พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผูกพันแม้ไม่มีตราบริษัท หากยอมรับผลงานและชำระเงินเป็นงวด
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่ากรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนบริษัทแต่ต้องประทับตราบริษัท การที่บริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์โดยในสัญญาไม่ได้ประทับตราบริษัทจำเลยแต่เมื่อบริษัทจำเลยยอมรับเอาผลงานที่โจทก์ทำให้ จนมีการชำระเงินค่าจ้างเรียบร้อยไปงวดหนึ่งแล้ว บริษัทจำเลยจะ ปฏิเสธว่าสัญญาจ้างดังกล่าวไม่ผูกพันบริษัทจำเลยหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
สัญญาจ้างซึ่งระบุว่าผู้จ้างจะจ่ายเงินค่าแรงงานในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ นั้น เมื่อผู้รับจ้างทำงานเสร็จตามงวดแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินตามงวดที่เสร็จไปแล้วได้ ไม่ต้องรอให้งานเสร็จครบถ้วนตามสัญญา
สัญญาจ้างซึ่งระบุว่าผู้จ้างจะจ่ายเงินค่าแรงงานในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ นั้น เมื่อผู้รับจ้างทำงานเสร็จตามงวดแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินตามงวดที่เสร็จไปแล้วได้ ไม่ต้องรอให้งานเสร็จครบถ้วนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: ความรับผิดชอบสินค้า, เงินทุนหมุนเวียน, และลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่ายในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญา ระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้น หากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องผิดสัญญาจ้าง: รายละเอียดเงินขาดไม่จำเป็นในฟ้อง และอายุความตามสัญญาจ้าง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายของหน้าร้าน รักษาเงินที่ส่งเป็นรายได้ของร้านและเบิกจ่ายเงินแล้วเงินขาดหายไปจากบัญชีจำนวนหนึ่งโดยไม่ได้แสดงว่าเงินที่ขาดบัญชีเป็นเงินประเภทใด จำนวนเท่าใด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะจำเลยย่อมจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ว่ามีเงินอยู่ถูกต้องตรงกับบัญชีหรือขาดจากบัญชีไปเท่าใด ส่วนรายการว่าเงินที่ขาดบัญชีเป็นเงินประเภทใดเป็นรายละเอียดที่ไม่จำต้องกล่าวในฟ้อง
แม้ถ้อยคำในฟ้องบางตอนจะใช้คำว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย แต่ก็ได้บรรยายรายละเอียดว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่อันเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน และจะนำอายุความในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีไม่ได้(ข้อกฎหมายข้อหลังประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
แม้ถ้อยคำในฟ้องบางตอนจะใช้คำว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย แต่ก็ได้บรรยายรายละเอียดว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่อันเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน และจะนำอายุความในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีไม่ได้(ข้อกฎหมายข้อหลังประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาจ้าง: จ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน และอายุความผิดสัญญาขนส่ง
จำเลยตกลงรับจ้างทำการชักลากไม้ของโจทก์จำนวน 60 ท่อน จากป่าระหารไปส่งให้แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างที่บ้านท่าพุทรา ซึ่งเป็นการขนเฉพาะไม้รายนี้ให้โจทก์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยโจทก์คิดค่าจ้างให้จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานนั้น ในจำนวนไม้ตามที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 60 บาท หาใช่เป็นสัญญาที่จำเลยมีหน้าที่จะต้องทำการขนไม้รายอื่น ๆ ให้โจทก์อยู่ตลอดเวลาที่จ้างตามที่กำหนดไว้นั้นไม่ สัญญาที่จำเลยทำจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ หาใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาจ้าง (จ้างทำของ vs จ้างแรงงาน) และอายุความของค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่อง
จำเลยตกลงรับจ้างทำการชักลากไม้ของโจทก์จำนวน 60 ท่อนจากป่าระหารไปส่งให้แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างที่บ้านท่าพุทราซึ่งเป็นการขนเฉพาะไม้รายนี้ให้โจทก์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยโจทก์คิดค่าจ้างให้จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานนั้น ในจำนวนไม้ตามที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 60 บาท หาใช่เป็นสัญญาที่จำเลยมีหน้าที่จะต้องทำการขนไม้รายอื่น ๆ ให้โจทก์อยู่ตลอดเวลาที่จ้างตามที่กำหนดไว้นั้นไม่ สัญญาที่จำเลยทำจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ หาใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนส่งไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนส่งไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้าง, การเลิกสัญญา, ค่าชดใช้การงาน
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ. พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไขดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ได้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่ แต่ข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่จะเอาการที่ ฟ. ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้เพราะ ฟ. เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้างไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงานโจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข ย่อมผิดสัญญา
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้างโจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างแต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วยจำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆการจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้วใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียวจำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้างโจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างแต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วยจำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆการจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้วใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียวจำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง: สัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง. ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่า. ระบุชื่อสัญญาว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน. นับแต่วันทำสัญญา. ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตราย. ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย. ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา. กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้. แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้. สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน. มิใช่สัญญาฝากทรัพย์. เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้าง. ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวัง.มิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ. ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม. ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน.
