คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่บุคคลออกจากที่ดินหลังสัญญาเช่าหมดอายุ โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิฟ้องได้ แม้สัญญาเช่ามิได้ปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์ภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปและบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 1,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไป เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลละเมิด มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าทรัพย์ โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่ได้โดยไม่จำต้องใช้หนังสือสัญญาเช่าที่ดินเป็นพยานหลักฐานในคดี แม้สัญญาเช่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460-6472/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินวัด การรวมวัด การครอบครองปรปักษ์ และการฟ้องขับไล่
วัดโคกเป็นวัดร้างที่รวมเข้ากับวัดโจทก์ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ รัตนโกสินทร์ศก 121 ออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรวมวัดที่ไม่ชอบหรือขัดต่อกฎหมายที่ดินวัดโคกที่รวมเข้ากับวัดโจทก์จึงเป็นศาสนสมบัติของโจทก์ มิใช่ศาสนสมบัติกลางซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาที่จะดูแลรักษาและจัดการ โจทก์ชอบที่จะขอออกโฉนดครอบคลุมที่ดินทั้งหมดอันเป็นศาสนสมบัติของตนได้
วัดโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านพักอาศัย ทั้งการฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของวัดโดยละเมิดไม่ได้อยู่ในบังคับที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาหรือได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
จำเลยทั้งสิบสามต่างคนต่างเป็นจำเลยในแต่ละสำนวนที่ถูกโจทก์ฟ้องเท่านั้น มิได้เป็นจำเลยในสำนวนอื่นที่ได้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยมิได้สั่งแยกเป็นรายสำนวนจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6179/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่, สัญญาเช่าช่วง, นิติกรรมอำพราง, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุของกองจัดประโยชน์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง อาคารตึกแถวเลขที่ 231 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าขณะยื่นฟ้องเดือนละ 2,000 บาท แม้โจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาเดือนละ 10,000 บาท ก็เป็นค่าเสียหายอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้ให้เช่าช่วงแต่มีเจตนาโอนสิทธิการเช่า เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาเช่าช่วงเป็นนิติกรรมอำพรางการโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้โดยผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมิได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สัญญาเช่าช่วงอาคารชั้นล่างบางส่วนมีข้อตกลงว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกสัญญาจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 566 สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวมีข้อตกลงระบุชำระค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท ไม่ระบุวันที่ชำระค่าเช่าแน่นอน จึงต้องถือเอาวันสิ้นเดือนเป็นกำหนดชำระค่าเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 559 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 4 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มีนาคม 2538 การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยสิ้นสุดเมื่อโรงเรือนถูกรื้อถอน การปลูกสร้างใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิอาศัย ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขับไล่
การอยู่อาศัยที่ ป.ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ป.ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองรื้อบ้านซึ่งเป็นโรงเรือนไปแล้ว สิทธิอาศัยย่อมสิ้นลง จึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1402 และมาตรา 1408 การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป.ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่ไม่และเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตามมาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามมาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านพอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านคงอยู่ตามมาตรา 1311 ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทและบ้าน โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชอบที่จัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยได้กระทำกลฉ้อฉลโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลาจึงสิ้นผลผูกพันแล้ว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่สัญญาเช่าที่พิพาทมีผลบังคับเพียงใด และสิ้นผลผูกพันแล้วหรือไม่ ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี จึงสิ้นผลผูกพันแล้ว ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6741/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs สิทธิผู้ครอบครองเดิม: ผู้ซื้อมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เมื่อสิทธิครอบครองโอนแล้ว
แม้ ส. และจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกันและเป็นผู้จำนองที่ดินและบ้านพิพาทแก่ธนาคาร พ. ร่วมกัน แต่ ส. และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งหมายเลยแดงที่ 317/2543 ของศาลชั้นต้น จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดทรัพย์ทั้งแปลงได้ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิเพียงร้องขอให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามส่วนของตนเท่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยติดจำนองกับธนาคาร พ. และโจทก์ได้รับโอนสิทธิครอบครองและสิทธิจำนองมาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ สิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทรวมทั้งสิทธิจำนองกับธนาคาร พ. ของ ส. และจำเลยที่ 2 โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์แล้ว จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป จำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. ได้
