คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รอการลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 620 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกัน ลักทรัพย์และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและรอการลงโทษ
จำเลยลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายแล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ดังนั้น การลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายกับลักเงินของผู้เสียหายโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติในแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าการกระทำแต่ละครั้งดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยรวม 14 กระทง ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีซ้ำ และดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
แม้ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ตามคดีอาญาหมายแดงที่ 925/2545 ของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี และจำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ตามแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10368/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติในคดีเสพยาเสพติดขณะปฏิบัติหน้าที่ พิจารณาจากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำความผิดอื่นอีก น่าเชื่อว่าจำเลยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติจำเลยไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10143/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการชิงทรัพย์ - การทำร้ายร่างกาย - รอการลงโทษ
ผู้เสียหายกับจำเลยรู้จักกันมาก่อน ไปเที่ยวดื่มสุราด้วยกัน พยานโจทก์ที่ไปในที่เกิดเหตุกับจำเลยและผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะที่กำลังรอรถโดยสารประจำทางอยู่นั้น จำเลยกับผู้เสียหายกอดกันในฐานะคนรัก หลังเกิดเหตุเมื่อสิบตำรวจเอก ป. ตามไปพบจำเลยอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ 100 เมตร พบจำเลยถอดเสื้อเอาเสื้อพาดบ่าไว้ โดยจำเลยมีอาการมึนเมาและร้อยตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ขณะจับตัวจำเลย จำเลยมีอาการมึนเมา จากพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยรู้จักคุ้นเคยกับผู้เสียหายและจำเลยกระทำในขณะมึนเมา การที่จำเลยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปนั้นไม่ได้ประสงค์จะเอาไปในลักษณะเป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยมิได้เจตนาที่จะเอาทรัพย์ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรเครดิตปลอม ชดใช้ความเสียหายต่อสถาบันการเงินและสังคม ศาลไม่รอการลงโทษ
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 17)ฯ กำหนดความผิดอาญาและอัตราโทษสำหรับการกระทำผิดเกี่ยวกับบัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดและต้องระวางโทษตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 267/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หลังขับรถขณะเสพยาเสพติด และการรอการลงโทษจำคุก
พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่" บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้แล้ว ให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ด้วย อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง แล้ว ย่อมต้องมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5047/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยอ้างให้ใช้กฎหมายเกี่ยวกับโทษและรอการลงโทษ
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ข้อที่จำเลยฎีกาว่า หลังจากถูกจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพและให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าพนักงานตลอดมา ตั้งแต่ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ขอให้นำ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/1 และ 100/2 มาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำให้การของจำเลย โดยโจทก์มิได้รับรอง และอ้างอีกประการว่า คดีมีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 โดยจำเลยระบุในฎีกาว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยอ้างและใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษตามความประสงค์ของจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนในการรอการลงโทษ แม้โทษจำคุกเกิน 2 ปี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 106 (3) ให้อำนาจศาลพิจารณารอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเด็กหรือเยาวชนตาม ป.อ. ได้ แม้ว่าศาลจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่า 2 ปี และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นลงโทษขั้นต่ำให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 3 ปี 9 เดือน จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์, หน่วงเหนี่ยว, กระทำอนาจาร: ศาลฎีกาแก้ไขการลงโทษและให้รอการลงโทษ
การที่จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 1 อายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา และผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามนั้น เป็นความผิดที่ได้กระทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายที่ 2 และผู้เสียหายที่ 3 โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ให้เกิดผลขึ้นต่างหากจากความผิดฐานอื่น จึงมิใช่กรรมเดียวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและฐานกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายที่จำเลยกระทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายที่ 1
ส่วนการที่จำเลยหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายที่ 1 โดยใช้กำลังดึงแขนและขู่บังคับให้นั่งรถจักรยานยนต์ไปกับจำเลย ทั้งทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย และทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และ 310 วรรคแรก แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง นั้น เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอนและถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพักการลงโทษจำคุก โดยคำนึงถึงประวัติโทษ และการกระทำหลังเกิดเหตุ
แม้จะปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุก 6 ปีก็ตาม แต่จากการตรวจสอบของพนักงานคุมประพฤติได้รายงานให้ทราบว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเคยรับตัวจำเลยไว้คุมขังในความผิดฐานปล้นทรัพย์ ซึ่งศาลอาญาพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นไป คดีถึงที่สุดและจำเลยได้รับการปล่อยตัวไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2536 เนื่องจากได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษฯ จำเลยจึงเป็นผู้กระทำความผิดก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาลสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีฯ ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ที่บัญญัติให้ถือว่าจำเลยมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดที่ได้กระทำไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินฉบับนี้ใช้บังคับ ดังนั้นต้องถือว่าจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่ศาลจะพิจารณารอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
of 62