พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาคดีอาญาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลาง การไม่ให้เหตุผลไม่ริบของกลางเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) บัญญัติให้คำพิพากษาคดีอาญาต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลาง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคำขออื่นให้ยกแม้จะเข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นยกคำขอให้ริบของกลาง แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยว่าสมควรริบรถจักรยานยนต์ของกลางหรือไม่ โดยไม่ย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายซ้ำซ้อน ทำให้การประเมินและการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ ศาลสั่งคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายซึ่งเป็นป้ายเดียวกันและปีภาษีเดียวกัน โดยยังไม่มีการยกเลิกการประเมินครั้งแรก ดังนั้น การประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในครั้งหลังจึงเป็นการประเมินซ้ำซ้อนให้โจทก์ต้องเสียภาษีสองครั้งในป้ายรายการเดียวกัน จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ครั้งที่สองที่ให้ยืนตามการประเมินให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินประกันผลงานต้องไต่สวนเมื่อผู้ถูกอายัดปฏิเสธหนี้ ศาลออกหมายบังคับคดีก่อนไต่สวนไม่ชอบ
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือแจ้งอายัดเงินประกันผลงานของจำเลยไปยังผู้ร้อง ผู้ร้องได้มีหนังสือปฏิเสธการส่งเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ได้มีการหักเงินประกันผลงานไปแล้วและไม่มีเงินเหลือที่จะส่งให้ ถือว่าเป็นการปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงต้องไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องยังมีหนี้ต้องชำระแก่จำเลยอยู่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้ร้องโดยไม่ได้ทำการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10698/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีปลอม: ผู้รับประโยชน์ต้องพิสูจน์ตัวตนผู้ออก หากพิสูจน์ไม่ได้ ถือเป็นใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับได้แสดงเหตุผลที่ประเมินว่า โจทก์แสดงยอดซื้อสูงไปเป็นเงินจำนวนเท่าใด และนำภาษีซื้อต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (3) มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเป็นเงินจำนวนเท่าใด จึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง แล้ว
หลังจากที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์เพิ่มเติม แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีความเห็นว่าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งเจ้าพนักงานผู้ออกคำสั่งสามารถจัดให้มีเหตุผลเพิ่มเติมภายหลังได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ การประเมินจึงชอบแล้ว
ใบแนบเพื่อแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมนั้นเป็นปัญหาในเรื่องรูปแบบการทำคำสั่งทางปกครองไม่ใช่เนื้อหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ในการเสียภาษีอากรที่จะต้องอุทธรณ์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัย โดยโจทก์สามารถยกปัญหาที่เกี่ยวกับการทำคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบขึ้นกล่าวอ้างฟ้องต่อศาลโดยไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น แม้โจทก์จะยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ก็ไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยส่งใบแนบหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมิน เมื่อส่งให้แก่โจทก์ก่อนสิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ การส่งใบแนบจึงชอบแล้ว
กรณีที่โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยระยะเวลาเพราะจำเลยมิได้ดำเนินการทำคำสั่งทางปกครองภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับอุทธรณ์นั้น เห็นว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 47 บัญญัติว่า การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และ ป.รัษฏากร มาตรา 32 ได้บัญญัติขอบเขตในการพิจารณาอุทธรณ์โดยให้มีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด จึงไม่ต้องนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45 มาใช้ สำหรับกรณีที่จำเลยไม่ได้จัดส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วันนั้น เห็นว่า ระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กำหนดขึ้นเพื่อเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการจำเลย ไม่มีผลถึงขนาดทำให้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้จัดทำคำวินิจฉัยให้มีข้อความตรงกัน 2 ฉบับนั้น ก็เป็นเพียงแต่เอกสารในส่วนของคำวินิจฉัยที่อยู่ที่เจ้าพนักงานมีรายการคำนวณภาษีเงินเพิ่มและเบี้ยปรับดังกล่าวก็มีปรากฏอยู่ในข้อ 1 เช่นเดียวกัน การที่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่มีข้อความตรงกับที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ทำให้เป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์นำใบกำกับภาษีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการและใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลภาษีอากรกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2542 มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน 26,568 บาท ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติให้ลดเบี้ยปรับ คงเรียกเก็บเพียงหนึ่งในสามของเบี้ยปรับตามกฎหมาย แม้คำนวณเงินเพิ่มเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องชำระตามกฎหมายแล้ว ก็ยังมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยให้เฉพาะในส่วนเดือนภาษีนี้
