พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (บุหรี่และรถยนต์) ในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและภาษีสรรพสามิต
เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง บุหรี่ซิกาแรตของกลาง ซึ่งเป็นของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจึงเป็นของที่พึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 166
ฟ้องโจทก์บรรยายไว้เป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร อันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
ฟ้องโจทก์บรรยายไว้เป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร อันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ขนส่งผู้ลักลอบเข้าเมือง ต้องพิจารณาว่าใช้เพื่อหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงการจับกุมโดยตรงหรือไม่
จำเลยทั้งหกใช้รถยนต์ของกลาง 4 คัน พาคนต่างด้าว 47 คน ที่ลักลอบเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไปส่งยังจุดหมายปลายทางที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จึงเป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาในรถด้วยเท่านั้น มิได้เป็นการใช้รถยนต์ของกลางเพื่อพาคนต่างด้าวหลบหนีให้พ้นจากการจับกุม หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจตามฟ้องของโจทก์โดยตรง รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งหกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สิน (รถยนต์) ที่ใช้ในการกระทำความผิดทางศุลกากรและการขนส่งสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี
เมื่อฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลย ฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งบุหรี่ของกลาง อันเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร และบรรยายฟ้องตอนท้ายว่าจำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการย้าย ซ่อนเร้น และขนบุหรี่ของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจากพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปยังจังหวัดระนอง เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์บรรยายเป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์เก๋งของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดเป็นทรัพย์ที่ให้ริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 ต้องการให้ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่มิได้เสียอากร การที่จำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางเป็นยานพาหนะในการย้าย ซ่อนเร้น และขนบุหรี่ของกลาง 610 ซอง จากพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อมุ่งหน้าไปยังจังหวัดระนอง อันเป็นระยะทางข้ามจังหวัด หากไม่มีรถยนต์เก๋งของกลางมาบรรทุกบุหรี่ของกลางจำนวนมากถึง 610 ซอง ย่อมไม่สามารถขนย้ายบุหรี่ของกลางจำนวนมากดังกล่าวได้สำเร็จ ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการใช้รถยนต์เก๋งของกลางดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการย้าย ซ่อนเร้น และขนบุหรี่ของกลางที่ยังไม่ได้เสียภาษีและไม่ผ่านพิธีการศุลกากรตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกและริบรถยนต์ในคดีครอบครองยาอันตรายเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาแก้ไขโทษและไม่ริบรถ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองร่วมกันมียาแก้ไอซึ่งมีส่วนผสมของไดเฟนไฮดรามีนและคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต อันเป็นยาแผนปัจจุบันชนิดยาอันตรายจำพวกฮิสตามีนและแอนติฮิสตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป เพื่อประโยชน์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และขอให้ยึดรถกระบะของกลางที่จำเลยทั้งสองใช้เป็นยานพาหนะไปรับและส่งยาแก้ไอให้แก่ลูกค้า เมื่อคดีมิได้มีการสืบพยานและข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถกระบะของกลางไปรับและส่งยาแก้ไอของกลางในลักษณะอย่างไร ทั้งรถกระบะโดยสภาพแล้วก็เป็นยานพาหนะที่บุคคลทั่วไปใช้เป็นยานพาหนะสัญจรตามธรรมดาในชีวิตประจำวัน รถกระบะของกลางจึงมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือยานพาหนะที่จำเลยสองได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง จึงไม่อาจริบรถกระบะของกลาง ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ได้ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2047/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเยียวยาค่าปรับจากการดำเนินคดีรถยนต์ผิดกฎหมาย: การคืนเงินค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยและรถยนต์
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย แม้ตามคําร้องของจำเลยทั้งสองขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ มีคําขอท้ายคําร้องเพียงว่าขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่และพิพากษายกฟ้อง มิได้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องนี้ด้วย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้รับคําร้องของจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งยื่นคําร้องขอเงินค่าปรับคืนจากศาลพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็พออนุโลมได้ว่า จำเลยทั้งสองประสงค์จะขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนดังกล่าวและระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว และตามมาตรา 14 (2) ตอนแรกที่บัญญัติว่า "ถ้าต้องรับโทษปรับและได้ชําระค่าปรับต่อศาลแล้ว ให้ได้รับเงินค่าปรับคืน..." เป็นการบังคับว่าต้องให้ได้รับเงินค่าปรับคืน จะใช้ดุลพินิจไม่ให้ได้รับเงินค่าปรับคืนไม่ได้ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติว่า "…โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับ จนถึงวันที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้" เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสํานวนว่าสมควรจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ หาใช่ว่าศาลต้องคิดดอกเบี้ยให้โดยศาลคงใช้ดุลพินิจคิดดอกเบี้ยให้เพียงถึงวันใดเท่านั้น
