คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางเอกสาร: องค์ประกอบความผิด, การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต, และข้อจำกัดการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "...จำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่ออธิบดี...ด้วยเอกสารฉบับลงวันที่ 12 มิถุนายน 2545 มีข้อความว่า "...ข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จความจริงโจทก์ไม่เคยแอบอ้างว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ...แต่ประการใด การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยทำให้ปรากฏเป็นตัวอักษร ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์..." โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยการโฆษณาอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 328 มาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นไม่สามารถจะยกข้อกฎหมายตามมาตรา 329 (1) (3) ขึ้นวินิจฉัยได้ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ว่า หากข้อเท็จจริงตามที่รับฟังดังทางไต่สวนมูลฟ้องต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329 ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยคดีได้ หาใช่เรื่องจำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกรณีที่จำเลยเท่านั้นที่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นแล้วพิพากษายืนดังนั้นที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อความที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารต้องอ่านทั้งหมด มิใช่ยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งแล้วแปลว่าไม่มีข้อความหมิ่นประมาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้เช่าพื้นที่ขายสินค้า ต่อมาจำเลยประสงค์จะเช่าพื้นที่ จึงใช้เล่ห์เพทุบายทำหนังสือดังกล่าวให้สอบสวนว่าโจทก์ไม่สุจริต จึงมิใช่กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ฎีกาโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การที่โจทก์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้จะมีการอนุญาตให้ฎีกามาก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและการรับฟังพยานหลักฐาน
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความว่า เนื่องจากที่ดินพิพาทติดจำนองกับธนาคาร ถ้าโจทก์ไถ่ถอนจำนองเมื่อไรจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทันที สัญญาซื้อขายฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ...หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรมีข้อความว่าโจทก์รับราคาดังกล่าวไปจากจำเลยเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2541 การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ความจริงแล้วโจทก์ได้รับเงินค่าที่ดินเพียง 90,000 บาท เงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้จำเลยไปชำระต่อธนาคาร พ. เพื่อชำระหนี้ที่โจทก์จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่ธนาคารไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเอกสารหลังสืบพยานและนำมาวินิจฉัยโดยไม่เปิดโอกาสคัดค้าน ถือไม่เป็นธรรมและขัดต่อหลักการพิจารณาคดี
คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้เรียกพยานเอกสารเข้ามาสู่สำนวนความหลังเสร็จสิ้นการสืบพยาน เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดี ซึ่งจำเลยที่ 2 ขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมไว้แล้ว แต่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตภายหลังศาลภาษีอากรกลางกลับเห็นว่า เอกสารเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาพิพากษาคดี จึงเรียกพยานหลักฐานนั้นเข้ามาสู่สำนวนหลังเสร็จสิ้นการสืบพยานจำเลยที่ 2 ประมาณ 1 เดือน โดยไม่มีการแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทั้งสองฝ่ายทราบเพื่อที่จะได้มีโอกาสเข้ามาคัดค้าน หรือโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารดังกล่าว แม้ต่อมามีการเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาแต่คู่ความก็มิได้มาศาล ทั้งมิได้มีการแจ้งคำสั่งเกี่ยวกับการเรียกพยานเอกสารดังกล่าวให้คู่ความทราบอีกเช่นกัน การที่ศาลภาษีอากรกลางนำพยานเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยให้โจทก์แพ้คดี จึงไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและไม่ชอบด้วยการพิจารณา เพราะทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้สมบูรณ์ย่อมระงับหนี้ แม้ไม่มีการแทงเพิกถอนเอกสาร
การชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีผลทำให้หนี้เป็นอันระงับ ส่วนการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นเรื่องของการนำสืบการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง เป็นคนละกรณีกัน การไม่มีการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่อาจถือได้ว่ายังไม่มีการชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากการแจกเอกสารวิพากษ์สมาชิกสภาเทศบาล: สุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเอง
เอกสารซึ่งแนบมากับสำเนาหนังสือของโจทก์ที่ส่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขอให้ระงับการก่อสร้างหลังคาคลุมถนนกันแดดมีข้อความว่า "พวกเราชาวแม่ค้าทั้งหลายต้องช่วยกันต่อต้านคนรวยทั้งหลายที่ชอบรับแก (ที่ถูก รังแก) คนจนอย่างพวกเราแม่ค้าทั้งหลาย ตอนนี้สมาชิกสภาเทศบาลบางคนที่เป็นคนรวย ทำเรื่องระงับการก่อสร้างหลังคาคลุมแดด (ที่ถูก หลังคาคลุมถนนกันแดด) ที่ทางเทศบาลทำให้กับพวกเราแต่มีสมาชิกเทศบาลซึ่งพวกเราได้อุตส่าห์เสียเวลาหยุดขายของไปเลือกมันมาเป็นผู้แทนของเรา พอเวลามันได้เป็นแล้วมันกับ (ที่ถูก กลับ) มาต่อต้านพวกเรา ซึ่งเป็นแม่ค้าขายของจน ๆ อย่างพวกเรา มันทำเรื่องร้องเรียนไปทางเทศบาลพวกเรารอง (ที่ถูก ลอง) อ่านดูว่ามันทำถูกหรือทำผิด" นั้น มีความหมายว่า โจทก์ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ภ. แล้วเพราะพ่อค้าแม่ค้าในตลาด 13 เมตร หยุดขายของไปเลือกตั้งมาไม่รู้จักบุญคุณ มีหนังสือให้ระงับการก่อสร้างหลังคากันแดดที่เทศบาลตำบล ภ. ชุดเดิมก่อสร้างค้างไว้ ย่อมทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายในตลาดดังกล่าวซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 3 ด้วย เดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาฝนตกไม่อาจใช้ร่มใหญ่กันน้ำฝนได้ ทำให้การค้าขายของจำเลยที่ 3 กับพวกไม่สะดวก เป็นการรังแกคนจนแทนที่จะช่วยดูแล ทำให้โจทก์ในฐานะสมาชิกสภาเทศบาลต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง อาจทำให้โจทก์ไม่ได้รับเลือกตั้งในวาระต่อไปได้ แม้ว่าในข้อความดังกล่าวไม่ได้ระบุว่า โจทก์กระทำการดังกล่าวเพราะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 แจกหนังสือดังกล่าวนั้นจึงมิใช่เพราะถูกกดดันอย่างมาก จนมีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจต้องระบายความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจนี้ให้พ่อค้าแม่ค้าฟัง เพราะการที่ไม่มีหลังคากันแดด จำเลยที่ 3 กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดก็ยังขายสินค้าได้ โดยใช้ร่มบังแสงอาทิตย์แทน จำเลยที่ 3 กับพวกพ่อค้าแม่ค้าอาจต้องงดขายสินค้าบ้าง ถ้าฝนตกหนัก แต่ในสถานการณ์เช่นนั้น โอกาสที่ลูกค้าจะมาสซื้อสินค้าก็อาจไม่มีหรือมีน้อยและการที่จำเลยที่ 3 งดขายของไปเลือกโจทก์เป็นสมาชิกสภาเทศบาลนั้นก็เป็นหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อรับใช้สังคม ไม่อาจคาดหวังว่าถ้าเลือกโจทก์มาแล้ว โจทก์ต้องทำการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 และพวกพ่อค้าแม่ค้าเพียงประการเดียว โดยไม่คำนึงถึงความสงบสุขในสังคม กรณีฟังได้ว่าเอกสารที่จำเลยที่ 3 แจกจ่ายดังกล่าวมีข้อความหมิ่นประมาทตามฟ้อง อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 แจกจ่ายเอกสารดังกล่าวก็เนื่องมาจากจำเลยที่ 3 เป็นพ่อค้าคนหนึ่งที่ค้าขายในตลาด 13 เมตร ซึ่งได้รับผลกระทบและมีส่วนได้เสียในการก่อสร้างหรือระงับการก่อสร้างหลังคาคลุมถนนการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ที่จะป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น จึงใช้ฟ้องร้องได้
แม้เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8830/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารใหม่เข้าสู่ชั้นศาล: ศาลรับฟังได้แม้ไม่ได้ยื่นในชั้นอุทธรณ์
แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะมิได้นำเอกสารไปพิสูจน์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเอกสารนั้นมาพิสูจน์ในชั้นศาลในประเด็นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้ว ทั้งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 20 ข้อ 15 และข้อ 16 ก็กำหนดให้คู่ความอ้างและส่งเอกสารเป็นพยานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนได้ โดยมิได้บังคับว่าเอกสารนั้นต้องเป็นเอกสารที่ส่งในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น แม้เอกสารที่โจทก์นำมาพิสูจน์ในชั้นศาลจะมิใช่เอกสารที่ได้นำไปพิสูจน์ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เอกสารนั้นก็รับฟังในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมที่ไม่ติดอากรแสตมป์รับฟังได้เป็นพยานหลักฐาน แต่ยังต้องวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงอื่นอีก
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาพอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
ใบตอบรับการสมัครสินเชื่อเงินสดควิกแคชพร้อมสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระบุข้อความว่า จำเลยขอรับบริการสินเชื่อเงินสดควิกแคชในวงเงิน 500,000 บาท ในอัตราค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ 1.15 ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเฉพาะเดือนแรกเท่านั้น ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้และจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ โดยไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่าเป็นสัญญาให้สินเชื่อเงินสดระหว่างโจทก์กับจำเลย เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 ดังนั้น เอกสารดังกล่าวที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้
ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดตามเอกสารดังกล่าวต่อโจทก์หรือไม่ และเป็นปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมายที่ขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการรับฟังเอกสารที่จำเลยไม่ปฏิเสธ
โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสารของราชการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าสำเนาโฉนดที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 เอกสารแสดงรายการที่จำเลยทั้งสองกับพวกถูกฟ้องคดีต่อศาล จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าถูกฟ้องคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารที่มีคำรับรองอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาครบถ้วน แม้ลายมือชื่อในเอกสารบางส่วนไม่ครบถ้วน การพิจารณาคดีไม่เป็นโมฆะ
แม้จะมีลายมือชื่อผู้พิพากษาคนเดียวในคำเบิกความพยานลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 วันที่ 30 ตุลาคม 2544 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 แต่ปรากฏจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 และวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ด้านหน้ามีข้อความระบุว่าผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีนี้เวลา 10 นาฬิกา และ 11.20 นาฬิกา ตามลำดับ และมีลายมือชื่อผู้พิพากษาสองคนลงลายมือชื่อไว้ด้วย จึงต้องฟังตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวว่า ในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาคดีอันถือได้ว่าเป็นการนั่งพิจารณาครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แล้ว ส่วนรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ที่มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อไว้นั้น อาจเกิดจากความหลงลืมของผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งที่มิได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาก็เป็นได้ ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้คัดค้านว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะจนกระทั่งคดีเสร็จการพิจารณา กรณีจึงเชื่อได้ว่าในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แล้วเช่นกัน หาได้เป็นการขัดต่อมาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2540 ไม่
of 57