พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีภาษีอากรที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้ศาลยกฟ้องตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า (ภ.ค. (พ)4) ทำให้ภาษีการค้าขาดไป ไม่ใช่กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าแล้วยื่นไม่ครบแต่ประการใด แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในกรณีความผิดที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ทวิ หาใช่กรณีที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าอันเป็นเท็จโดยวิธียื่นขาดไปไม่ครบถ้วนซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 37 ไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยื่นเสียภาษีการค้าตลอดมาทุกเดือน เพียงแต่บางเดือนจำเลยยื่นไม่ครบบางเดือนก็ยื่นเกินกว่ารายรับ จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องลงโทษจำเลยมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการหักรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ เป็นนิติบุคคลเดียวกัน เมื่อสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศซึ่งมีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตามการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศก็เป็นเพียงการผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้นมิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน"ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ไม่เข้าข่ายค่าใช้จ่ายที่หักได้ 90% ตามกฎหมายภาษีอากร
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกแล้วตัดโค่นต้นไม้ถมที่ และทำเขื่อนเป็นการปรับปรุงให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แล้วซื้อที่ดินแปลงหลังเพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงแรกและขายไปทั้งสองแปลงหลังจากซื้อที่ดินแปลงหลังไม่ถึง 4 เดือน ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะตั้งโรงงานดังที่โจทก์อ้าง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินไปเป็นทางค้าหรือหากำไร "การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่แล้ว กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใดๆ "ผู้ผลิต"หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงมิใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตจะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีจากการทุเลาการชำระภาษี และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สรรพากรจังหวัดประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส. ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้องการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหายแม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือนเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คดีได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: เอกชนไม่มีอำนาจฟ้องคดีไม่ออกใบรับเงิน ต้องเป็นพนักงานอัยการเท่านั้น
ความผิดฐานไม่ออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 และความผิดฐานไม่ออกใบรับเมื่อผู้มีส่วนได้เสียเรียกร้องตามมาตรา 106 เป็นความผิดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลคือพนักงานอัยการเท่านั้นจะฟ้องได้ เอกชนมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะมีอำนาจฟ้องจึงเป็นโจทก์ฟ้องในความผิดดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: สิทธิประเมินภาษีค้าง, การยกเว้นภาษี, ค่าใช้จ่ายหักลดหย่อน, และช่วงทรัพย์มรดก
คำสั่งตามมติคณะรัฐมนตรีในสมัยปฏิวัติ ไม่ใช่คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ จึงไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประมวลรัษฎากรที่ให้ตรวจสอบภาษีค้างจ่ายได้
เจ้าพนักงานประเมินเรียกไต่สวนได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และแจ้งจำนวนภาษีค้างได้ภายใน 10 ปี ตาม มาตรา 24 เมื่อมีอุทธรณ์ต่อไปโดยชำระภาษีแล้ว และโจทก์ฟ้องคดีนี้คัดค้านการประเมินไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่วันเรียกให้โจทก์ชำระภาษี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรไม่ขาดอายุความ
ขายที่ดินและทรัพย์อื่นที่ได้รับมรดกมา นำเงินไปซื้อที่ดินมาจัดสรร ไม่ใช่ช่วงทรัพย์ตาม มาตรา 226 วรรค 2
ขายที่ดินจัดสรรเป็นการค้าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แม้จะขายที่ดิน โดยมิใช่การค้าก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรี มิฉะนั้นไม่ได้รับยกเว้นตาม มาตรา 42(9)
ผู้มีเงินได้ยื่นประเมินแล้วเจ้าพนักงานเรียกไต่สวนได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการตาม มาตรา 19 กรณีที่ไม่ได้ยื่นประเมินเจ้าพนักงานเรียกมาไต่สวนได้ตาม มาตรา 23,24 ไม่อยู่ในบังคับ 5 ปีนั้น
ค่าใช้จ่ายหักได้ในการขายสิ่งอุปโภค ฯลฯ และสิ่งอื่นนอกจากที่ระบุไว้ร้อยละ 95 ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2496 มาตรา 3(32)นั้น "สิ่ง" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ตามพจนานุกรม ไม่หมายถึงที่ดิน
เจ้าพนักงานประเมินเรียกไต่สวนได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และแจ้งจำนวนภาษีค้างได้ภายใน 10 ปี ตาม มาตรา 24 เมื่อมีอุทธรณ์ต่อไปโดยชำระภาษีแล้ว และโจทก์ฟ้องคดีนี้คัดค้านการประเมินไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่วันเรียกให้โจทก์ชำระภาษี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรไม่ขาดอายุความ
ขายที่ดินและทรัพย์อื่นที่ได้รับมรดกมา นำเงินไปซื้อที่ดินมาจัดสรร ไม่ใช่ช่วงทรัพย์ตาม มาตรา 226 วรรค 2
ขายที่ดินจัดสรรเป็นการค้าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แม้จะขายที่ดิน โดยมิใช่การค้าก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรี มิฉะนั้นไม่ได้รับยกเว้นตาม มาตรา 42(9)
ผู้มีเงินได้ยื่นประเมินแล้วเจ้าพนักงานเรียกไต่สวนได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการตาม มาตรา 19 กรณีที่ไม่ได้ยื่นประเมินเจ้าพนักงานเรียกมาไต่สวนได้ตาม มาตรา 23,24 ไม่อยู่ในบังคับ 5 ปีนั้น
ค่าใช้จ่ายหักได้ในการขายสิ่งอุปโภค ฯลฯ และสิ่งอื่นนอกจากที่ระบุไว้ร้อยละ 95 ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2496 มาตรา 3(32)นั้น "สิ่ง" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ตามพจนานุกรม ไม่หมายถึงที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเฉลี่ยของเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้าง แม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12
บทบัญญัติมาตรา 12 ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างได้โดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เองโดยไม่จำต้องคำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล จึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่กระทบกระทั่งถึง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้ถึงขนาดนี้แล้ว แม้ผู้ร้อง (เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้าง) จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็มีสิทธิที่จะขอเข้าเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยหนี้ภาษีอากรค้าง แม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12
บทบัญญัติมาตรา 12 ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างได้โดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เอง โดยไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล จึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่กระทบกระทั่งถึง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้ถึงขนาดนี้แล้ว แม้ผู้ร้อง (เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้าง) จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็มีสิทธิที่จะขอเข้าเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2518)