พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228-230/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจตัวแทนจัดการซื้อขายที่ดินและประเด็นการยึดทรัพย์ค่าธรรมเนียม
ตั้งตัวแทนจัดการรับเงินแลซื้อขายไม่จำเปนต้องทำเปนลายลักษณอักษรยึดทรัพย์สำหรับค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์เปนผู้เก็บค่าเช่าวิธีพิจารณาแพ่ง เรื่องนี้จำเลยไม่ได้ขอให้ถอนการยึดที่ตัดสินนั้นจึงไม่ขัดต่อวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ และการแก้ไขฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มี ส. หรือนางฐิตาภา กรรมการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้ต่อมาจะบรรยายว่า โจทก์โดย นางฐิติภา มอบอำนาจให้ ด. ฟ้องและดำเนินคดีแทนก็ตาม แต่เมื่อ ด. เบิกความเป็นพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องในฐานะผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจดำเนินคดีเป็นหลักฐานว่า บริษัทโจทก์โดยนางฐิตาภา กรรมการผู้มีอำนาจ มอบอำนาจให้ ด. ดำเนินคดีแทน ข้อเท็จจริงจึงเชื่อได้ว่านางฐิตาภา กับนางฐิติภา ที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องเป็นบุคคลคนเดียวกันนั่นเอง และเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่า โจทก์พิมพ์ชื่อ "นางฐิตาภา" ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปเป็น "นางฐิติภา" อันเป็นข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ด. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโดยชอบแล้ว ไม่ทำให้อำนาจฟ้องคดีของโจทก์เสียไป
ส่วนที่ท้ายฟ้องเดิมทนายโจทก์ลงชื่อไว้ในท้ายฟ้องในฐานะโจทก์ก็เป็นเพียงฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เท่านั้น อันเป็นฟ้องที่มิชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ไม่ถึงกับทำให้ฟ้องเดิมเสียไป โจทก์ยื่นคำร้องขอส่งคำขอท้ายฟ้องอาญาที่โจทก์โดย ด. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในฐานะโจทก์แทนคำขอท้ายฟ้องเดิม โดยอ้างว่าเป็นความผิดหลงเผอเรอของทนายโจทก์นั้นก็พอแปลได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง และกรณีถือว่ามีเหตุอันควรที่จะแก้ฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 โจทก์ยื่นคำร้องฉบับดังกล่าวเข้ามาในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ถือว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส่วนที่ท้ายฟ้องเดิมทนายโจทก์ลงชื่อไว้ในท้ายฟ้องในฐานะโจทก์ก็เป็นเพียงฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เท่านั้น อันเป็นฟ้องที่มิชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ไม่ถึงกับทำให้ฟ้องเดิมเสียไป โจทก์ยื่นคำร้องขอส่งคำขอท้ายฟ้องอาญาที่โจทก์โดย ด. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในฐานะโจทก์แทนคำขอท้ายฟ้องเดิม โดยอ้างว่าเป็นความผิดหลงเผอเรอของทนายโจทก์นั้นก็พอแปลได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง และกรณีถือว่ามีเหตุอันควรที่จะแก้ฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 โจทก์ยื่นคำร้องฉบับดังกล่าวเข้ามาในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ถือว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5954/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจดำเนินคดี: ผลสมบูรณ์แม้กรรมการผู้มอบอำนาจเปลี่ยนแปลง และการรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขได้
แม้คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาและศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์แก้แล้ว โจทก์ไม่ยื่นคำแก้ฎีกา จึงไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องและส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์แก้อีก
ขณะที่ ธ. และ ส. มอบอำนาจให้ ย. และ ด. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญาและแต่งตั้งให้ทนายความเข้าดำเนินการ ธ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้อง แม้ว่าขณะที่ ย. และ ด. มอบอำนาจช่วงให้ ก. ดำเนินคดี ธ. จะพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนผู้ร้องไปแล้วก็ตาม ก็หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องสิ้นสุดไปไม่ เมื่อการมอบอำนาจให้ ย. และ ด. ยังไม่ถูกยกเลิกเพิกถอน หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการดำเนินคดีและหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีจึงมีผลสมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางดังกล่าว
ขณะที่ ธ. และ ส. มอบอำนาจให้ ย. และ ด. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญาและแต่งตั้งให้ทนายความเข้าดำเนินการ ธ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้อง แม้ว่าขณะที่ ย. และ ด. มอบอำนาจช่วงให้ ก. ดำเนินคดี ธ. จะพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนผู้ร้องไปแล้วก็ตาม ก็หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องสิ้นสุดไปไม่ เมื่อการมอบอำนาจให้ ย. และ ด. ยังไม่ถูกยกเลิกเพิกถอน หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการดำเนินคดีและหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีจึงมีผลสมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การที่จำเลยไม่ปฏิเสธการมอบอำนาจถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีแทน แต่จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานอีกว่าถูกต้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241-243/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในฐานะผู้แทนของนิติบุคคล และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน
พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 มาตรา 4 บัญญัติให้คุรุสภาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงศึกษาธิการโดย มาตรา 7 บัญญัติให้มีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานฯลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ใช้อำนาจและปฏิบัติหน้าที่ของคุรุสภาตามมาตรา 6 เมื่อมาตรา 7 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาโดยตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่ากฎหมายประสงค์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภามีส่วนในการกำกับควบคุมและสอดส่องดูแลคุรุสภารวมทั้งองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของคุรุสภาให้ปฏิบัติการเป็นไปตามกฎหมาย และในฐานะประธานคณะกรรมการย่อมเป็นผู้แทนกระทำการใด ๆ ต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งการแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ทุจริต เบียดบังทรัพย์สินขององค์การค้าของคุรุสภาได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติทั่วไปของนิติบุคคลจะพึงกระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องประธานคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาปฏิบัติหน้าที่ของคุรุสภาตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงมีฐานะเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของคุรุสภา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ มาตรา 5 (3) จึงมีอำนาจร้องทุกข์รวมทั้งมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990-991/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง การมอบอำนาจ และสิทธิการครอบครองห้องเช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 808 ตัวแทนต้องทำการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำนาจให้ตัวแทนช่วงทำการได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ซ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนกับให้มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงคนเดียวหรือหลายคนเพื่อกระทำการแทนได้ ดังนั้น บริษัท ซ. มีอำนาจตั้ง ข. เป็นตัวแทนช่วงให้ทำการฟ้องคดีแทนต่อไป แต่ ข. ต้องดำเนินการตามที่ได้รับมอบอำนาจด้วยตนเอง เนื่องจากตามหนังสือมอบอำนาจไม่มีข้อความระบุว่า โจทก์ให้อำนาจผู้รับมอบอำนาจช่วงตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนช่วงทำการแทนต่อไปอีกได้ แม้ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า ให้ ข. มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงคนเดียวหรือหลายคนเพื่อให้มีอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจช่วง ก็เป็นเรื่องนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ ข. ไม่มีอำนาจตั้งให้ อ. เป็นตัวแทนช่วงดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายมานั้นแทนตน อ. ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ในคดีนี้เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้
