คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชิงทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 588 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยข่มขู่ด้วยความรุนแรง และการพิจารณาคดีพยานเด็กเป็นพิเศษ
การที่จำเลยที่ 1 พูดสำทับกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ให้เดี๋ยวมันก็แทงมึงหรอกกูช่วยมึงไม่ได้" หลังจากจำเลยที่ 1 ขอยืมเงินและผู้เสียหายปฏิเสธ แล้วจำเลยที่ 1 หันไปคุยกับจำเลยที่ 2 ว่า "เฮ้ย แม่งไม่ให้เว้ย" จำเลยที่ 2 จึงลุกขึ้นยืนพร้อมกับล้วงมีดออกมาจากด้านหลังแล้วเดินเข้ามาใกล้ผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 ได้ผลักจำเลยที่ 2 พร้อมกับพูดว่า "มึงไม่ต้องแทง" ตามที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีเบิกความ ซึ่งศาลชั้นต้นได้ใช้วิธีการพิจารณาคดีสำหรับพยานที่เป็นเด็กเป็นการเฉพาะต่างจากพยานบุคคลทั่วไป โดยอยู่ในกำหนดหลักการว่าในคดีที่มีพยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ศาลต้องจัดให้พยานเด็กอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมโดยการถามนั้นศาลจะเป็นผู้ถามพยานเอง หรือถามผ่านทางนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือจะให้คู่ความถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ผลของกฎหมายดังกล่าวย่อมทำให้กระบวนการยุติธรรมสามารถได้ข้อเท็จจริงจากพยานเด็กมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเมื่อมีวิธีการการถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กและความเชี่ยวชาญในการซักถามเด็ก เชื่อว่าจะเป็นผลให้พยานเด็กสามารถให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องสมบูรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันข่มขู่ผู้เสียหายว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ผลของการกระทำเป็นเหตุให้เกิดอันตรายตามธรรมชาติ และอายุความความผิดพาอาวุธ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายไป เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อจำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหายการที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้นจึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามมาตรา 339 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย แม้ไม่มีเจตนาทำร้าย แต่ผลที่เกิดขึ้นย่อมคาดการณ์ได้ และความผิดฐานพาอาวุธมีอายุความ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปและเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายเป็นผลให้จำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้จำเลยจะฎีกาว่า ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายไม่ทราบว่าไปโดนคมมีดตอนไหน เข้าใจว่าคงจะโดนตอนที่กลับตัวมาไขกุญแจรถ บาดแผลจึงไม่ได้เกิดจากจำเลยมีเจตนาใช้มีดทำร้ายผู้เสียหายก็ตามก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อการที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้น จึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13485/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานชิงทรัพย์และการทำร้ายร่างกายในกรรมเดียว ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานชิงทรัพย์
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แม้จะระบุข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแล้วบังคับให้บอกที่ซ่อนทรัพย์และเมื่อได้ทรัพย์จำนวนน้อยก็ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีก เป็นเพียงการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อให้ครบองค์ประกอบในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ตามคำขอท้ายฟ้องอันเป็นความผิดกรรมเดียวเท่านั้น เมื่อลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายแล้วจะลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นอีกกรรมหนึ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11052/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์และกรรโชกทรัพย์อยู่ที่การใช้กำลังประทุษร้ายต่อเนื่องจากฐานลักทรัพย์
ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามบทบัญญัติของกฎหมายมิได้อยู่ที่จำนวนทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้ไปว่าจะเป็นทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน เพราะไม่ว่าคนร้ายจะได้ทรัพย์สินไปเพียงใด การกระทำความผิดก็เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่ข้อสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องมีฐานเดิมจากความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 โดยคนร้ายใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าของหรือมีครอบครองทรัพย์นั้น หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นตามความใน ป.อ. มาตรา 339 (2) โดยการลักทรัพย์กับการใช้กำลังประทุษร้ายต้องไม่ขาดตอน หรือเป็นการลักทรัพย์ที่ต้องขู่เข็ญให้ปรากฏว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อเนื่องกันไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ถูกจำเลยตบหน้าทันทีที่เปิดประตูห้องเมื่อ ช. ตามเข้าไปปิดประตูห้อง จำเลยก็ล้วงมีดพับออกมาจี้ที่แก้มผู้เสียหายขู่ขอเงินไปซื้อสุรา พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนั้นบ่งชี้ไปในทำนองว่าหากผู้เสียหายขัดขืนไม่ให้เงินก็จะถูกประทุษร้ายต่อเนื่องไปในทันใดนั้น แสดงให้เห็นว่ามุ่งหมายมาทำร้ายและขู่เข็ญผู้เสียหายโดยประสงค์ต่อทรัพย์มาแต่แรก ไม่ใช่เป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินบางส่วนโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามที่จำเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ vs. ชิงทรัพย์: การแย่งกระเป๋าและโทรศัพท์มือถือ
