คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12524/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: รถยนต์และโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ในการกระทำผิดได้หรือไม่
เจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ม. ผู้ร่วมกระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งพกติดตัวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การล่อซื้อยาเสพติดให้โทษสายลับได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อกับโทรศัพท์ของ ม. ส่วนการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ให้ ม. โทรศัพท์ไปติดต่อขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้คัดค้านทั้งสอง ก็เป็นการติดต่อล่อซื้อเพื่อขยายผลจับกุมผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้น ถือไม่ได้ว่า ม. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10210/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการประมาทเลินเล่อทางรถยนต์ การประเมินค่าเสียหายที่เหมาะสม และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าความเจ็บป่วยของโจทก์ที่ปรากฏนั้นมีอาการหนักหนาสาหัสที่ต้องรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานและต้องรักษาถึงหลายอาการและหลังจากวันฟ้องก็เห็นได้ชัดว่าจะต้องรักษาต่อเนื่องกันไปอีกและยากที่จะมีสภาพแข็งแรงเหมือนเดิมได้ ดังนั้นเมื่อในเวลาที่พิพากษาคดี ศาลชั้นต้นเห็นเป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ชัดว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับนั้นแท้จริงเพียงใด จึงมีอำนาจที่จะกล่าวในคำพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาอีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีได้ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคสอง ให้อำนาจไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งห้ามชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องบังคับคดีส่งมอบรถยนต์
คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทที่ทำไว้แก่โจทก์เพื่อขอรับเอกสารไปรับสินค้ารถยนต์ที่สั่งซื้อไว้ โดยระหว่างพิจารณาโจทก์มีคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ห้ามจำเลยทั้งสองโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายรถยนต์พิพาท และให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนรถยนต์คันพิพาทไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลทรัพย์สินฯ มีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ในชั้นบังคับคดี ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นผู้ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยถูกต้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าว กรณีเช่นนี้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ก็ให้ใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ ทั้งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าว เมื่อศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ ย่อมไม่มีเหตุจำเป็นต้องปฏิบัติตามวิธีการชั่วคราวที่ห้ามจำเลยทั้งสองโอนขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายรถยนต์ดังกล่าว เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษานี้อีกแต่อย่างใด คำสั่งในวิธีการชั่วคราวดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไปในตัวไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวภายหลังศาลมีคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: รถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรสด้วยเงินกู้และเงินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสจำเลยมีสิทธิ
ผู้ร้องซื้อรถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โดยผู้ร้องรวบรวมเงินมาซื้อโดยได้นำเงินบางส่วนที่ผู้ร้องเก็บสะสมมาตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์โดยเงินกู้ที่ได้มาเป็นเงินที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับจำเลย ย่อมถือเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 หาใช่เป็นเงินที่ได้มาจากการเปลี่ยนสินส่วนตัวของผู้ร้องมาเป็นสินสมรสดังเช่นที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง เมื่อรถยนต์คันพิพาทเป็นสินสมรส จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย และตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดคืนแก่ผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เมื่อจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในรถยนต์คันพิพาทนั้นด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนทันทีเมื่อทำสัญญาซื้อขาย แม้ยังไม่ได้โอนทะเบียน การนำรถไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลักทรัพย์
โจทก์ร่วมตกลงซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา 310,000 บาท ซึ่งในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า จำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้แต่ประการใดจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453, 458
ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้คันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
(ประชมใหญ่ครั้งที่ 9/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนทันทีเมื่อทำสัญญาซื้อขาย แม้ยังไม่ชำระเงินครบ การนำรถยนต์ไปโดยพลการถือเป็นการลักทรัพย์
โจทก์ร่วมซื้อรถยนต์ตู้จากจำเลยในราคา 310,000 บาท จำเลยรับชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และ 458 แม้จะได้ความว่าโจทก์ร่วมยังค้างชำระค่ารถยนต์ตู้อยู่ก็ตาม หากโจทก์ร่วมเพิกเฉยไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ร่วมผิดสัญญา จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อขอให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ให้ครบถ้วน จำเลยหามีสิทธิที่จะติดตามเอารถยนต์ตู้คันที่ขายไปนั้นคืนมาโดยพลการได้ไม่
การที่จำเลยบอกกับ ท. ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วมว่าจะมาเอารถยนต์ตู้ไป ท. มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้และมิใช่ผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมให้จำเลยกระทำการเช่นนั้น จึงเป็นการบอกกล่าวให้รับทราบเท่านั้น และ ท. มิได้มอบกุญแจรถยนต์ตู้เพื่อให้จำเลยนำรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างก็ตาม แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์เพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2553

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7829/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การใช้รถยนต์ของหน่วยงานโดยได้รับอนุญาต
องค์การบริหารส่วนตำบล บ. จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ส. ปลัดของจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่ง ส. ที่บ้าน จากนั้น ระหว่างทางกลับจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาททำให้รถยนต์เสียหลักชนเสาไฟฟ้าของโจทก์หักเสียหาย โดยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุม บำรุงรักษา และรับผิดชอบรถยนต์ของจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ ส. ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลา ฉะนั้นวันเกิดเหตุที่ ส. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่งตน แม้จะนอกเวลาราชการและเป็นไปเพื่อความประสงค์ของ ส. เอง แต่ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 โดย ส. ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ให้ทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล บ. และตามคำสั่งของ ส. จึงถือว่ากระทำไปในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว หาได้เป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
สิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐให้รับผิดทางละเมิดนั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3857/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิด รถยนต์เป็นยานพาหนะทั่วไปจึงไม่อยู่ในข่าย
การที่ศาลมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล และมีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำผิดนั้นๆ โดยตรง กล่าวคือทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วยการที่จำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดก็มิได้หมายความว่าใช้รถยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์และตามปกติรถยนต์ของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อใช้เดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป รถยนต์ของกลางย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง จึงเป็นทรัพย์สินที่ศาลไม่มีอำนาจสั่งริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยมิชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท จำเลยที่ 2 รับซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทนำรถยนต์คันพิพาทไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ทั้งการที่ บ. และจำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทของโจทก์มาจัดไฟแนนซ์กับบริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมาย
แม้ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์จะขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในรถยนต์คันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นออกให้แทนฉบับเดิม ก็เป็นการดำเนินการของนายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นตามที่ได้รับแจ้งข้อความเท็จจากจำเลยที่ 2 ถือว่าใบแทนคู่มือการจดทะเบียนเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนแต่โจทก์ก็มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับได้ตามเดิมศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11605/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิด แม้ไม่ใช่เจ้าของรถ แต่มีสิทธิใช้และครอบครองรถคันดังกล่าว
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มอบบัตรจอดรถซึ่งด้านหน้าระบุว่าต้องเสียค่าจอดรถชั่วโมงละ 10 บาท และหากทำบัตรจอดรถหายจะต้องถูกปรับ 200 บาท โดยต้องนำหลักฐานการเป็นเจ้าของรถมาแสดงให้แก่โจทก์และยินยอมให้โจทก์นำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถของห้างฯ จำเลยที่ 2 เมื่อคนร้ายลักรถยนต์โดยขับรถฝ่าพนักงานรักษาความปลอดภัยออกไปด้วยความเร็วและไม่คืนบัตรจอดรถให้แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแจ้งเหตุหรือสกัดจับ กลับรอกระทั่งโจทก์กลับมาจึงแจ้งให้ทราบ การกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นละเมิด และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายในรถยนต์ดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 59