คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ชัดเจนถึงสัญญาจ้าง และสิทธิการอยู่อาศัยสิ้นสุดเมื่อถูกบอกกล่าว
โจทก์จ้างจำเลยทำสวน จำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ว่ากล่าวประการใด ถือได้ว่าการเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นการอาศัย มิได้เข้ามาโดยมีข้อสัญญาจ้างตกลงเช่นนั้น ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะยังมิได้บอกเลิกสัญญาจ้าง และยังมิได้ชำระค่าจ้าง เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาทนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าปลูกเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัย ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ต่อแม้ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาจ้าง
โจทก์จ้างจำเลยทำสวน จำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ว่ากล่าวประการใด ถือได้ว่าการเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นการอาศัย มิได้เข้ามาโดยมีข้อสัญญาจ้างตกลงเช่นนั้น ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะยังมิได้บอกเลิกสัญญาจ้าง และยัง มิได้ชำระค่าจ้างเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลย ก็ไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาทนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างและการหักกลบลบหนี้จากสัญญาจ้างทำของ
ศาลชั้นต้นกะประเด็นไว้ โจทก์จำเลยมิได้คัดค้านว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงต้องเป็นไปตามนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่บัญญัติว่าเมื่อมีการชำระหนี้กัน ผู้ชำระหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับโดยเด็ดขาดว่า เมื่อชำระหนี้กันแล้วจะต้องออกใบเสร็จให้ทุกกรณีจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้เสมอไปไม่
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ได้ชำระค่าวัสดุที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้แก่โจทก์โดยรวมอยู่กับจำนวนเงินที่ได้จ่ายให้โจทก์รับไปแล้วนั้น และจำเลยได้จ่ายเงินเกินกว่าค่าวัสดุที่โจทก์เรียกร้อง ดังนี้ จึงเป็นประเด็นที่ศาลจะพิพากษาคิดหักเงินให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการจำกัดและการกระทำแทนบริษัท สัญญาจ้างไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการจัดการ จำเลยที่ 2 ได้ออกใบสั่งให้โจทก์ถมดินให้จำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในใบสั่งนั้นคนเดียว แม้ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จะมีว่า "กรรมการสามนายร่วมกันลงลายมือชื่อในเอกสารสำคัญแทนบริษัทและต้องประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย" ก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ผูกมัดให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด เพราะถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และใบสั่งมิใช่เอกสารที่ผู้แทนจำเลยที่ 1 กระทำ
สัญญาจ้างถมที่ดินไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีถูกปลดออกจากราชการ: ละเมิดสิทธิรับราชการ vs. ผิดสัญญาจ้าง
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย แต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดสิทธิข้าราชการ: ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ใช้ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยแต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับในระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายเมื่อเลิกสัญญาจ้างว่าความ: การคิดค่าจ้างตามควรค่าของงานที่ทำไปแล้ว
จำเลยจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องคดีและว่าความในศาลชั้นต้นชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ครั้นโจทก์ฟ้องคดีและว่าความในศาลชั้นต้นไปบ้างแล้ว จำเลยขอถอนโจทก์จากการเป็นทนาย โจทก์แถลงไม่คัดค้านศาลฟังว่าการเลิกสัญญาเกิดจากการตกลงกัน คู่สัญญายังมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยวิธีการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 2,3,4 โดยเฉพาะก็คือ วรรค 3 จำเลยต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ และต้องคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่คิดแต่จำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องไม่
ตัวแทนจ้างโจทก์แทนตัวการ. ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ผู้เดียวตัวแทนหาต้องรับผิดด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนาย: แม้จำเลยได้เงินจากคู่ความน้อยกว่าฟ้อง ก็ต้องจ่ายค่าจ้างทนายตามสัญญาเดิม
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ยื่นฟ้อง ฉ. ฐานผิดสัญญาทุนทรัพย์ 1,037,500 บาท ตกลงค่าจ้างกันไว้ 100,000 บาท ในชั้นศาลชั้นต้น โดยไม่มีข้อกำหนดกันไว้ว่าถ้าจำเลยได้เงินไม่เต็มตามคำฟ้องก็ให้ลดค่าจ้างลงตามส่วนโจทก์ได้ฟ้อง ฉ. แล้ว และยังได้ดำเนินการอายัดทรัพย์ของ ฉ. จนสำเร็จ แต่ต่อมาจำเลยได้ถอนฟ้องคดีเสียเองโดยโจทก์มิได้เห็นชอบด้วย แม้จำเลยจะได้รับเงินจาก ฉ. เพียง 120,000 บาทก็จะลดค่าจ้างไม่ได้ จะถือเอาจำนวนเงิน 120,000 บาทนี้เป็นผลสำเร็จแห่งการที่ทำเพื่อคำนวณค่าจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดจากชำระหนี้ร่วมกัน: การชำระหนี้โดยจำเลยคนหนึ่งมีผลผูกพันจำเลยอื่นในสัญญาจ้างทำของ
สัญญาจ้างทำของที่จำเลยทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าจ้างให้โจทก์นั้น หากจำเลยคนหนึ่งผ่อนชำระหนี้บางส่วนแทนจำเลยอื่นด้วยให้โจทก์ เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาจ้างผ่านตัวแทน: ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดแต่ผู้เดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณา โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามรับผิดในสัญญา ขอให้ร่วมกันรับผิด เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดแต่ผู้เดียวจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมด้วยไม่ได้
of 69