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน. กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ. จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี.
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน. กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ. จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกเงินตามเช็คกับฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างทำของ ไม่เกี่ยวพันกัน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์รับจ้างจำเลยต่อตัวถังรถยนต์ และจำเลยมอบเช็คดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นประกันสินจ้าง โจทก์ผิดสัญญาทำงานล่าช้า จำเลยบอกเลิกสัญญา เรียกรถยนต์และเช็คประกันคืน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยที่จ้างโจทก์ต่อตัวถัง อุปกรณ์หายไปหลายอย่าง จำเลยต้องจ้างบุคคลอื่นต่อตัวถังรถเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้น และจำเลยต้องขาดรายได้จากการเสียเวลาไม่ได้รับจ้างบรรทุกสินค้า จึงฟ้องแย้งเรียกค่าอุปกรณ์หาย ค่าจ้างที่เสียเพิ่มและค่าขาดรายได้จากโจทก์ ดังนี้เป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เพราะตามคำฟ้องเดิมมีประเด็นเพียงว่า. จำเลยจะต้องรับผิดชอบกับเช็คที่ออกไปนั้นเพียงใดตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องเช็ค ส่วนฟ้องแย้งเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาหรือเนื่องมาจากสัญญาอีกส่วนหนึ่งต่างหาก กรณีไม่เกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรับราชการและการค้ำประกันสัญญา: ความรับผิดเมื่อถูกปลดออกเนื่องจากผิดวินัย
นักเรียนจ่าในสถานศึกษาของกองทัพเรือซึ่งทำสัญญาไว้ว่าเมื่อเรียนสำเร็จ จะต้องรับราชการในสังกัดกองทัพเรือไม่น้อยกว่า 5 ปี มิฉะนั้นต้องเสียค่าตอบแทน แม้การที่รับราชการไม่ครบ เป็นเพราะทางราชการสั่งปลด เนื่องจากกระทำผิดวินัยย่อมถือว่าผู้นั้นกระทำตนเองให้ไม่อาจรับราชการต่อไปได้ จึงต้องใช้ค่าตอบแทนตามสัญญา กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ากองทัพเรือบอกเลิกสัญญาหรือบอกปัดการชำระหนี้ของลูกหนี้
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขตเจ้าหนี้ย่อมทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้
คดีฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนในการที่นักเรียนจ่ามิได้รับราชการให้ครบกำหนดตามสัญญา ไม่อยู่ในอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(11),(12),(13)
กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือและป้องกันราชอาณาจักร การจัดตั้งสถานศึกษาฝึกคนเตรียมกำลังไว้ย่อมเป็นหน้าที่ การที่กองทัพเรือทำสัญญาผูกมัดบุคคลที่เข้าศึกษาอบรมให้รับราชการในสังกัดตามระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นต้องเสียค่าตอบแทน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายย่อมอยู่ในอำนาจของกองทัพเรือ หาเป็นการนอกขอบเขตแห่งวัตถุที่ประสงค์ไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขตเจ้าหนี้ย่อมทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้
คดีฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนในการที่นักเรียนจ่ามิได้รับราชการให้ครบกำหนดตามสัญญา ไม่อยู่ในอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(11),(12),(13)
กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือและป้องกันราชอาณาจักร การจัดตั้งสถานศึกษาฝึกคนเตรียมกำลังไว้ย่อมเป็นหน้าที่ การที่กองทัพเรือทำสัญญาผูกมัดบุคคลที่เข้าศึกษาอบรมให้รับราชการในสังกัดตามระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นต้องเสียค่าตอบแทน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายย่อมอยู่ในอำนาจของกองทัพเรือ หาเป็นการนอกขอบเขตแห่งวัตถุที่ประสงค์ไม่