เมื่อสิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทรวมทั้งสิทธิจำนองกับธนาคาร พ. ของ ส. และจำเลยที่ 2 ได้โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียก ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามที่จำเลยทั้งสองร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินปฏิรูปเกษตรกรรม: เพิกถอน ส.ป.ก. และการฟ้องขับไล่เมื่อผู้รับประโยชน์ขาดคุณสมบัติ
การจะได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ว่า ให้ผู้ที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ ป.ที่ดินฯ ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และวรรคสองบัญญัติว่า การแจ้งการครอบครองตามความในมาตรานี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด และตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 3 บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในกรณีต่อไปนี้ (1) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ หรือได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ (2) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพหรือกฎหมายอื่น และมาตรา 4 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 6 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้คุ้มครองตลอดถึงผู้รับโอนด้วยจากบทบัญญัติ 3 มาตราดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิทธิครอบครองโดยชอบจะต้องเป็นการได้มา หรือครอบครองโดยชอบก่อน พ.ร.บ. ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ หรือได้มาโดยการจัดที่ดินเพื่อการครอบครองชีพหรือกฎหมายอื่นแต่ผู้ครอบครองเดิมได้ครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2498 อันเป็นเวลาภายหลัง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวประกาศใช้แล้วและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้ครอบครองที่ดินโดยชอบตามบทกฎหมายใด ดังนั้น การครอบครองของผู้ครอบครองเดิมดังกล่าว จึงเป็นการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ครอบครองเดิมก่อนขายให้แก่จำเลย และตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 2 บัญญัติว่า ที่ดินที่มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าเป็นที่ดินของรัฐอยู่
ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 12 เป็นกรณีที่เมื่อมีบุคคลใดอ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใดอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ บุคคลนั้นก็สามารถยื่นคำร้องโดยอ้างในคำร้องว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใดอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับเท่านั้น และเมื่อได้ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว ผลของการยื่นคำร้องจะเป็นไปตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ คือ เมื่อคณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติได้รับคำร้องตามมาตรา 12 แล้ว ให้สอบสวนตามคำร้องนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้ร้องได้เสียสิทธิหรือเสื่อมเสียประโยชน์อย่างใด ๆ ก็ให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้ตามที่เห็นสมควร หาทำให้ผู้ร้องมีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่อย่างใดไม่ เป็นเพียงทำให้ผู้ร้องมีสิทธิได้ค่าทดแทนในกรณีหากปรากฏว่าผู้ร้องได้เสียสิทธิหรือเสื่อมเสียประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 12 มีข้อยกเว้นอยู่ในวรรคสามว่า การยื่นคำร้องดังกล่าวมิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตาม ป.ที่ดินฯ ซึ่งก็หมายความว่า หากผู้ร้องเป็นผู้ที่มีสิทธิครอบครองในที่ดินหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.ที่ดินฯ อยู่ก่อนแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ ดังนั้น ตามฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า ผู้ครอบครองเดิมในที่ดินพิพาทได้ยื่นคำร้องตามมาตรา 12 ดังกล่าวแล้วนั้น และคณะอนุกรรมการป่าสงวนแห่งชาติได้มีมติให้กันที่ดินพิพาทออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นผลให้กรมป่าไม้จะต้องดำเนินการกันที่ดินพิพาทที่มีการคัดค้านดังกล่าวออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ได้ประกาศขึ้นภายหลัง จึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน การที่คณะอนุกรรมการป่าสงวนแห่งชาติได้มีมติให้กันที่ดินพิพาทออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติก็เป็นเพียงความเห็นของคณะอนุกรรมการเท่านั้นหามีผลตามกฎหมายในอันที่กรมป่าไม้จะต้องปฏิบัติตาม เนื่องจากความเห็นของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจะต้องเสนอให้คณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติพิจารณาก่อน เมื่อคณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติยังไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าว จึงหามีผลผูกพันให้กรมป่าไม้ต้องปฏิบัติตามดังที่จำเลยได้กล่าวอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเดิมเป็นผู้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์อย่างใด ๆ ตามกฎหมายในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองเดิมในที่ดินพิพาทดังกล่าว จำเลยจึงหามีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ และความเห็นของคณะอนุกรรมการป่าสงวนแห่งชาติที่ให้กันที่ดินพิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติก็หามีผลลบล้างทำให้ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแต่อย่างใด ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิอย่างใด ๆ ในที่ดินพิพาทและที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นที่ดินของรัฐประเภทป่าสงวนแห่งชาติที่สามารถนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ และกรมป่าไม้ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวให้แก่โจทก์นำไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4), 36 ทวิ แล้ว โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของรัฐเสียก่อนตามที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
มติคณะรัฐมนตรีไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งจะทำได้หรือไม่ได้เพียงใด ก็ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายในเรื่องนั้นบัญญัติไว้ ในกรณีเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก็ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ดังนั้น บุคคลใดจะมีสิทธิที่จะได้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ก็ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดหาใช่จะถือตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่ ซึ่งตามที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 4 บัญญัติความหมายของคำว่า "เกษตรกร" หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกรบรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ด้วย และตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ข้อ 6 (6) ระบุว่าต้องเป็นผู้ไม่มีที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อยแต่ไม่เพียงพอแก่การประกอบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ แสดงให้เห็นว่าเจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก็เพื่อช่วยให้เกษตรกรรมก็เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และเกษตรกรผู้นั้นจะต้องไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม เมื่อจำเลยมีที่ดินของตนเองจำนวน 108 แปลง และจำเลยประกอบอาชีพอื่นนอกจากด้านการเกษตรโดยประกอบอาชีพค้าขาย มีหุ้นอยู่ในนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัดรวม 16 แห่ง จึงถือได้ว่าจำเลยมีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองและมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว และไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักแต่อย่างใด จำเลยย่อมขาดคุณสมบัติในการยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน การที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ก.) ในที่ดินพิพาทที่ออกให้แก่จำเลยจึงชอบแล้ว ถึงแม้ในตอนแรก โจทก์ได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก 4-01 ก.) ให้แก่จำเลยไปแล้ว แต่เมื่อมาตรวจสอบพบในภายหลังว่า จำเลยเป็นผู้ขาดคุณสมบัติดังกล่าวก็สามารถทำการเพิกถอนได้เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิที่จะได้หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ก.) มาตั้งแต่ต้น และเมื่อเพิกถอนการอนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด: การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์และอำนาจการฟ้องขับไล่
เดิมที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. ต่อมาผู้จัดการมรดกของ ท. ได้ทำสัญญาให้ ธ. เช่าที่ดินมีกำหนด 20 ปี การที่ ธ. ปลูกสร้างตึกแถวลงบนที่ดิน จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 โจทก์ซื้อที่ดินมาจากผู้จัดการมรดกของ ท. ระหว่างอายุสัญญาเช่า โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถว แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าที่ดิน ธ. ย่อมหมดสิทธิในที่ดินต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป เว้นแต่ ธ. ยินยอมให้ตึกแถวตกเป็นของโจทก์ ตึกแถวย่อมกลายเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามมาตรา 144 วรรคสอง เมื่อโจทก์ได้รับมอบสิทธิในตึกแถวแล้ว ตึกแถวย่อมกลายเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามมาตรา 144 วรรคสอง แต่ ธ. ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวไม่มีอำนาจให้เช่าห้องพิพาทเกินกำหนดระยะเวลาการเช่าที่ดิน เมื่อสัญญาเช่าที่ดินครบกำหนดแล้ว ระยะเวลาการเช่าห้องพิพาทส่วนที่เกินกว่านั้นย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามมาตรา 569 เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทอีกต่อไป แต่จำเลยไม่ยอมออกไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่ดินร่วม การท้ากัน และการเข้าเป็นโจทก์ร่วม การพิพากษาคดีที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ร่วมทั้งสี่ การดำเนินการของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกคือจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และการที่ในวันชี้สองสถานคู่ความตกลงท้ากันว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทจากแนวทิศเหนือเข้ามาทางแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 หากรังวัดได้เป็นจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา จำเลยทั้งสองยอมแพ้และค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ หากรังวัดได้เกินเนื้อที่ดังกล่าว ส่วนที่เกินหรือล้ำจำนวนให้ตกเป็นของจำเลยทั้งสอง หากการรังวัดไม่อาจทำได้เพราะมีการคัดค้านของเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้พิจารณาคดีต่อไปโดยให้ถือว่าคำท้าไม่เป็นผล การท้ากันดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เพราะไม่ว่าผลการรังวัดที่ดินพิพาทจะเป็นเช่นใด ที่ดินแปลงที่โจทก์ทั้งสองครอบครองร่วมกับโจทก์ร่วมทั้งสี่ก็ยังคงมีเนื้อที่ตามเดิม
โจทก์ร่วมทั้งสี่ยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยพลการ กรณีตามคำร้องไม่ใช่การร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เพราะสิทธิในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของโจทก์ร่วมทั้งสี่มีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น แต่ตามคำร้องตอนหนึ่งระบุว่า โจทก์ร่วมทั้งสี่อาจได้รับความเสียหายจากกระทำของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ร่วมทั้งสี่มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับโจทก์ทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ร้องสอดเข้ามาด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย
of 59