การที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นกรรมหนึ่งต่างหากและขาดตอนไปแล้ว ต่อมาผู้เสียหายจะหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกระเป๋าถือเพื่อโทรศัพท์ติดต่อสามี จำเลยแย่งกระเป๋าถือแล้วเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่กับเงิน 9,000 บาท ในกระเป๋าถือไป และทิ้งกระเป๋าถือไว้ใต้ถุนบ้าน พฤติการณ์แห่งคดีอาจเป็นไปได้ว่าจำเลยกระทำไปเพียงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายใช้โทรศัพท์ติดต่อกับสามี คดีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตในการเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักหรือชิงโทรศัพท์มือถือ ส่วนเงิน 9,000 บาท เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ จำเลยจึงคืนให้ 8,000 บาท ส่วนอีก 1,000 บาท จำเลยไม่ยอมคืนจนกว่าผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่มีสิทธิเอาเงินไปและไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินไปเพียงเพราะโกรธผู้เสียหาย กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาให้รับฟังได้ว่า จำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จำเลยจึงมีเจตนาทุจริตอันเข้าองค์ประกอบความผิดฐานลักเงินดังกล่าวแล้ว แต่การที่จำเลยดึงกระเป๋าถือโดยยื้อแย่งกันจนสายกระเป๋าขาดติดมือผู้เสียหายโดยไม่ได้ผลักผู้เสียหาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหาย จำเลยไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองรวมอยู่ในข้อหาชิงทรัพย์ แม้โจทก์ฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์มาศาลย่อมลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10015/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดชิงทรัพย์: การกระทำด้วยความคึกคะนอง ไม่เข้าข่ายความผิดฐานชิงทรัพย์
การที่จำเลยที่ 1 กับพวกและผู้เสียหายนั่งดื่มเบียร์อยู่ด้วยกัน แล้วจำเลยที่ 1 ล้วงกระเป๋ากางเกงของผู้เสียหายหยิบกระเป๋าเงินออกมา เมื่อเห็นว่าไม่มีเงินในกระเป๋าจึงล้วงหยิบเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายออกมาโดยจำเลยที่ 1 บอกว่าถ้าไม่ให้โทรศัพท์จะทำร้าย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกลับไปบ้านพัก สักครู่หนึ่งจำเลยที่ 1 ก็นำโทรศัพท์เคลื่อนที่มาคืนให้ผู้เสียหายแม้จะคืนโดยโยนลงพื้นเอาเท้าเหยียบแล้วบอกให้ผู้เสียหายคลานมาเอา จากพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการทำไปด้วยความคึกคะนองมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอาทรัพย์ไปเป็นของตนเอง อันเป็นการขาดองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9802/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ศาลยืนตามศาลล่าง ผู้เสียหายจำได้แม้สภาพแสงไม่ดี
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9646/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์ฟ้องฐานชิงทรัพย์
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดฐานรับของโจรก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าว ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติบังคับไว้ว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ประกอบกับจำเลยที่ 2 นำสืบว่า ด. ให้จำเลยที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ จำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางโดยเปิดเผย ต่อมาจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางโดยเปิดเผย ต่อมาจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปดื่มสุราที่บ้านจำเลยที่ 1 จนไม่สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ จึงฝากไว้ที่บ้านจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้หลงต่อสู้ ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานชิงทรัพย์โดยไม่ได้บรรยายฟ้องและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานรับของโจรมาด้วยก็ตามศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาในความผิดฐานรับของโจรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา แม้โจทก์ไม่ได้ขอ แต่การบรรยายฟ้องชิงทรัพย์ครอบคลุมความผิดฐานลักทรัพย์
แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษหลายกรรม แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 339 ไว้ซึ่งความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่งซึ่งมีโทษเบากว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 59