พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่น และอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อแสวงหากำไรจากการไถ่ถอนการจำนองที่ดิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 รับผิดชอบเงินทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ คนละกึ่งหนึ่งเท่า ๆ กัน กำไรที่ได้จากการขายที่ดินหลังจากหักเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายแล้วแบ่งปันกันคนละกึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนไปก่อน โจทก์และจำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดิน 24 แปลง คือ ที่ดินลำดับที่ 8 ถึง 28 และลำดับที่ 29 ถึง 31 พฤติการณ์ที่โจทก์โอนที่ดินลำดับที่ 8 ถึง 10 ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ดินลำดับที่ 11 ถึง 28 ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อหักกลบลบหนี้กับเงินลงทุน หนี้สินและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกทดรองไปก่อน ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนต่อกันแล้ว และเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแทนการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และให้จัดการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญ และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินลำดับที่ 8 ถึง 10 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินที่ได้จากการขายที่ดินลำดับที่ 11 ถึง 28 ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันและมีการจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แทนการชำระบัญชี การที่จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินลำดับที่ 29 ถึง 31 ร่วมกับโจทก์นั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิจำหน่ายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่กระทบกรรมสิทธิ์ส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันและมีการจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แทนการชำระบัญชี การที่จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินลำดับที่ 29 ถึง 31 ร่วมกับโจทก์นั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิจำหน่ายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่กระทบกรรมสิทธิ์ส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด, การขยายเวลาโอนกรรมสิทธิ์, เบี้ยปรับ, การสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับ
คำแก้อุทธรณ์เป็นคำคู่ความ คู่ความจึงอาจตั้งประเด็นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นตัดสินให้จำเลยชนะคดีก็ตามแต่ในส่วนที่วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นการวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาฟังไม่ขึ้น จำเลยย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาได้ แม้จำเลยมิได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้โต้แย้งโดยกล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา คดีในชั้นอุทธรณ์จึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทในปัญหาว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่อยู่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
จำเลยก่อสร้างอาคารและห้องชุดไม่เสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ทันภายในเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งเป็นกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่โจทก์จำเลยตกลงให้ขยายระยะเวลา จำเลยจึงผิดสัญญาข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดข้อ 7.4.2 ระบุว่า หากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.01 ของราคาห้องชุดแต่รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละสิบของราคาห้องชุด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งวรรคสามของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิ์ไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้บอกสงวนสิทธิ์กับจำเลยไว้ว่าจะเรียกเอาค่าปรับจากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปรับตามฟ้องจากจำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารและห้องชุดไม่เสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ทันภายในเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งเป็นกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่โจทก์จำเลยตกลงให้ขยายระยะเวลา จำเลยจึงผิดสัญญาข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดข้อ 7.4.2 ระบุว่า หากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.01 ของราคาห้องชุดแต่รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละสิบของราคาห้องชุด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งวรรคสามของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิ์ไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้บอกสงวนสิทธิ์กับจำเลยไว้ว่าจะเรียกเอาค่าปรับจากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปรับตามฟ้องจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัว vs. สินสมรส: การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนยึด
แม้ที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ 20948 จะเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินกรรมสิทธิ์รวมโฉนดเลขที่ 2996 โดยที่ดินพิพาท 2,000 ส่วน ผู้ร้องรับโอนมาจาก จ. มารดาจากการยกให้โดยเสน่หาจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ส่วนที่ดินอีก 492 ส่วน ที่ผู้ร้องซื้อมาจาก น. ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่โจทก์จะนำยึดที่ดินพิพาท ผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 492 ส่วน ให้แก่ ว. น้องสาวของผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 492 ส่วนนั้นแล้ว คงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เฉพาะในที่ดิน 2,000 ส่วนเท่านั้น กรณีจึงไม่มีสินสมรสระคนปนอยู่ในที่ดินแปลงพิพาทอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรส ทั้งพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้ร้องและเจ้าของรวมอื่นได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว กรณีจึงไม่เป็นที่สงสัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง สิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ร้องจึงมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20948 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง ซึ่งโจทก์จะยึดนำออกขายทอดตลาดได้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้หลังล้มละลาย และการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแม้ติดจำนอง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ ผู้ร้องชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก คงมีแต่หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น การที่ห้องชุดติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง อันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลสั่งเพิกถอนการให้ที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์คืนได้
กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษากระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 357 วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อปรากฏว่าการบังคับคดีดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ต่อเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการในโฉนดที่ดิน โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนให้ได้ ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยและให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวคืนแก่โจทก์ โดยเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนไปตามคำสั่งศาลตามมาตรา 357 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดใช้เช็คปลอม หลอกลวงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลแก้คำพิพากษาให้คืนที่ดินหรือใช้ราคาแทน
โจทก์ร่วมหลงเชื่อตามที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงจึงไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แม้ผู้รับโอนจะไม่ใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้หลอกลวง แต่การที่ ฐ. ได้ไปซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ร่วม จึงเป็นการได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงให้ทำเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 341 ไม่ใช่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ได้ไปซึ่งเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก ฐ. จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นของโจทก์ร่วมให้แก่โจทก์ร่วม หากจำเลยที่ 1 คืนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ร่วมไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ราคาแทนให้แก่โจทก์ร่วม