แม้การเช่าของจำเลยถือเป็นการเช่าช่วงโดยชอบเพราะโจทก์ร่วมตกลงให้บริษัท ว. นำห้องเช่าพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ แต่เมื่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ว. ได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในห้องเช่าพิพาทต่อไป เนื่องจากจำเลยเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าบริษัท ว. ผู้เช่าเดิม และเหตุที่ห้องเช่าพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นไปตามข้อตกลงการเช่า ไม่ใช่เป็นกรณีโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เช่าไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 จำเลยไม่อาจยกสัญญาเช่าช่วงขึ้นอ้างต่อโจทก์เพื่อครอบครองห้องเช่าพิพาทได้ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทได้ แต่โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากตามคำร้องขอของโจทก์ร่วมมิได้ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหาย
โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ในคดีนี้เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้
แม้การเช่าของจำเลยถือเป็นการเช่าช่วงโดยชอบเพราะโจทก์ร่วมตกลงให้บริษัท ว. นำห้องเช่าพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ แต่เมื่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ว. ได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในห้องเช่าพิพาทต่อไป เนื่องจากจำเลยเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าบริษัท ว. ผู้เช่าเดิม และเหตุที่ห้องเช่าพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นไปตามข้อตกลงการเช่า ไม่ใช่เป็นกรณีโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เช่าไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 จำเลยไม่อาจยกสัญญาเช่าช่วงขึ้นอ้างต่อโจทก์เพื่อครอบครองห้องเช่าพิพาทได้ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทได้ แต่โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากตามคำร้องขอของโจทก์ร่วมมิได้ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจฟ้องโดยไม่มีตราบริษัทประทับบนหนังสือมอบอำนาจแต่มีพยานเบิกความยืนยันและส่งเอกสารที่มีตราประทับต่อศาล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ก. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้ไม่ปรากฏรอยตราสำคัญของบริษัทโจทก์ประทับไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่ เพราะหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ในชั้นสืบพยานโจทก์มี ก. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ตนฟ้องและดำเนินคดีแทน และอ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีตราสำคัญของบริษัทโจทก์ประทับต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นรับไว้เป็นเอกสารหมาย จ.2 จึงน่าเชื่อว่าโจทก์ได้ประทับตราสำคัญของบริษัททั้งในต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารหมาย จ.2 แล้ว การมอบอำนาจของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐานแทนต้นฉบับที่ไม่ต้องติดอากรแสตมป์
ฎีกาของจำเลยที่ว่า หนังสือมอบอำนาจ โจทก์มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์เป็นการไม่ชอบ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบอย่างไรตั้งเป็นประเด็นไว้และก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจ ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรมาแต่แรก และเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์นำสืบส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องกับต้นฉบับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตาม มาตรา 93 (4) สำเนาหนังสือมอบอำนาจ จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฏว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร และสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน สำเนาหนังสือมอบอำนาจ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์นำสืบส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องกับต้นฉบับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตาม มาตรา 93 (4) สำเนาหนังสือมอบอำนาจ จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฏว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร และสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน สำเนาหนังสือมอบอำนาจ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5063/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด: การรับรู้ความเสียหายและการมอบอำนาจดำเนินคดี
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด" ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมี ป. เป็นผู้ว่าการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายหรือผู้รักษาการแทนซึ่งในคดีนี้คือ ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่ง ก. ย่อมเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ แม้ อ. ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักกฎหมายก็ตาม แต่ อ. หาใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แต่อย่างใดไม่ การที่ อ. มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ เมื่อปรากฏว่า ก. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอตามลำดับชั้นและอนุมัติให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 จึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 อันเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น จึงชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ เป็นเงิน 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น จึงชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ เป็นเงิน 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเรียกค่าเสียหายและการมอบอำนาจดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องเดิมโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นปาล์มน้ำมันและเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันและปลูกสร้างอาคารสำนักงาน และที่พักคนงานและลูกจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งไม่มีสิทธิใด ๆ และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถนำที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามอำนาจหน้าที่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การแก้ไขคำฟ้องอันสืบเนื่องมาจากการกระทำตามฟ้องเดิม จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 โดยหาจำต้องแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างได้เฉพาะการสละข้อหาในฟ้องเดิมบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์ไม่ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายนั้นชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว