พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบหมายและการผูกพันตามถ้อยคำที่ให้ไว้กับเจ้าพนักงาน กรณีภาษีอากร
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. ไปติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ก.ต.ภ.มีใจความว่าขอมอบอำนาจให้พ. มาทำการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องโรงภาพยนตร์ของโจทก์ ตลอดจนมีอำนาจรับทราบคำสั่งรับทราบกำหนดนัดและให้ถ้อยคำจนเสร็จการ ดังนี้ ถ้อยคำของ พ. ที่ให้ไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก.ต.ภ.ว่า ความจริงเป็นดังที่พนักงานเจ้าหน้าที่ก.ต.ภ.ตรวจพบ และขอรับผิดตามข้อกล่าวหาทุกประการ ย่อมถือว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมาย เพราะเป็นถ้อยคำเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์ของโจทก์ หาเป็นการนอกเหนืออำนาจที่รับมอบไม่ โจทก์ย่อมถูกผูกพันให้ต้องรับผิดตามถ้อยคำนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูป vs. ไม่สำเร็จรูป ภาษีอากร การประเมินภาษี และเบี้ยปรับ
น้ำมันสะระแหน่และน้ำมันระกำนั้น แม้ก่อนจะใช้รับประทานหรือทา ต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์หรือวัสลินเสียก่อน แต่การใช้แอลกอฮอล์หรือวัสลินผสมก็เพื่อจะลดหรือบรรเทาความเข้มของตัวยาและเพื่อสะดวกในการใช้เท่านั้น จึงถือว่าเป็นยาที่อาจอุปโภคบริโภคได้ทันทีโดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นอีก และเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้น แม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3 ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 (2) และ 85 (3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีและคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้นว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้น แม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3 ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 (2) และ 85 (3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีและคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้นว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูป-ไม่สำเร็จรูปทางภาษีอากร การประเมินภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และการคืนค่าขึ้นศาล
น้ำมันสะระแหน่และน้ำมันระกำนั้น แม้ก่อนจะใช้รับประทานหรือทา ต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์หรือวัสลินเสียก่อน แต่การใช้แอลกอฮอล์หรือวัสลินผสมก็เพื่อจะลดหรือบรรเทาความเข้มของตัวยาและเพื่อสะดวกในการใช้เท่านั้น จึงถือว่าเป็นยาที่อาจอุปโภคบริโภคได้ทันที โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นอีก และเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้นแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และ 89(3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) และมาตรา89ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกา ขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟัง มาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้นแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และ 89(3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) และมาตรา89ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกา ขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟัง มาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการสั่งซื้อสินค้าทำให้เสียสิทธิยกเว้นภาษีอากร ผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชอบ
จำเลยได้ซื้อเครื่องปรับอากาศ 6 เครื่องจากโจทก์ในราคาซึ่งไม่รวมภาษีขาเข้า โดยมีข้อตกลงกันว่า จำเลยซึ่งได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมและมีสิทธิได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีการค้าและอื่นๆ ตกลงให้โจทก์สั่งเครื่องปรับอากาศในนามของจำเลยเพื่อชดใช้แทนเครื่องปรับอากาศ 6 เครื่องที่รับไปจากโจทก์ เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงจำเลยจะเป็นผู้ดำเนินเรื่องเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีให้แก่โจทก์จนกว่าจะแล้วเสร็จ โจทก์ได้ตรวจดูบัตรส่งเสริมการลงทุนฯ ของจำเลยแล้ว ปรากฏว่ามีเวลาสั่งซื้อสินค้าทันกำหนดเวลาในบัตรส่งเสริมการลงทุนฯ ดังนี้ ตามข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์จะต้องสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามาให้ทันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมการลงทุนฯ ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจะหมดอายุเมื่อใด การที่โจทก์สั่งสินค้าล่าช้าเป็นเหตุให้สินค้ามาถึงประเทศไทยเลยกำหนดระยะเวลาในบัตรส่งเสริมการลงทุนฯจำเลยจึงติดต่อขอยกเว้นเงินอากรขาเข้า และภาษีการค้าไม่สำเร็จ จึงเป็นความผิดของโจทก์เอง จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีเทศบาลและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่โจทก์ต้องเสียไปเพื่อนำเครื่องปรับอากาศออกมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: ภาษีที่ถึงกำหนดชำระเกิน 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาล หรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: การฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์มีสิทธิฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือเจ้าพนักงานประเมิน/กรมสรรพากรก็ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาล หรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษี เจ้าพนักงานเดิมยังทำได้ แม้มีกฎกระทรวงใหม่ กำหนดคณะบุคคลสามฝ่าย
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานของรัฐมีอำนาจกระทำการประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับระหว่างที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2497) และ 112 (พ.ศ. 2500) ใช้บังคับซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้เพียงคนเดียวมีอำนาจพิจารณารายการที่ยื่นเพื่อประเมินภาษีเงินได้ ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2502) ออกใช้บังคับ กำหนดให้บุคคลสามฝ่ายเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ แต่กฎกระทรวงฉบับนี้มิได้กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎกระทรวงฉบับก่อนไว้อย่างใด ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการพิจารณารายการเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้ก่อนมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ ต้องยกเลิกเปลี่ยนแปลงไปเจ้าพนักงานประเมินนั้นยังมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้แจ้งจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระไปยังผู้รับประเมินได้
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับระหว่างที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2497) และ 112 (พ.ศ. 2500) ใช้บังคับซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้เพียงคนเดียวมีอำนาจพิจารณารายการที่ยื่นเพื่อประเมินภาษีเงินได้ ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2502) ออกใช้บังคับ กำหนดให้บุคคลสามฝ่ายเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ แต่กฎกระทรวงฉบับนี้มิได้กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎกระทรวงฉบับก่อนไว้อย่างใด ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการพิจารณารายการเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้ก่อนมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ ต้องยกเลิกเปลี่ยนแปลงไปเจ้าพนักงานประเมินนั้นยังมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้แจ้งจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระไปยังผู้รับประเมินได้