าเนื้อที่ห้องชุดถึง 162,000 บาท จึงเป็นข้อตกลงที่นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 466 แล้ว ยังเป็นข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปที่โจทก์ซึ่งมีอำนาจต่อรองมากกว่าเป็นผู้กำหนดให้จำเลยรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงคาดหมายได้ตามปกติ อีกทั้งโจทก์เป็นฝ่ายบกพร่องในการคำนวณเนื้อที่ห้องชุดและสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้อยู่ก่อนแล้วถือได้ว่าข้อตกลงเช่นนี้ทำให้โจทก์ได้เปรียบจำเลยคู่สัญญาอีกฝ่ายเกินสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและไม่มีผลใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 ข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย จึงไม่อาจใช้บังคับได้
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ต้องปรับลดราคาห้องชุดให้เป็นไปตามเนื้อที่จริงจึงจะเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายได้หากโจทก์ไม่ปรับลดราคาห้องชุด จำเลยก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายและถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อห้องชุด เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาห้องชุดที่โจทก์ส่งมอบเนื้อที่ขาดจำนวนจากสัญญาเช่าซื้อเกินกว่าร้อยละ 5 การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์เป็นการใช้สิทธิบอกปัดโดยขอเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันซึ่งมิใช่เป็นการเลิกสัญญาด้วยความผิดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อไว้ ผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วแก่จำเลย ส่วนจำเลยต้องส่งมอบห้องชุดคืนแก่โจทก์ และการที่จำเลยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ห้องชุดถือเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม ในส่วนที่จำเลยขอให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าซื้อตามฟ้องแย้ง จึงต้องหักด้วยค่าใช้ทรัพย์ และโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองห้องชุดของโจทก์
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ต้องปรับลดราคาห้องชุดให้เป็นไปตามเนื้อที่จริงจึงจะเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายได้หากโจทก์ไม่ปรับลดราคาห้องชุด จำเลยก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายและถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อห้องชุด เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาห้องชุดที่โจทก์ส่งมอบเนื้อที่ขาดจำนวนจากสัญญาเช่าซื้อเกินกว่าร้อยละ 5 การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์เป็นการใช้สิทธิบอกปัดโดยขอเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันซึ่งมิใช่เป็นการเลิกสัญญาด้วยความผิดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อไว้ ผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วแก่จำเลย ส่วนจำเลยต้องส่งมอบห้องชุดคืนแก่โจทก์ และการที่จำเลยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ห้องชุดถือเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม ในส่วนที่จำเลยขอให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าซื้อตามฟ้องแย้ง จึงต้องหักด้วยค่าใช้ทรัพย์ และโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองห้องชุดของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15107/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อค้างชำระ vs ค่าขาดประโยชน์ และการแก้ไขคำพิพากษา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระมาแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้เพียง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ยังมิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนเท่านั้น แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14.2 กำหนดว่า "ก่อนวันที่สัญญาเลิกกัน หากผู้เช่าติดค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ถึงกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระ ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะต้องชำระแก่เจ้าของจนครบถ้วน และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นการลบล้างสิทธิของเจ้าของบรรดาที่มีอยู่ก่อนวันเลิกสัญญา" ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตั้งแต่งวดที่ 10 ถึงงวดที่ 18 เป็นเงิน 133,386 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนและการเรียกร้องเงินคืนหลังเลิกสัญญา โดยต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินและแบ่งกำไร
ป.พ.พ. มาตรา 1061 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายออกเงินลงทุน ส่วนจำเลยทั้งสองยอมให้ห้างหุ้นส่วนใช้ที่ดินของตนปลูกต้นสน แต่โจทก์กับจำเลยทั้งสองยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับจำนวนเงินลงทุนของโจทก์ รายได้ของห้างหุ้นส่วน ข้อตกลงในการแบ่งปันผลกำไร อีกทั้งโจทก์กับจำเลยทั้งสองต่างมิได้ตกลงให้มีการจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโจทก์ไม่ยอมแบ่งรายได้ให้แก่จำเลยทั้งสองอ้างว่าต้องหักต้นทุนก่อน ในขณะที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่มีข้อตกลงเช่นนั้นและต่อมาจำเลยทั้งสองก็ตัดโค่นไม้สนจำนวนหนึ่งแล้วนำไปขาย จึงจำเป็นต้องมีการชำระบัญชีเพื่อตรวจสอบให้ทราบว่าต้นสนที่เหลือมีมูลค่าเท่าใด จะจัดการอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับต้นสนนั้น และห้างหุ้นส่วนมีผลกำไรหรือขาดทุนหรือไม่เพียงใด เพื่อที่จะได้เฉลี่ยกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถูกต้อง แม้ห้างหุ้นส่วนจะไม่มีหนี้สินต่อบุคคลภายนอกก็ตาม
เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน มิใช่สัญญาร่วมลงทุนประเภทหนึ่ง การที่โจทก์เรียกเอาเงินลงทุนค่าบริหารจัดการ ค่าตัดโค่นต้นไม้ เงินค่าขายไม้สน ตลอดจนค่าขาดประโยชน์จากตอไม้ จึงเป็นการฟ้องขอให้คืนทุนกับเรียกค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการงานของห้างหุ้นส่วนและการแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนแก่โจทก์ มิใช่การเรียกเอาค่าเสียหายอันมิได้เกิดจากการประกอบกิจการร่วมกัน ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน มิใช่สัญญาร่วมลงทุนประเภทหนึ่ง การที่โจทก์เรียกเอาเงินลงทุนค่าบริหารจัดการ ค่าตัดโค่นต้นไม้ เงินค่าขายไม้สน ตลอดจนค่าขาดประโยชน์จากตอไม้ จึงเป็นการฟ้องขอให้คืนทุนกับเรียกค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการงานของห้างหุ้นส่วนและการแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนแก่โจทก์ มิใช่การเรียกเอาค่าเสียหายอันมิได้เกิดจากการประกอบกิจการร่วมกัน ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน