คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 634 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีภริยาถูกอีกฝ่ายมีภริยาอื่นและแสดงตนเป็นภริยาต่อสังคม ศาลยืนค่าทดแทน 300,000 บาท
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247 และที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตซึ่งแม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นเหตุให้ไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทดแทนและการยกเหตุข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247 ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นเหตุให้ไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรส และผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าทดแทน ค่าอุปการะเลี้ยงดู และสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 ขอแบ่งสินสมรส ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา ขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ถึงวันฟ้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จนบรรลุนิติภาวะ และให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ และผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
เมื่อผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ และผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 จึงอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในประเด็นฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ประเด็นสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ก่อนฟ้อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจนบรรลุนิติภาวะ และประเด็นการแบ่งสินสมรส และอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 ในประเด็นที่ถูกเรียกค่าทดแทน
สำหรับประเด็นหย่า เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเนื่องจากความตายของโจทก์ ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่ เพราะไม่ได้ทำให้ผลของการสมรสเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประเด็นเรียกค่าทดแทนที่เรียกจากจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลจึงมิได้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากัน โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1525 วรรคสอง ระบุว่า การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะมีได้เฉพาะในกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเท่านั้น ส่วนประเด็นค่าเลี้ยงชีพ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1526 ระบุว่า ค่าเลี้ยงชีพศาลจะกำหนดให้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายก่อนหย่า การสมรสจึงสิ้นสุดเพราะการตาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยที่ 1 ได้ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ศาลฎีกาเห็นควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะทั้งสามประเด็นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13552/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระงับข้อพิพาททั้งหมด การตกลงเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
บุคคลที่มีข้อพิพาทซึ่งอาจใช้สิทธิทางศาลต่อกัน อาจตกลงระงับข้อพิพาทดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ อันมีผลทำให้หนี้เดิมระงับตามมาตรา 852 แล้วผูกพันกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อที่ 1 ระบุว่า "ส่วนเรื่องหย่าและสินสมรสนั้นจะได้ตกลงกันในภายหลัง" แล้วตกลงกันเพียงว่า จำเลยที่ 1 จะส่งค่าเลี้ยงดูให้โจทก์เดือนละ 20,000 บาท ทั้งๆ ที่ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเกิดจากจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จนมีบุตร ทั้งจำเลยทั้งสองอยู่กินด้วยกัน อันเป็นการยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาซึ่งมีผลให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 และการหย่ายังทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว ทำให้โจทก์เรียกค่าทดแทนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 ข้อพิพาทที่ทำให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ทั้งสามประการมิได้มีการตกลงเพื่อระงับกันให้เสร็จไปแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และตามพฤติการณ์ที่มีการระบุไว้ว่าจะมีการตกลงเรื่องหย่าและสินสมรสกันในภายหลังนั้นแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ให้อภัยแก่จำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่า ระงับสิ้นไป การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่อาจอ้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มาเป็นข้อต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8943/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนจากการเป็นชู้: ต้องมีเหตุหย่าตามกฎหมาย และมีการแสดงตนเปิดเผย
ภริยามีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น" ดังนั้น การที่โจทก์จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยได้จึงต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์และ น. หย่ากันและเหตุที่ น. อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยฉันภริยา มีชู้ หรือร่วมประเวณีกับจำเลยเป็นอาจิณ เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ น. หย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมต่อศาล แม้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม การทำสัญญาประนีประนอมกันนั้นหาใช่การที่คู่ความยอมรับตามคำฟ้องและคำให้การกันไม่ จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้และแม้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง จะให้สิทธิภริยาเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว โดยไม่ต้องฟ้องหย่าสามีโดยอาศัยเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์หาได้บรรยายฟ้องโดยอ้างพฤติการณ์ว่าจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ น. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวไม่ จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่โจทก์จะนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าทดแทนผู้เสียหาย/จำเลยในคดีอาญาตาม พ.ร.บ. 2544 เป็นเงินที่รัฐจ่ายเพื่อความเป็นธรรม จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ ค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้น และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น รวมทั้งการรับรองสิทธิในการได้รับค่าทดแทนในกรณีของบุคคลซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี หากปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด และการรับรองสิทธิดังกล่าวนี้ก็เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับ ดังนั้น เงินที่จะได้รับตามพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นเงินที่รัฐจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สิทธิของจำเลยที่จะได้รับเงินนั้น จึงเป็นสิทธิที่มีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิของลูกหนี้ในทรัพย์สินบางประเภทที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เงินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนลูกจ้าง: การตายจากโรคประจำตัว ไม่ใช่จากลักษณะงาน
ป. เป็นลูกจ้างของจำเลย ทำหน้าที่ขับรถรับส่งบุตรหลานพนักงานของจำเลย ป. ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ในที่ทำการของจำเลย
ป. มีโรคประจำตัวคือภาวะความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลในปัสสาวะ ไขมันในเลือดสูง และหัวใจห้องล่างซ้ายโต โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้ายโตเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงที่ทำให้หัวใจหยุดทำงานเฉียบพลันได้ ใบแจ้งการตายระบุสาเหตุการตายว่าหัวใจหยุดทำงานฉับพลัน ทั้งลักษณะงานของ ป. มีเพียงขับรถรับส่งบุตรหลานพนักงานของจำเลยไปโรงเรียนเท่านั้น ไม่ใช่งานที่ต้องใช้กำลังแรง ไม่อาจทำให้เกิดโรคหรือเจ็บป่วยถึงตายได้ สาเหตุการตายจึงเกิดจากโรคประจำตัวของ ป. ไม่ได้เกิดด้วยโรคซึ่งเกิดตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ที่ 1 ผู้เป็นภรรยาของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน – การทำลายมติคณะกรรมการ – การจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย
โจทก์ประสงค์ฟ้องคดีเพื่อให้ศาลแรงงานภาค 6 เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนทดแทนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายและให้พิพากษาว่าการประสบอันตรายของ พ. บุตรโจทก์เกิดจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันเป็นการฟ้องเพื่อทำลายมติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ยืนตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกผู้พิจารณาในชั้นต้น สำนักงานประกันสังคมและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนต่างเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกคำสั่งและคำวินิจฉัย การที่โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกเป็นการฟ้องผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ออกคำสั่งหรือคำวินิจฉัยปัญหาพิพาทตามกฎหมายเพื่อทำลายคำสั่งและคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพิษณุโลกเป็นจำเลยได้
โจทก์ฟ้องคดีด้วยวาจา ศาลแรงงานภาค 6 บันทึกรายการแห่งข้อหาตามแบบคำฟ้องคดีแรงาน (รง.1) โดยคำขอท้ายคำฟ้องระบุขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ว่า พ. ถึงแก่ความตายไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้นายจ้าง ไม่เป็นการประสบอันตรายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 5 และขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าทดแทนกรณี พ. ถึงแก่ความตายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 5 ปี เมื่อสิทธิการได้รับค่าทดแทนของโจทก์ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้จ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน มีกำหนด 8 ปี ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์โดยการจ่ายเงินให้จำเลยปฏิบัติตาม มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสี่ (เกินไปจากคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12994/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเวนคืนหลังอุทธรณ์ไม่สำเร็จ และการกำหนดค่าทดแทนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ถูกต้อง
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 1 ไร่ 49 ตารางวา โดยเจ้าหน้าที่กองจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเป็นเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพยานจำเลยเบิกความว่า การรังวัดที่ดินครั้งแรกได้เนื้อที่ 2 งาน 53 ตารางวา เป็นการรังวัดเนื้อที่โดยประมาณยังไม่เด็ดขาดจนกว่าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดิน จนกระทั่งเมื่อทราบเนื้อที่จริงจำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงอีกครั้ง และปรากฏตามสำเนาบันทึกข้อตกลงยินยอมที่จำเลยจัดทำขึ้นมีรายการระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนขอสงวนสิทธิอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าการแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินครั้งหลังจำเลยรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์จำนวนเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แม้โจทก์ไม่ได้ไปทำบันทึกข้อตกลง แต่ยื่นอุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนก่อนถึงกำหนดวันนัดหมาย โดยกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยยังได้มีหนังสือถึงโจทก์ตอบรับการอุทธรณ์ค่าทดแทนแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี หากโจทก์ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน จึงถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเพียงการแจ้งจำนวนที่ดินจากการรังวัดทางคณิตศาสตร์โดยไม่มีการเพิ่มเติมจำนวนที่ดินผิดไปจากที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 (3) บัญญัติให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินเป็นข้อที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดจำนวนค่าทดแทนจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่ต้องใช้เกณฑ์ราคาประเมินที่ดินในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแก่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของสมรสด้วยการตาย และผลกระทบต่อค่าทดแทนและสินสมรส
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเนื่องจากความตายของโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยอีกต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้หรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของการสมรสเปลี่ยนแปลงไป ส่วนค่าทดแทนที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์นั้น เมื่อศาลไม่ได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้เพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1525 ระบุว่า การเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งจะมีได้เฉพาะในกรณีศาลพิพากษาให้หย่ากันเท่านั้น และการแบ่งสินสมรสหลังการสมรสสิ้นสุดเพราะการตายต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องโจทก์อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3)
of 64