ส่วนเดือนภาษีอื่น เหตุผลที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มคือโจทก์นำใบกำกับภาษีที่ออกโดยกลุ่มบริษัทที่ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า โจทก์ซื้อขายสินค้าตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยกลุ่มผู้ประกอบการที่ถูกตรวจสอบว่าสงสัยว่าจะเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเนื่องจากโจทก์เป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งถือว่าค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง การที่โจทก์มีการใช้น้ำมันในปริมาณสูงมาเปรียบเทียบกับรายรับของโจทก์ตามสัญญาจ้างที่โจทก์นำส่งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นตรวจสอบ จำเลยจึงได้พิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายน้ำมันให้โจทก์เป็นเงินจำนวน 36,330,230.75 บาท เป็นการพิจารณาที่เป็นคุณแก่โจทก์มากแล้วนั้น เห็นได้ว่า เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการออกใบกำกับภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากใบกำกับภาษี พฤติการณ์ที่โจทก์นำสืบมาเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์จากใบกำกับภาษีไม่สามารถนำสืบได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาท จึงถือว่าใบกำกับภาษีที่โจทก์นำมาใช้ในการคำนวณภาษีเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเป็นใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่า ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับแก่โจทก์คงเหลือหนึ่งในสามของเบี้ยปรับตามกฎหมายนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว
หลังจากที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์เพิ่มเติม แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีความเห็นว่าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งเจ้าพนักงานผู้ออกคำสั่งสามารถจัดให้มีเหตุผลเพิ่มเติมภายหลังได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ การประเมินจึงชอบแล้ว
ใบแนบเพื่อแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมนั้นเป็นปัญหาในเรื่องรูปแบบการทำคำสั่งทางปกครองไม่ใช่เนื้อหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ในการเสียภาษีอากรที่จะต้องอุทธรณ์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัย โดยโจทก์สามารถยกปัญหาที่เกี่ยวกับการทำคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบขึ้นกล่าวอ้างฟ้องต่อศาลโดยไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น แม้โจทก์จะยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ก็ไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยส่งใบแนบหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมิน เมื่อส่งให้แก่โจทก์ก่อนสิ้นสุดกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ การส่งใบแนบจึงชอบแล้ว
กรณีที่โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยระยะเวลาเพราะจำเลยมิได้ดำเนินการทำคำสั่งทางปกครองภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับอุทธรณ์นั้น เห็นว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 47 บัญญัติว่า การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และ ป.รัษฏากร มาตรา 32 ได้บัญญัติขอบเขตในการพิจารณาอุทธรณ์โดยให้มีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด จึงไม่ต้องนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45 มาใช้ สำหรับกรณีที่จำเลยไม่ได้จัดส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วันนั้น เห็นว่า ระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กำหนดขึ้นเพื่อเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการจำเลย ไม่มีผลถึงขนาดทำให้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้จัดทำคำวินิจฉัยให้มีข้อความตรงกัน 2 ฉบับนั้น ก็เป็นเพียงแต่เอกสารในส่วนของคำวินิจฉัยที่อยู่ที่เจ้าพนักงานมีรายการคำนวณภาษีเงินเพิ่มและเบี้ยปรับดังกล่าวก็มีปรากฏอยู่ในข้อ 1 เช่นเดียวกัน การที่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่มีข้อความตรงกับที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ทำให้เป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์นำใบกำกับภาษีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการและใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลภาษีอากรกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2542 มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน 26,568 บาท ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติให้ลดเบี้ยปรับ คงเรียกเก็บเพียงหนึ่งในสามของเบี้ยปรับตามกฎหมาย แม้คำนวณเงินเพิ่มเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องชำระตามกฎหมายแล้ว ก็ยังมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยให้เฉพาะในส่วนเดือนภาษีนี้
ส่วนเดือนภาษีอื่น เหตุผลที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มคือโจทก์นำใบกำกับภาษีที่ออกโดยกลุ่มบริษัทที่ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า โจทก์ซื้อขายสินค้าตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยกลุ่มผู้ประกอบการที่ถูกตรวจสอบว่าสงสัยว่าจะเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเนื่องจากโจทก์เป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งถือว่าค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง การที่โจทก์มีการใช้น้ำมันในปริมาณสูงมาเปรียบเทียบกับรายรับของโจทก์ตามสัญญาจ้างที่โจทก์นำส่งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นตรวจสอบ จำเลยจึงได้พิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายน้ำมันให้โจทก์เป็นเงินจำนวน 36,330,230.75 บาท เป็นการพิจารณาที่เป็นคุณแก่โจทก์มากแล้วนั้น เห็นได้ว่า เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการออกใบกำกับภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากใบกำกับภาษี พฤติการณ์ที่โจทก์นำสืบมาเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์จากใบกำกับภาษีไม่สามารถนำสืบได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาท จึงถือว่าใบกำกับภาษีที่โจทก์นำมาใช้ในการคำนวณภาษีเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเป็นใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่า ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับแก่โจทก์คงเหลือหนึ่งในสามของเบี้ยปรับตามกฎหมายนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายอุทธรณ์แทนจำเลยโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บ. ทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ว่าความตามใบแต่งทนายความ แต่ไม่ได้รับอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ทนายจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นการอุทธรณ์โดยไม่ได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ทนายจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นการลงลายมือชื่อโดยไม่มีอำนาจ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 แต่การที่จะให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำฟ้องอุทธณณ์ หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาคดีเสร็จแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาคดีในส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 1 ยังคงมีผลชอบด้วยกฎหมายต่อไป กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ให้ยกฎีกาของโจทก์เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9535/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาหลังศาลตัดสินแล้ว: จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์เท่านั้น การยื่นคำร้องใหม่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าว กลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นการบังคับคดีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยที่ 1 อ้างแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่สามารถส่งได้จริง แม้จะพบบ้านจำเลยภายหลัง
พนักงานเดินหมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย 2 ครั้ง โดยไม่สามารถ ส่งได้เนื่องจากไม่พบบ้านของจำเลย แต่เมื่อส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 กลับพบบ้านของจำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้อง เพียงแต่บ้านปิดใส่กุญแจ จึงส่งหมายนัดได้โดยวิธีปิดหมาย ถือไม่ได้ว่า การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 201 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาคดีโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อแก้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้นคำอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดไต่สวนไปยังภูมิลำเนาเดิมของผู้ย้ายภูมิลำเนาถือเป็นการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบ
จำเลยย้ายภูมิลำเนาจากบ้านเลขที่ 710/85 ไปที่บ้านเลขที่ 1/163 ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2539 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมายตามคำแถลงของผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนอง นอกจากนี้ ปรากฏว่า คดีหลักของคดีนี้ถึงที่สุดแล้วก่อนจำเลยย้ายภูมิลำเนา จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องดำเนินการแจ้งย้ายภูมิลำเนาในคดีหลักอีกต่อไปและไม่อาจถือได้ว่าภูมิลำเนาในคดีหลักยังเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการดำเนินคดีนี้ของจำเลย การส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นของผู้ร้องแก่จำเลยตามภูมิลำเนาเดิมจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74(2) ย่อมเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระงับเมื่อศาลมีคำสั่งคุมขังระหว่างพิจารณา
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ผู้ร้องถูกจับกุมก่อนที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทั้งมิใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือกรณีใดๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การคุมขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยตัวผู้ร้อง พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา ดังนั้น แม้การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การคุมขังนั้นก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับไป ผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง ด้วยการ้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองต่อไป ทั้งการจับกุมและคุมขังเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณา ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71, 88 แล้ว การคุมขังร้องในระหว่างพิจารณาจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ร้อง
ผู้ร้องถูกจับกุมก่อนที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทั้งมิใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือกรณีใดๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การคุมขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยตัวผู้ร้อง พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา ดังนั้น แม้การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การคุมขังนั้นก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับไป ผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง ด้วยการ้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองต่อไป ทั้งการจับกุมและคุมขังเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณา ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71, 88 แล้ว การคุมขังร้องในระหว่างพิจารณาจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ร้อง