พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ตายมีสิทธิจัดการได้ ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้จัดการมรดก
จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์จะถึงที่สุด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ที่ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายทราบวันนัดแต่ไม่แจ้งจำเลย การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนด
เมื่อทนายจำเลยทราบนัดและคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 และคำสั่งให้นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระให้ครบถ้วนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้ว การที่จำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระต่อศาลชั้นต้นให้ครบถ้วนก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตในคำร้องของจำเลยนั้น ก็มิใช่เป็นการสั่งอนุญาตก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 และไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งขยายระยะเวลาดังกล่าวอีกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เมื่อจำเลยเพิ่งวางเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลาการวางเงินตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์โดยได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หรือภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้โดยชอบ การยื่นอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้ยกฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 21,830 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้ยกฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 21,830 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้อนุบาลต้องกระทำการร่วมกัน หากศาลไม่ได้กำหนดอำนาจเฉพาะ การฟ้องแย้งโดยผู้อนุบาลคนเดียวจึงไม่ชอบ
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือคู่สมรสของเป็นผู้อนุบาลของ จ. ที่เป็นคนไร้ความสามารถนั้น บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ได้ ซึ่งตามคำสั่งศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวระบุเพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้อนุบาลของ จ. ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ และมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่จำเลยทั้งสองกระทำการแทน จ. ต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมให้การและฟ้องแย้งมานั้น จึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมา จ. ถึงแก่ความตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของจำเลยทั้งสองที่มีต่อ จ. ซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลงในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1572 (เดิม), 1581 (เดิม) แก้ไขใหม่มาตรา 1598/6 และ 1598/18 แล้ว และศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน จ. เจ้ามรดกจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ตาม ก็หามีผลทำให้การขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ของจำเลยที่ 2 ที่สืบเนื่องมาจากการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่กระทำโดยปราศจากอำนาจขัดต่อกฎหมาย กลับมีผลเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้อนุบาลต้องกระทำการร่วมกัน การฟ้องแย้งโดยลำพังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นผู้อนุบาล จ. หาได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นการส่วนตัวไม่ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินค่าเสียหายและเปิดทางเข้าออก อาจดูเหมือนเป็นการบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในฐานะส่วนตัวดังที่ศาลชั้นต้นเข้าใจก็เป็นเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดี หาทำให้ฟ้องโจทก์ที่ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะผู้อนุบาลของ จ. กลายเป็นฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะจำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาล จ. และสาระสำคัญของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องสัญญาเช่าเดียวกันกับที่โจทก์ใช้เป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและอาศัยข้ออ้างดังกล่าวเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องแย้งโจทก์ให้ออกไปจากห้องพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือคู่สมรสของ จ. เป็นผู้อนุบาลของ จ. ที่เป็นคนไร้ความสามารถนั้น บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ ซึ่งตามคำสั่งศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในคดีหมายเลขแดงที่ 25/2548 ระบุเพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้อนุบาลของ จ. ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ และมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่จำเลยทั้งสองกระทำการแทน จ. ต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมให้การและฟ้องแย้งมานั้นจึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมา จ. ถึงแก่ความตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของจำเลยทั้งสองที่มีต่อ จ. ซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลงในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1572 (เดิม), 1581 (เดิม) แก้ไขใหม่มาตรา 1598/6 และ 1598/18 แล้ว และศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน จ. เจ้ามรดกจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ตาม ก็หามีผลทำให้การขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ของจำเลยที่ 2 ที่สืบเนื่องมาจากการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่กระทำโดยปราศจากอำนาจขัดต่อกฎหมาย กลับมีผลเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือคู่สมรสของ จ. เป็นผู้อนุบาลของ จ. ที่เป็นคนไร้ความสามารถนั้น บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ ซึ่งตามคำสั่งศาลจังหวัดภูเก็ตแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในคดีหมายเลขแดงที่ 25/2548 ระบุเพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้อนุบาลของ จ. ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ และมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่จำเลยทั้งสองกระทำการแทน จ. ต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมให้การและฟ้องแย้งมานั้นจึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมา จ. ถึงแก่ความตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของจำเลยทั้งสองที่มีต่อ จ. ซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลงในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1572 (เดิม), 1581 (เดิม) แก้ไขใหม่มาตรา 1598/6 และ 1598/18 แล้ว และศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน จ. เจ้ามรดกจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ตาม ก็หามีผลทำให้การขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ของจำเลยที่ 2 ที่สืบเนื่องมาจากการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่กระทำโดยปราศจากอำนาจขัดต่อกฎหมาย กลับมีผลเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีต้องผ่านการเลือกตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น การแต่งตั้งโดยกรรมการแล้วขอรับสัตยาบันไม่ชอบ
