พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาและเอกสารให้แก่คู่ความอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า รับเป็นฎีกาของจำเลยที่ 1 สำเนาให้ผู้สวมสิทธิแทนโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แก้ฎีกา ให้ผู้ร้องนำส่งภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ในวันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาและคำแถลงดังกล่าว ทนายจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องที่ประทับตราด้านล่างฎีกาและคำแถลงของจำเลยที่ 1 ว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นอย่างช้าที่สุดในวันที่ 25 เมษายน 2556 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 แต่จำเลยที่ 1 คงนำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์โดยวางเงินค่านำส่งในวันที่ยื่นฎีกาและคำแถลงเท่านั้น มิได้ส่งคำร้องไม่คัดค้านของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่อย่างใด ถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 (เดิม) และ 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องในคดีอาญา: ผู้เสียหายที่ไม่ใช่คู่ความไม่มีสิทธิเพิกถอนกระบวนพิจารณา
การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีจะต้องกระทำโดยคู่ความ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) คู่ความ หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง และตามมาตรา 2 (14) โจทก์หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน แม้ผู้ร้องอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสาม แต่เมื่อผู้ร้องไม่ใช่คู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเข้ามาในคดีเพื่อขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องละเมิดเพื่อล้มล้างผลคำพิพากษาเดิมเป็นเรื่องไม่สมควร
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกให้รับผิดชำระเงินตามเช็ค โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวให้การว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค แต่ไม่สืบพยาน ต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจฟ้องให้โจทก์รับผิด คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แม้เป็นเรื่องละเมิดอ้างว่าจำเลยเบิกความเท็จ แต่ก็เรียกค่าเสียหายมาเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คที่โจทก์ต้องรับผิดในคดีก่อน เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์มีจุดประสงค์เพื่อให้ศาลพิพากษาว่า พยานหลักฐานของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนเป็นพยานเท็จรับฟังไม่ได้ จำเลยไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ และโจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยตามคำพิพากษาในคดีก่อน ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ข้ออ้างดังกล่าวล้วนไม่อาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียซึ่งความมีผลผูกพันของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวได้ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากคำพิพากษาในคดีก่อนหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะและพินิจเป็นข้อมูลลับ ห้ามเปิดเผยแก่คู่ความ
พนักงานคุมประพฤติจัดทำรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีโดยได้ดำเนินการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกสืบเสาะและพินิจแล้วจัดทำรายงานและเสนอความเห็นต่อศาล ซึ่งข้อมูลที่พนักงานคุมประพฤติแสวงหามาได้มีทั้งผลดีและผลร้ายต่อจำเลยเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือดุลพินิจในการกำหนดโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 ข้อเท็จจริงในชั้นพนักงานคุมประพฤติเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ได้กำหนดโทษผู้นำความลับนั้นไปเปิดเผย รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจึงเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (2) (3) (4) และ (6) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์คัดถ่ายรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกลุ่มออมทรัพย์ฯ และกรรมการ: การเป็นคู่ความที่มิชอบตามกฎหมาย
เดิมโจทก์ใช้ชื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นชื่อคู่ความ ต่อมาแก้ฟ้องใช้ชื่อ ส. กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นคู่ความแทน เมื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่เป็นบุคคลตาม ป.พ.พ. จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ดังนั้น ส. กับพวก ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แม้ ส. กับ จ. จะเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังกล่าว แต่ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว จึงไม่สามารถมอบอำนาจให้ ภ. ดำเนินคดีแทนได้ เมื่อ ส. กับพวกไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ห้ามฟ้องประเด็นเดิมอีก
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสิบห้าออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสิบห้าได้หรือไม่ ซึ่งที่ดินพิพาทในคดีก่อนก็คือที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับคดีนี้ แม้คดีนี้โจทก์จะเปลี่ยนรูปคดีจากเรื่องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการเรียกทรัพย์คืนและเรียกค่าเสียหาย แต่ก็มีคำขอให้จำเลยออกไปจากสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทแปลงเดิมเหมือนคดีก่อน ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า ประเด็นข้อนี้มีอยู่แล้วในคดีก่อนเป็นแต่ศาลยังมิได้วินิจฉัย เพราะศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปตามคำท้า แม้ในคดีก่อนศาลจะมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยตรง เนื่องจากคู่ความตกลงท้ากันเฉพาะผลคดีแพ่งเรื่องอื่นเป็นข้อแพ้ชนะ แต่เมื่อศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก่อนไปตามคำท้าของคู่ความให้โจทก์แพ้คดีโดยพิพากษายกฟ้องไปแล้ว คำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ได้อีก มิฉะนั้นผู้ที่แพ้คดีตามคำท้าก็จะนำคดีมาฟ้องร้องใหม่อีกโดยไม่จบสิ้น อีกทั้งคู่ความในคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และคดีก่อนได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีที่มีประเด็นเดียวกันและคดีถึงที่สุดแล้วมาฟ้องใหม่อีกเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงร่วมกันของคู่ความมีผลผูกพันศาลตามหลักการยอมรับของคู่ความ (principle of party disposition)
ในวันนัดเดินเผชิญสืบ คู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องของแผนผังและแถลงสละประเด็นพิพาท ข้อ 2 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นพิพาท ข้อ 2 อีกต่อไป ข้อเท็จจริงจึงเป็นไปตามที่คู่ความยอมรับกันในความรับรู้ของศาลตามหลักความประสงค์ของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) และมาตรา 99 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์เรื่องหน้าที่นำสืบ เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานหรือเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด