คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่าซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันการเช่าซื้อ: สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์หากไม่มีการกู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินและจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนอง ขอให้บังคับจำเลยไถ่ถอนจำนองหากไม่ไถ่ถอนก็ขอให้บังคับจำนอง จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจำนอง ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างสามีจำเลยกับสามีโจทก์ สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อ จึงให้จำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เป็นประกันดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสัญญาจำนองทำขึ้นเพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อมิใช่เพื่อประกันการกู้ดังโจทก์ฟ้องขอบังคับแล้วศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อ: การคืนเงินค่าเช่าซื้อหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยหักค่าประโยชน์ที่โจทก์ได้รับ
กรณีที่ถือได้ว่าผู้เช่าและเจ้าของทรัพย์สินมีเจตนาเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เงินที่ผู้เช่าชำระให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเป็นค่าเช่าไปแล้วนั้นต้องหักค่าที่ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อออกเสียก่อน ที่เหลือจึงคืนแก่ผู้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาเช่าซื้อระบุความรับผิดของผู้ซื้อแม้รถยนต์สูญหายจากเหตุสุดวิสัย ผู้ซื้อยังต้องรับผิดตามสัญญา
ข้อความในสัญญามีว่า "แม้สัญญาฉบับนี้จะต้องผ่านการโอนการต่ออายุ หรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญานี้แต่อย่างใดไม่" ข้อความในสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้ซื้อจะต้องรับผิดใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย ไม่ว่ารถยนต์จะสูญหายไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามจึงรวมถึงการสูญหายไปเพราะเหตุสุดวิสัยด้วย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4,6/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดแม้รถยนต์สูญหายหรือเสียหายจากเหตุสุดวิสัย
ข้อความในสัญญามีว่า 'แม้สัญญาฉบับนี้จะต้องผ่านการโอน การต่ออายุ หรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญานี้แต่อย่างใดไม่' ข้อความในสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้ซื้อจะต้องรับผิดใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย ไม่ว่ารถยนต์จะสูญหายไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามจึงรวมถึงการสูญหายไปเพราะเหตุสุดวิสัยด้วย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4,6/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินดาวน์เช่าซื้อ, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การชำระด้วยเช็ค, ความเสียหายจากการใช้รถ
เงินดาวน์เป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งที่ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระในวันทำสัญญา หาใช่เงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ ตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินดาวน์ด้วย ตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อห้ามการชำระค่าเช่าซื้อด้วยเช็คโจทก์ผู้ให้เช่าย่อมรับชำระเงินดาวน์ด้วยเช็คได้ เมื่อโจทก์รับเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหาย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขายฝากแล้วฟ้องแย้งสิทธิ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ส่วนโรงงานน้ำแข็งในที่ดินของผู้อื่นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2 มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยเมื่อรถยนต์ถูกยึด เจ้าของไม่มีสิทธิรับเงินดาวน์คืน
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ จึงมีหนี้ที่จะต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์นั้น แต่โจทก์ได้รถยนต์ไปใช้เพียง 3 เดือนยังไม่ถึง 24 เดือนตามที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อโดยมิได้ผิดนัดไม่ใช้เงินแก่จำเลย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดรถยนต์ไปจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถคืนให้โจทก์ได้อีก การชำระหนี้ของจำเลยคือต้องให้โจทก์ได้ใช้หรือรับประโยชน์ในรถยนต์คันนั้น กลายเป็นพ้นวิสัยเสียแล้ว โดยจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทน คือเงินที่โจทก์ได้ชำระครั้งแรกให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยเมื่อทรัพย์สินถูกยึด จำเลยไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าซื้อ
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ จึงมีหนี้ที่จะต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์นั้น แต่โจทก์ได้รถยนต์ไปใช้เพียง 3 เดือนยังไม่ถึง 24 เดือนตามที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ผิดนัด ไม่ใช้เงินแก่จำเลย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดรถยนต์ไปจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถคืนให้โจทก์ได้อีก การชำระหนี้ของจำเลยคือต้องให้โจทก์ได้ใช้หรือรับประโยชน์ในรถยนต์คันนั้น กลายเป็นพ้นวิสัยเสียแล้ว โดยจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทน คือเงินที่โจทก์ได้ชำระครั้งแรกให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม: การคืนเงินค่าประกันภัยที่จ่ายไปแล้วในการเช่าซื้อรถ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวขอซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยระบบเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินมัดจำโดยสั่งจ่ายเช็คฉบับละ 5,000 บาทหลายฉบับ ต่อมาได้สั่งจ่ายเช็คอีก 2 ฉบับ มอบให้โจทก์แทนเช็คฉบับก่อนเช็ค 2 ฉบับนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินตามเช็คจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าประกันรถที่เช่าซื้อจากโจทก์คันละ 5,000 บาทให้โจทก์เป็นผู้ไปประกันแล้วเอาสัญญาประกันภัยมามอบให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไป 6 ฉบับๆ ละ 5,000 บาทโจทก์นำเช็ค 4 ฉบับเบิกเงินจากธนาคารไปแล้ว แต่ไม่นำสัญญาประกันภัยมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่นำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 1 จึงถูกตำรวจเรียกตัวไป แต่ตกลงกันได้โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็ค 2 ฉบับอีก 6,000 บาท จะจ่ายภายใน 3 วัน โจทก์มิได้ประกันภัยและนำสัญญาประกันภัยรถยนต์มาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้ง ขอให้โจทก์คืนเงิน 24,000 บาท เงิน 24,000 บาทที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกคืนนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเนื่องจากจำเลยที่ 2 จ่ายเป็นเช็คให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยเป็นเงินที่จำเลยที่ 2 จ่ายเป็นค่าประกันภัยรถที่เช่าซื้อจากโจทก์ คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม: ค่าประกันภัยรถเช่าซื้อ จำเลยมีสิทธิเรียกคืนเงินจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว ขอซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยระบบเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินมัดจำโดยสั่งจ่ายเช็คฉบับละ 5,000 บาทหลายฉบับ ต่อมาได้สั่งจ่ายเช็คอีก 2 ฉบับ มอบให้โจทก์แทนเช็คฉบับก่อน เช็ค 2 ฉบับนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าประกันรถที่เช่าซื้อจากโจทก์คันละ 5,000 บาทให้โจทก์เป็นผู้ไปประกันแล้วเอาสัญญาประกันภัยมามอบให้จำเลยที่ 2. จำเลยที่ 2 จึงจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไป 6 ฉบับๆ ละ 5,000 บาท โจทก์นำเช็ค 4 ฉบับเบิกเงินจากธนาคารไปแล้ว แต่ไม่นำสัญญาประกันภัยมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่นำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 1 จึงถูกตำรวจเรียกตัวไป แต่ตกลงกันได้ โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็ค 2 ฉบับอีก 6,000 บาทจะจ่ายภายใน 3 วัน โจทก์มิได้ประกันภัยและนำสัญญาประกันภัยรถยนต์มาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ฟ้องแย้ง ขอให้โจทก์คืนเงิน 24,000 บาท เงิน 24,000 บาทที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกคืนนี้ เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเนื่องจากจำเลยที่ 2 จ่ายเป็นเช็คให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์ โดยเป็นเงินที่จำเลยที่ 2 จ่ายเป็นค่าประกันภัยรถที่เช่าซื้อจากโจทก์ คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
of 75