คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีเช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า กรณีดังกล่าวทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: ผู้เสียหายตกหลุมพราง ไม่ได้ร่วมเล่นการพนันโดยสมัครใจ มีสิทธิฟ้อง
จำเลยทั้งสามกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะเล่นการพนันเอาทรัพย์สินกัน แต่เป็นแผนการหรือกลอุบายอย่างหนึ่งที่จำเลยทั้งสามสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อจะหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วม ทั้งโจทก์ร่วมมิได้มีเจตนาที่จะไปร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสามมาแต่ต้น การที่โจทก์ร่วมมอบเงินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเพื่อเข้าหุ้นเล่นการพนันดังกล่าวเป็นการตกหลุมพรางที่วางกับดักเอาไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสามโดยไม่ได้รับอนุญาต อันจะเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดฐานฉ้อโกงเงินของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสั่ง และสั่งว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขอทางจำเป็น: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ฟ้องได้ แม้มีทางเข้าออกอื่นแต่ไม่สะดวกใช้รถยนต์ก็ไม่เพียงพอ
ในเรื่องทางจำเป็น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 เท่านั้น แม้จะฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น
โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 5 ส.น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 โดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใด ความเป็นเจ้าของของแต่ละคนจึงครอบที่ดินทั้งแปลง ดังนั้น เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจึงอาจใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของรวมครอบที่ดินทั้งแปลงเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่นซึ่งรวมถึง ส. ด้วย กล่าวคือหากโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้ ทางดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นสำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 เพราะจากที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของ ส. เอง การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับที่ดินของจำเลยไว้เพียงประมาณ 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้แต่ยังคงเดินเข้าออกได้นั้นเป็นเพียงทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางจำเป็น: เจ้าของที่ดินเท่านั้นมีสิทธิฟ้อง และการมีทางออกอื่นแม้ไม่สะดวกก็ไม่อาจฟ้องได้
ทางจำเป็นนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินแต่เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินเท่านั้น แม้ที่ดินดังกล่าวถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น
โจทก์ที่ 4 ที่ 5 ส. น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 โดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใด ความเป็นเจ้าของของแต่ละคนจึงครอบที่ดินทั้งแปลง เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจึงอาจใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของรวมครอบที่ดินทั้งแปลงเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่นซึ่งรวมถึง ส. ด้วย กล่าวคือหากโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้ ทางดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นสำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ได้ เพราะ ส. สามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของตนเอง การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับของจำเลยไว้เพียง 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้แต่ยังคงเดินเข้าออกได้นั้นเป็นเพียงทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิการฟ้องอาญา ยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยกับพวกต่อศาลแรงงานภาค 5 เป็นการฟ้องเนื่องจากจำเลยกับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยกับพวกจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ "ยอมความกัน" สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การรับของโจรและการใช้เอกสารราชการปลอม - สิทธิในการฟ้องคดีอาญา
ข้อเท็จจริงที่ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองถูกจับในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้แล้วจำเลยทั้งสองยังได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์อีกจำนวน 3 คัน ซึ่งถูกคนร้ายลักเอาไป มิได้เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองรับของโจรรถยนต์ทั้งสี่คันในคราวเดียวกัน อันจะถือได้ว่าเป็นความผิดกรรมเดียว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นหมายเรียกผู้เสียหายมาสอบถามหากไม่มาถือว่าผู้เสียหายยอมรับความจริงตามที่ทนายจำเลยแถลง ผู้เสียหายได้รับหมายแล้วไม่มาศาล จึงถือว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยจริง ถือว่าได้มีการทำยอมโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องชัดเจนถึงความสัมพันธ์และฐานะทางกฎหมายของผู้ฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ปรากฏข้อความที่กล่าวถึงการที่จำเลยทั้งสามโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในข้อ 3 ว่า "ด้วยผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวในข้อ 2 ทำให้โจทก์และบุตรอีก 3 คน ต้องได้รับความเสียหายและขาดผู้อุปการะ..." โดยคำฟ้องของโจทก์ข้ออื่นตลอดจนเอกสารท้ายฟ้องทุกฉบับไม่ปรากฏข้อความใดที่ระบุว่าโจทก์และบุตรทั้งสามของโจทก์เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ตาย ในฐานะใด อันมีผลทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ในฐานะส่วนตัวหรือฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสามได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการบรรยายฟ้องโดยไม่แจ้งชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิใดในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพ และโจทก์อาศัยสิทธิใดในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับเรื่องการต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เข้าใจและไม่สามารถต่อสู้คดีปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ได้ตามสมควร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จะได้ความในทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 อาจทราบฐานะของโจทก์ว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมาก่อนที่โจทก์ฟ้องคดี ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ตามรายงานประจำวันธุรการไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายก่อน โดยต้องชำระเงินค่าเสียหายตามข้อตกลง เมื่อครบกำหนดสัญญาที่จำเลยตกลงชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้ ผู้เสียหายจึงไปร้องทุกข์ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระเงินให้ตามที่ตกลง ฝ่ายผู้เสียหายก็ยังติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอยู่ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาลและฝ่ายผู้เสียหายรับไปแล้ว ก็ไม่มีผลผูกพันฝ่ายผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญากัน กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น แม้ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิดได้ เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยสักครั้งหนึ่งเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่าที่จะจำคุกจำเลยไปเสียทีเดียว
of 57