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถยนต์เพื่อช่วยเหลือซ่อนเร้นผู้กระทำผิดข้ามจังหวัด ศาลมีอำนาจริบได้ตามกฎหมาย
การขับรถกระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายรถยนต์ต่อความเสียหายจากถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ผู้ขายต้องรับผิดทั้งสัญญาและละเมิด
โจทก์กล่าวอ้างว่าถุงลมนิรภัยรถยนต์ของโจทก์ไม่ทำงานในขณะเกิดอุบัติเหตุอันเป็นการกล่าวอ้างว่าสินค้าของจำเลยร่วมเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 4 โดยจำเลยทั้งสองถือเป็นผู้ประกอบการในฐานะผู้ขาย ส่วนจำเลยร่วมเป็นผู้ประกอบการในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ จึงต้องด้วยมาตรา 7 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่า (1) สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกล่าวอ้างเกี่ยวกับการผลิตการประกอบซึ่งอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจึงมีภาระการพิสูจน์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 แต่เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมนําสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าถุงลมนิรภัยทำงานเป็นปกติและไม่ชํารุดบกพร่อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า ถุงลมนิรภัยรถยนต์ของโจทก์ไม่ทำงานในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นสินค้าที่มีความบกพร่องในการผลิตและเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าว และการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติและธรรมดาของโจทก์ จำเลยร่วมในฐานะผู้ผลิตสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดจำหน่ายที่มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อสามารถระบุตัวจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ผลิตได้แล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
การบรรยายฟ้องของโจทก์นอกจากให้จำเลยทั้งสองรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แล้ว ยังเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจากการที่รถยนต์คันพิพาทไม่เป็นไปตามที่จำเลยทั้งสองได้โฆษณาไว้ อันอยู่ในเกณฑ์ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 อยู่ด้วย การที่โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพราะเชื่อตามคําโฆษณาว่า รถยนต์คันพิพาทมีความปลอดภัยสูง มีถุงลมนิรภัยป้องกันการกระแทกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ได้รับความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คําโฆษณาดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 เมื่อถุงลมนิรภัยไม่ทำงานโดยไม่ออกมาป้องกันอันตรายขณะเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้โจทก์และสามีโจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่เป็นไปตามคําโฆษณาของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขายจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องร่วมรับผิด สำหรับจำเลยที่ 1 ได้ความว่าในการประกอบธุรกิจ จำเลยร่วมจะเป็นผู้ผลิตและประกอบรถยนต์แล้วจึงจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจำหน่ายและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย การประกอบกิจการจำหน่ายรถยนต์ของศูนย์บริการของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญาระหว่างกัน โดยศูนย์จำหน่ายต้องใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ของ ช. การดำเนินการของจำเลยที่ 2 ต้องยึดถือตามมาตรฐานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องมีบริการหลังการขาย ตามพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว ประกอบกับหลังเกิดเหตุ พนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตรวจสอบสภาพรถรวมถึงถุงลมนิรภัยเองและได้ร่วมเจรจากับโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีฐานะต่างเป็นตัวการตัวแทนซึ่งกันและกันในการร่วมกันประกอบธุรกิจจำหน่ายและให้บริการซ่อมบํารุงรถยนต์ยี่ห้อ ช. รวมทั้งรถยนต์คันพิพาท โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของตน เช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามสัญญาซื้อขายด้วย
มูลหนี้ที่ทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องสัญญา ส่วนความรับผิดของจำเลยร่วมนั้นมาจากมูลหนี้ละเมิด โจทก์นําสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นผลทั้งจากการผิดสัญญาและละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายทั้งหมดรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท เมื่อถุงลมนิรภัยมีไว้เพื่อป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและเพื่อรองรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หากถุงลมนิรภัยทำงานผิดปกติ จำเลยทั้งสองผู้ขายรถยนต์พิพาทย่อมคาดเห็นได้ว่าโจทก์ผู้ใช้รถรวมทั้งคนโดยสารจะได้รับบาดเจ็บและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่แต่เฉพาะความเสียหายต่อตัวทรัพย์ที่ขาย แต่รวมไปถึงความเสียหายดังกล่าวด้วย อันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่พฤติการณ์พิเศษ แม้โจทก์ไม่ได้นําสืบแจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายแต่ละส่วน ศาลก็สามารถกำหนดค่าเสียหายให้ตามพฤติการณ์แห่งคดีได้และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาตามฟ้องนั้นเหมาะสมแล้ว กำหนดให้ตามขอ ส่วนค่าเสียหายในมูลละเมิดที่จำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น การที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานถือเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้น่าจะสูงกว่าค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา แต่ตามฟ้องโจทก์ประสงค์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเท่าที่ขอมาและไม่เกินสมควร จึงให้จำเลยร่วมรับผิดเป็นหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งโจทก์อาจเรียกให้แต่ละคนชําระหนี้โดยสิ้นเชิงได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมมีพฤติการณ์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 จึงไม่กำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้
การบรรยายฟ้องของโจทก์นอกจากให้จำเลยทั้งสองรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แล้ว ยังเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจากการที่รถยนต์คันพิพาทไม่เป็นไปตามที่จำเลยทั้งสองได้โฆษณาไว้ อันอยู่ในเกณฑ์ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 อยู่ด้วย การที่โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพราะเชื่อตามคําโฆษณาว่า รถยนต์คันพิพาทมีความปลอดภัยสูง มีถุงลมนิรภัยป้องกันการกระแทกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ได้รับความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คําโฆษณาดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 เมื่อถุงลมนิรภัยไม่ทำงานโดยไม่ออกมาป้องกันอันตรายขณะเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุให้โจทก์และสามีโจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่เป็นไปตามคําโฆษณาของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขายจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องร่วมรับผิด สำหรับจำเลยที่ 1 ได้ความว่าในการประกอบธุรกิจ จำเลยร่วมจะเป็นผู้ผลิตและประกอบรถยนต์แล้วจึงจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจำหน่ายและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย การประกอบกิจการจำหน่ายรถยนต์ของศูนย์บริการของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญาระหว่างกัน โดยศูนย์จำหน่ายต้องใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ของ ช. การดำเนินการของจำเลยที่ 2 ต้องยึดถือตามมาตรฐานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องมีบริการหลังการขาย ตามพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว ประกอบกับหลังเกิดเหตุ พนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตรวจสอบสภาพรถรวมถึงถุงลมนิรภัยเองและได้ร่วมเจรจากับโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีฐานะต่างเป็นตัวการตัวแทนซึ่งกันและกันในการร่วมกันประกอบธุรกิจจำหน่ายและให้บริการซ่อมบํารุงรถยนต์ยี่ห้อ ช. รวมทั้งรถยนต์คันพิพาท โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของตน เช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามสัญญาซื้อขายด้วย
มูลหนี้ที่ทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องสัญญา ส่วนความรับผิดของจำเลยร่วมนั้นมาจากมูลหนี้ละเมิด โจทก์นําสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นผลทั้งจากการผิดสัญญาและละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายทั้งหมดรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท เมื่อถุงลมนิรภัยมีไว้เพื่อป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและเพื่อรองรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หากถุงลมนิรภัยทำงานผิดปกติ จำเลยทั้งสองผู้ขายรถยนต์พิพาทย่อมคาดเห็นได้ว่าโจทก์ผู้ใช้รถรวมทั้งคนโดยสารจะได้รับบาดเจ็บและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่แต่เฉพาะความเสียหายต่อตัวทรัพย์ที่ขาย แต่รวมไปถึงความเสียหายดังกล่าวด้วย อันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่พฤติการณ์พิเศษ แม้โจทก์ไม่ได้นําสืบแจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายแต่ละส่วน ศาลก็สามารถกำหนดค่าเสียหายให้ตามพฤติการณ์แห่งคดีได้และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาตามฟ้องนั้นเหมาะสมแล้ว กำหนดให้ตามขอ ส่วนค่าเสียหายในมูลละเมิดที่จำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น การที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานถือเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้น่าจะสูงกว่าค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา แต่ตามฟ้องโจทก์ประสงค์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเท่าที่ขอมาและไม่เกินสมควร จึงให้จำเลยร่วมรับผิดเป็นหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งโจทก์อาจเรียกให้แต่ละคนชําระหนี้โดยสิ้นเชิงได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมมีพฤติการณ์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 จึงไม่กำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้