คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 634 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากภรรยาและชายชู้ กรณีภรรยามีชู้ โดยไม่มีสิทธิริบทรัพย์
กฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 10 ซึ่งให้ริบทรัพย์ในกรณีที่ภรรยามีชู้นั้นเป็นอาญาสินไหม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีบทให้ริบทรัพย์จึงถือว่าถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หญิงมีชู้สามีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภรรยาและชู้ได้
หมายเหตุ ภรรยาได้ฟ้องหย่าและขอแบ่งทรัพย์ไว้ก่อนแล้วและได้ทำยอมต่อศาลยอมหย่าและแบ่งทรัพย์กัน เมื่อวันที่12 มิถุนายน 2487 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2487

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางผ่าน (ทางจำเป็น) ในที่ดินที่ถูกล้อม การเสนอค่าทดแทนไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเป็น
จำเลยปิดกั้นทางเดินซึ่งโจทก์ใช้เดินออกถนนใหญ่อยู่โดยปรกติ แม้โจทก์อาจเดินออกมาทางอื่นได้ แต่เป็นทางร่องสวน และต้องเปิดรั้วบ้านบุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ทางของปรกติชนใช้ไปมา ดังนี้ถือได้ว่าที่โจทก์อยู่ในที่ล้อม
ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อม โจทก์มีสิทธิ์จะขอทางผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไป สู่ทางสาธารณะได้
จำเลยให้การลอย ๆ ว่าโจทก์มิได้เสนอค่าทดแทนที่จะผ่าน มิได้เถียงว่าจำเลยไม่เปิดทางให้โจทก์เดินเพราะโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทนดังนี้ ย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบถึงเรื่องค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม – การเสนอค่าทดแทนไม่ใช่เงื่อนไขเบื้องต้น
จำเลยปิดกั้นทางเดินซึ่งโจทก์ใช้เดินออกถนนใหญ่อยู่โดยปกติแม้โจทก์อาจเดินออกมาทางอื่นได้ แต่เป็นทางร่องสวน และต้องเปิดรั้วบ้านบุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ทางของปกติชนใช้ไปมาดังนี้ ถือได้ว่าที่โจทก์อยู่ในที่ล้อม
ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อม โจทก์มีสิทธิจะขอทางผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไป สู่ทางสาธารณะได้
จำเลยให้การลอยๆ ว่าโจทก์มิได้เสนอค่าทดแทนที่จะผ่านมิได้เถียงว่าจำเลยไม่เปิดทางให้โจทก์เดินเพราะโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทน ดังนี้ ย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบถึงเรื่องค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นต้องมีของหมั้น จึงจะเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาได้
เพียงแต่สัญญาจะทำการสมรส แต่ไม่มีของหมั้นจะฟ้องเรียกค่าทดแทนถานผิดสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายสมรสไม่ใช่ค่าทดแทนในคดีผิดสัญญา, ศาลยึดถือหน้าที่นำสืบที่ไม่ได้โต้แย้ง
ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูในพิธีสมรสไม่เป็นค่าทดแทนอันจะพึงเรียกจากกันได้ในกรณีผิดสัญญาสมรส ศาลสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งไว้ในรายงานพิจารณาหรือในสำนวนความแล้ว จะยกขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้อ้างฎีกาที่ 523/86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าจากการกระทำของทั้งสองฝ่าย ค่าทดแทนเหมาะสม และการแบ่งสินสมรสที่ดิน
โจทก์บันทึกข้อความหลายตอนลงในสมุดบันทึกที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความรักฉันชู้สาวกับชายอื่น ย่อมทำให้ครอบครัวแตกแยกขาดความปกติสุข อีกฝ่ายหนึ่งต้องมีความทุกข์ทรมาน ถือว่าได้รับความเดือดร้อนเกินควร การกระทำดังกล่าวจึงถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6)
ในคดีแพ่งผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้ชัดแจ้งเท่านั้น ส่วนการปรับบทกฎหมายแก่คดีเป็นหน้าที่ของศาล ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุหย่าตามป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีได้ความจากการสืบของทั้งสองฝ่ายถือเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (6) ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
จำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ อันเป็นสัญญาที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามมาตรา 1471 (3) ไม่ใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม แม้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปกว่าคำขอของโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิต ต้องด้วยความยินยอมของทุกฝ่าย หรือตกลงร่วมกัน หากไม่มีความตกลง การจ่ายเป็นรายเดือนตามกฎหมายจึงชอบ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20..." และมาตรา 24 บัญญัติว่า "การจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี จะตกลงกันจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นก็ได้" จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือน เพื่อให้มีเงินช่วยเหลือในการดำรงชีวิตในระยะยาว การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นนั้น จะทำได้ต้องเกิดจากการตกลงกันระหว่างนายจ้างหรือสำนักงานประกันสังคมกับลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาตกลงอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองคราวเดียว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 11 และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายเดือน ตามมาตรา 18 (4) จึงเท่ากับว่าจำเลยไม่ประสงค์จะตกลงกับโจทก์ทั้งสองในการจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่สามารถขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนได้ตามมาตรา 24 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวบางส่วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่า, สินสมรส, ค่าทดแทน, และการคืนค่าขึ้นศาลกรณีพิพากษาไม่ตรงตามคำขอ
แม้โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้าง แต่การร่วมประเวณีต้องเกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมก็ไม่อาจบังคับได้ หากขืนใจถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276
การที่จำเลยเรียกบุตรผู้เยาว์มาฟังคำด่าจนโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีเพื่อให้บุตรผู้เยาว์ไปพักผ่อน เช่นนี้จะถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีไม่ได้ และการที่โจทก์มดลูกอักเสบจากการร่วมประเวณีของจำเลย จำเลยทราบแต่ไม่หยุดร่วมประเวณีกับโจทก์ จนโจทก์ต้องหนีออกจากบ้าน พฤติกรรมของจำเลยถือเป็นการทำร้ายหรือทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3) และยังถือเป็นพฤติการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความฟ้องหย่าและค่าทดแทนชู้สาว ศาลแก้เป็นตามสัญญาประนีประนอม
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินค่าทดแทน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท โดยจำเลยที่ 1 เห็นว่าประเด็นหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งศาลชั้นต้นสั่งให้ใช้แทน จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาท และจำเลยที่ 2 เห็นว่ารับผิดในค่าธรรมเนียมแทนโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งจึงวางเงินเพียง 3,260 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง เห็นว่าศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์มาโดยไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลเพิ่มเติม เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจผิดว่าตนปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้องแล้ว แสดงว่าไม่จงใจจะกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย สมควรให้โอกาสจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับจำเลยที่ 1 และขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนที่ล่วงเกินจำเลยที่ 1 ในทางชู้สาวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ให้การว่า ไม่ได้เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2 ข่มขืน จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันวางแผนทำลายชื่อเสียงจำเลยที่ 2 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์เข้าใจเกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 เป็นอย่างดีแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติกรรมไปในทางชู้สาวกับจำเลยที่ 2 และมิได้เป็นผู้ประพฤติชั่วและจะขออยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ไม่ประสงค์จะหย่าขาดจากกัน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรูปคดีของจำเลยที่ 2 ประเด็นฟ้องหย่าจึงพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเห็นควรหยิบยกปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แก่โจทก์หรือไม่ด้วย ซึ่งการกระทำในทำนองชู้สาวต้องมีผู้กระทำสองฝ่าย เมื่อฝ่ายหญิงคือ จำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติกรรมในทางชู้สาวกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมแสดงว่าฝ่ายชายคือจำเลยที่ 2 ไม่มีการกระทำในทำนองชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6804/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนจากชู้: การพิสูจน์ความรู้และเจตนา, อายุความ, และการกำหนดจำนวนค่าทดแทนที่เหมาะสม
ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุภริยามีชู้ สามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากชู้ บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ชายชู้หรือชายที่มาล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาวจะต้องทราบว่าหญิงนั้นเป็นหญิงมีสามีแล้ว แต่ยังจงใจละเมิดสิทธิสามี จึงต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของโจทก์แต่ยังเป็นชู้และร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 เป็นอาจิณ โจทก์ซึ่งเป็นสามีย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือมาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง หมายถึง กรณีที่เหตุที่กล่าวอ้างนั้นมิได้เกิดเหตุนั้นอีก สิทธิฟ้องร้องจึงระงับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง แต่จำเลยที่ 2 ยังคงประพฤติเหตุดังกล่าวภายหลังวันที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าโจทก์รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ อันเป็นการกระทำเหตุดังกล่าวต่อเนื่อง สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
of 64