การตั้งผู้สอบบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบบัญชีงบดุลที่บริษัทจัดทำขึ้นโดยตรวจจากสมุดบัญชี เอกสารประกอบการลงบัญชีและหลักฐานอื่น ๆ โดยผู้ประกอบวิชาชีพตามแนวทางปฏิบัติงานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เพื่อวินิจฉัยและแสดงความเห็นว่า งบการเงินที่จัดทำขึ้นมีความถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่เพียงใด ฐานะและบทบาทผู้สอบบัญชีจึงเป็นเสมือนตัวแทนของบริษัทในการควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ มติที่ประชุมใหญ่และตามกฎหมายหรือไม่ ดูแลว่าบัญชีของบริษัทได้ลงไว้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ทั้งเป็นผู้รับรองฐานะทางการเงินของบริษัทต่อผู้ถือหุ้นว่าฐานะทางการเงินตามที่แสดงไว้นั้นถูกต้อง ผู้สอบบัญชีจึงต้องแยกจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน กล่าวคือผู้สอบบัญชีจะเป็นกรรมการ ตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทในขณะที่ตนเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทไม่ได้ ผู้สอบบัญชีต้องขึ้นตรงต่อผู้ถือหุ้น กฎหมายจึงกำหนดให้เฉพาะที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเท่านั้น ที่มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนและให้บำเหน็จแก่ผู้สอบบัญชีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1208 ถึง 1211 เว้นแต่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าห้าคนร้องขอให้ศาลตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี ตามมาตรา 1212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14560/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อคำสั่งระงับหน้าที่ผู้อำนวยการยังไม่มีผลบังคับใช้
คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ในวันที่ 15 กันยายน 2548 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกิจการของจำเลย ได้ลงนามในคำสั่งที่ 6/2548 เพื่อระงับการทำหน้าที่ของ ช. ในฐานะผู้อำนวยการจำเลย พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ.2499 มาตรา 13 บัญญัติให้มีคณะกรรมการบริหารกิจการของจำเลย และมาตรา 15 ให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินกิจการของจำเลย ดังนั้นอำนาจในการบริหารกิจการของจำเลยจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารกิจการของจำเลย ซึ่งต้องกระทำและมีมติในรูปแบบของคณะกรรมการ การที่ ป. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานกรรมการบริหารกิจการของจำเลยมีคำสั่งที่ 6/2548 ให้ ช. ระงับการปฏิบัติหน้าที่ โดยคณะกรรมการบริหารกิจการของจำเลยมิได้มีมติในวันดังกล่าว คำสั่งจึงยังคงไม่มีผลบังคับเนื่องจากไม่ชอบด้วยมาตรา 15 ของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ทั้งตามเอกสารคณะกรรมการบริหารกิจการของจำเลยได้มีมติให้สัตยาบันในวันที่ 19 กันยายน 2548 ดังนั้น ในวันที่ 15 กันยายน 2548 ช. ยังคงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยและยังมีอำนาจในการแก้ไขคำสั่งของตนเองได้ เมื่อ ช. สั่งให้โจทก์แก้ไขคำสั่งที่ 197/2548 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 เรื่องสำนักอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคตะวันออก ขอเลื่อนระดับพนักงานและเลื่อนชั้นพนักงานปฏิบัติการ เป็นคำสั่งที่ 197/2548 ลงวันที่ 14 กันยายน 2548 เรื่องโอนอัตรา เปลี่ยนแปลงอัตรา และแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนัก โจทก์จึงต้องแก้ไขคำสั่งตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น การกระทำของโจทก์ไม่เป็นความผิดวินัยการทำงานตามข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน และการลงโทษสำหรับผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ.2548 การที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์เป็นการไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์ว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งของโจทก์ไม่ได้กระทำด้วยวิธีการขีดฆ่าและลงลายมือชื่อกำกับ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์แก้ไขคำสั่งโดยไม่ชอบเพราะไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหากได้รับคำสั่งก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเท่านั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยอุทธรณ์ว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งของโจทก์ไม่ได้กระทำด้วยวิธีการขีดฆ่าและลงลายมือชื่อกำกับ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์แก้ไขคำสั่งโดยไม่ชอบเพราะไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหากได้รับคำสั่งก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเท่านั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14466/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
หนังสือบอกเลิกจ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ระบุข้อเท็จจริงตามที่อ้างในฟ้องว่า ธ. เจตนาจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) ไว้ด้วย โจทก์จึงยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวให้จำเลยต้องรับวินิจฉัย การที่ศาลแรงงานภาค 1 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14062/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ย้ายข้าราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีเจตนาทำให้เสียหาย ไม่เป็นความผิด ม.157
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งเก้าร่วมกันออกข้อกำหนดเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์หรือผู้หนึ่งผู้ใดให้ได้รับความเสียหาย แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยทั้งเก้าออกข้อกำหนดเพื่อให้จำเลยทั้งเก้ามีอำนาจอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้บุคคลใดย้ายตามอำเภอใจของจำเลยทั้งเก้า เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งเก้ากระทำไปเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12386/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ลงนามไม่ใช่ทนายความ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
นอกจากคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 มี ป. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่า ป. เป็นทนายความของลูกหนี้ที่ 1 หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ที่ 1 ให้มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาแทนในศาล ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีระบุให้ ป. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนลูกหนี้ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนที่อยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลได้แล้ว ป. ยังลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" และการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ หรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ป. เรียงคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งให้ลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ดังนั้น คำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย