พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเส้นด้ายเพื่อใช้ในการผลิตถุงปูนซิเมนต์ถือเป็นการขายสินค้าตามกฎหมายภาษีอากร
บริษัทโจทก์สั่งซื้อเส้นด้ายใยประดิษฐ์เข้ามาจากต่างประเทศใช้เย็บถุงกระดาษบรรจุผงซิเมนต์ซึ่งโจทก์ผลิตบรรจุถุงขาย มิได้นำเส้นด้ายนี้ไปขาย ไม่เป็นการสั่งเส้นด้ายเข้ามาผลิตปูนซิเมนต์ ไม่ว่าโจทก์จะขายโดยคำนวณต้นทุนรวมถุงด้วยหรือไม่ โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าโดยถือการนำเข้าเป็นการขายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตภัณฑ์ชงดื่มกับการยกเว้นภาษี: การพิจารณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และความประสงค์ของผู้ผลิต
ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้แก่องค์การคลังสินค้า จัดทำผ่านกรรมวิธีมาแล้วหลายขั้นตอนจนสามารถชงดื่มได้ ถือได้ว่าใบชาและชาผงดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชี 1 หมวด 1 (3) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลกฎหมายรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 43) พ.ศ.2516 แม้ใบชาและชาผงของบริษัทโจทก์จะไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่ได้ปรุงแต่งรสกลิ่นและความสะอาดไม่ดีนัก ก็ไม่ทำให้ใบชาและชาผงนั้นไม่เป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่ม ส่วนที่พ่อค้าซื้อใบชาและชาผงของบริษัทโจทก์ไปจากองค์การคลังสินค้าแล้วนำไปผ่านกรรมวิธีอีกครั้งหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่พ่อค้าประสงค์จะให้ใบชาและชาผงนั้นมีคุณภาพและรสดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่านั้น
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การคลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้น มีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ทวิ (2) (ด) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (3) ตามบัญชีอัตราการค้า
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การคลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้น มีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ทวิ (2) (ด) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (3) ตามบัญชีอัตราการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากรต่างด้าว: ความรับผิดเมื่อไม่กลับเข้าประเทศภายใน 180 วัน
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4 อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากรของคนต่างด้าวมีผลผูกพันเมื่อผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนเนื่องจากผู้ถูกค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุระ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนติดตั้งสถานีวิทยุและเครื่องจักร รวมถึงส่วนลดที่ไม่จ่ายให้ผู้ซื้อ ถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่
รายจ่ายค่าติดตั้งสถานีวิทยุซึ่งตั้งขึ้นแล้วเป็นทรัพย์สินของบริษัทโจทก์ และรายจ่ายให้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งเครื่องจักร และเตาเผาของบริษัทโจทก์ เป็นรายจ่ายที่บริษัทโจทก์จ่ายไปแล้วได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายเกิดเป็นทุนรอน หรือทรัพย์สินของบริษัทโจทก์ถือว่าเป็นรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
โจทก์มีหลักเกณฑ์จ่ายเงินส่วนลดให้แก่ผู้ซื้อปูนซิเมนต์ของโจทก์ทุกรายการตามอัตราที่กำหนดเป็นรายต้น กรมชลประทานซื้อปูนซิเมนต์จากโจทก์จำนวนหนึ่ง โจทก์จึงจ่ายเงินส่วนลดตามอัตราที่กรมชลประทานจะได้รับให้แก่สวัสดิการของกรมชลประทาน ซึ่งคณะข้าราชการในกรมชลประทานจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือข้าราชการในกรมนั้น มิได้จ่ายให้แก่กรมชลประทานผู้ซื้อ เพราะถ้าจ่ายแก่กรมชลประทาน เงินนั้นจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้จ่ายให้แก่กรมชลประทานจึงมิใช่เป็นการจ่ายให้แก่ผู้ซื้อตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ รายจ่ายนี้จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช้รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) จึงไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
โจทก์มีหลักเกณฑ์จ่ายเงินส่วนลดให้แก่ผู้ซื้อปูนซิเมนต์ของโจทก์ทุกรายการตามอัตราที่กำหนดเป็นรายต้น กรมชลประทานซื้อปูนซิเมนต์จากโจทก์จำนวนหนึ่ง โจทก์จึงจ่ายเงินส่วนลดตามอัตราที่กรมชลประทานจะได้รับให้แก่สวัสดิการของกรมชลประทาน ซึ่งคณะข้าราชการในกรมชลประทานจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือข้าราชการในกรมนั้น มิได้จ่ายให้แก่กรมชลประทานผู้ซื้อ เพราะถ้าจ่ายแก่กรมชลประทาน เงินนั้นจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้จ่ายให้แก่กรมชลประทานจึงมิใช่เป็นการจ่ายให้แก่ผู้ซื้อตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ รายจ่ายนี้จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช้รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) จึงไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขเงินเพิ่มภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 โดยคำนึงถึงเจตนาผู้เสียภาษี
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการเสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 ได้(อ้างฎีกาที่ 989-993/2498) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่า ของจำนวนเงินภาษีอากร ดังนี้ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะเสียภาษีเงินได้ของตนให้น้อยลงกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายโดยผลักภาระการเสียภาษีเงินได้ของตนให้บริษัทที่ตนตั้งขึ้นเป็นผู้ชำระแทนมิได้ตั้งใจจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีเงินได้เสียทีเดียว ศาลย่อมมีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มเพียง 1 เท่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68, 69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำะแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนที่ห้างโจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเลี่ยงภาษี การยื่นแบบไม่ครบถ้วนแตกต่างจากไม่ยื่นเลย ศาลยกฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า (ภ.ด.(พ) 4) ทำให้ภาษีการค้าขาดไป ไม่ใช่กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าแล้วยื่นไม่ครบแต่ประการใด แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในกรณีความผิดที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ทวิ หาใช่กรณีที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าอันเป็นเท็จโดยวิธียื่นขาดไปไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 37 ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยื่นเสียภาษีการค้าตลอดมาทุกเดือน เพียงแต่บางเดือนจำเลยยื่นไม่ครบ บางเดือนก็ยื่นเกินกว่ารายรับ จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192